กินลม ชมสะพาน รอบกรุงเทพหานคร

กินลม ชมสะพาน รอบกรุงเทพหานคร

กินลม ชมสะพาน รอบกรุงเทพหานคร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในเย็นย่ำของสุดสัปดาห์เช่นนี้ การขับรถออกจากบ้านอาจจะพบการจราจรที่ติดขัดเชกเช่นเดียวกับวันทำงาน จนทำให้คุณเบื่อการท่องเที่ยวในวันหยุดไปเลยก็ได้ วันเราเลยขอเปลี่ยนบรรยากาศจากการเดินทางโดยรถยนต์ มาเป็นการล่องเรือด่วน กินลม ชมสะพาน สถาปัตยกรรมร่วมสมัย ที่มีวิวัฒนาการและความสวยงามเดินทางไปด้วยกัน กับ 6 สะพาน ในกรุงเทพมหานคร เราเริ่มเดินต้นการเดินทางด้วยการลงเรือจากท่าเรือซังฮี้ หรือสะพานกรุงธน จุดหมายปลายทางท่าเรือราษฏร์บรณะ โดยเสียค่าเรือแบบเบาๆ แค่ 20 บาท กับเรือด่วนประจำทางธงสีเหลือง นนทบุรี-ราษฎร์บูรณะ 


สะพานซังฮี้ - สะพานกรุงธน เริ่มก่อสร้างเมื่อ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2497 สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2500 ปัจจุบันมีอายุกว่า 55 ปี ชื่อ ซังฮี้ เกี่ยวพันกับเครื่องกิมตึ้ง ซึ่งเป็นชื่อเครื่องถ้วยชามของประเทศจีน มีลวดลายต่าง ๆ ตกแต่งสวยงาม ในสมัยรัชกลที่ 5 นิยมสั่งถ้วยชามเหล่านี้มาจากประเทศจีนเพื่อใช้และสะสม ถนนซังฮี้ในตอนแรกที่สร้างมีระยะทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปสุดบริเวณด้านหลังพระราชวังดุสิตและได้ขยายต่อมา มื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ในสมัยรัฐบาลของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะทำการสร้าง ประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบชื่อสะพานอย่างเป็นทางการจึงเรียกชื่อสะพานว่า สะพานซังฮี้ เพราะสะพานนี้เริ่มต้นปลายถนนซังฮี้ทางด้านฝั่งพระนคร ต่อมาเมื่อสร้างเสร็จแล้วรัฐบาลได้ตั้งชื่อสะพานว่า "สะพานกรุงธน"

สะพานพระราม 8 -สะพานนี้เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พระองค์มีพระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้ารองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี และเป็นจุดเชื่อมต่อโครงการพระราชดำริตามแนวจตุรทิศ

สะพานพระปิ่นเกล้า - สะพานพระปิ่นเกล้าเป็นสะพานแบบคอนกรีตอัดแรงชนิดต่อเนื่อง สร้างขึ้นเพื่อผ่อนคลายความคับคั่งของการจราจร โดยได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลประเทศญี่ปุ่น ในการสำรวจออกแบบสะพาน และให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลไทย โดยให้เงินกู้สมทบกับเงินงบประมาณของรัฐบาลไทย เริ่มลงมือก่อสร้างเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2514 และสร้างเสร็จทำพิธีเปิดการจราจรเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2516 โดยได้รับพระราชทานนามว่า "สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

สะพานพระพุทธยอดฟ้า - สะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2472 เนื่องในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปี และโปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธีฉลองพระนครครบ 150 ปี ด้วยพระราชดำริที่จะสร้างสิ่งที่เป็นอนุสรณ์ถึงความรำลึกในพระกรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ผู้ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร โดยมีพระราชดำริว่าควรสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมจังหวัดพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน เพื่อให้การคมนาคมติดต่อสะดวก

สะพานกรุงเทพ -เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งที่ 3 รองจาก สะพานพระราม 6 สะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างบริเวณสี่แยกถนนตก เขตบางคอแหลมทางฝั่งพระนคร กับบริเวณสี่แยกบุคคโลในพื้นที่เขตธนบุรีทางฝั่งธนบุรี ใช้ในการคมนาคมทางบกข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาและปิด-เปิด ให้เรือรบเข้าออก ลักษณะการก่อสร้างเป็นแบบคอนกรีตอัดแรง โดยวิธีการอิสระซึ่งยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มเปิดใช้งานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2502 แต่ปัจจุบันได้ปิดเป็นการถาวรแล้ว เนื่องจากประสบปัญหาการจราจร

สะพานพระราม 9 - รู้จักกันทั่วไป ในนาม สะพานแขวน เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ สะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 60 พรรษา ปี พ.ศ. 2530เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน

เราสิ้นสุดการเดินทางที่สะพานพระราม 9 ที่อิ่มเอมกับการชื่นชมความงามของสะพานในยุคต่างๆ ผ่านมุมกล้องและมุมมองของช่างภาพ ที่ทำให้สะพานธรรมดาของใครบางคน ดูมีชีวิตขึ้นมาทัน

เรื่องและเรียบเรียงโดย LoLay

ภาพโดย จอนนอนเล่น - http://www.facebook.com/john.nonlen

ข้อมูลสะพานจาก th.wikipedia.org

(คลิกที่ภาพ เพื่อชมภาพขนาดใหญ่)


ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ

อัลบั้มภาพ 12 ภาพ ของ กินลม ชมสะพาน รอบกรุงเทพหานคร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook