โบสถ์แห่งการคืนชีพ รัสเซีย
หลายคนสับสนระหว่างโบสถ์หยดเลือดกับวิหารเซนต์ บาเซิล ว่าอันไหนเป็นอันไหน วิหารเซนต์ บาเซิลของพระเจ้าอีวานขาโหดนั้นประจำอยู่กรุงมอสโก แต่โบสถ์หยดเลือดที่เซอต์ ปีเตอร์เบิร์กนั้นเป็นของที่ระลึกถึงพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 ย้อนกลับดูเรื่องราวที่น่าฉงนก่อนที่โบสถ์หยดเลือดจะเสร็จสมบูรณ์ ว่ากันว่าก่อนที่จะมีโบสถ์อันงดงามอยู่ข้างคลอง Griboyedov นั้น พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงไม่เชื่อคำทำนายของโหรที่ทักว่าไม่ให้จัดพิธีอภิเษกสมรสใน 3 ปีนี้
ภายหลังจากที่พระมเหสีของพระองค์เพิ่งสิ้นพระชนม์ไป แต่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดรอ์ที่ 2 กลับดื้อดึงจะแต่งท่าเดียวก็ได้แต่งสมใจในช้วงต้นปี 1881 ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานพระองค์ก็ทรงถูกลอบปรงพระชนม์ในเดือนมีนาปีเดียวกัน กลายเป็นที่มของโบสถ์หยดเลือดแห่งนี้
เรื่องราวก็ปลงพระชนม์คงต่อเนื่องจากหลายเรื่องทั้ง เช่นการที่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์พาประเทศเข้าร่วมสงครามไครเมียและพ่ายแพ้กลับมา หรือจะเป็นการคิดที่จะปลดปล่อยคนชั้นทาส ชาวนาและกรรมกรให้เป็นอิสระ มันทำให้เกิดความไม่พอใจต่อเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย แถมยังมีกลุ่มชนที่ออกมาต่อต้านอ้างตนว่ารักชาติต่อต้านการปฏิรูปในหลายๆ ด้านของพระองค์ เรียกได้ว่าทำอะไรก็ไม่พอใจใครสักกลุ่ม
จึงทำให้ถูกลอบปลงพระชนม์นั้นครั้งไม่ถ้วน แต่ก็รอดจนมาถือแผนการณ์สุดท้าย ขณะเสด็จกลับจากการเยี่ยมกองทหารพระองค์ถูกกลุ่มกบฏขว้างปาระเบิดใส่รถม้าที่นั่งบริเวณที่ตั้งของโบสถ์นี้ พระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บสาหัสก่อนทนพิษบาดแผลไม่ไหวเสด็จสวรรคตไปในที่สุด
จึงทำให้เกิดโบสถ์แห่งการคืนชีพแห่งนี้ขึ้น จากเงินบริจาคของประชาชนทั่วประเทศรัสเซีย เริ่มต้นก่อสร้างเมื่อศตวรรษที่ 17 ใช้เวลาก่อนสร้างยาวนานว่า 20 ปี เป็นงานศิลปะแบบรัสเซียดั้งเดิม ประดับประดาด้วยโมเสจพร้อมกับรูปภาพโมเสจขนาดใหญ่ยักษ์เป็นจุดขายของที่นี่ อาจจะมีบางทรงหลุดเสียไปตามกาลเวลาเพราะในช่วงนี้โบสถ์หยดเลือดแห่งนี้ถูกกลุ่มคนสถาปนาให้ความงดงามของมันเป็นเพียงโรงเก็บมันฝรั่งประจำเมืองในยุคมืดโซเวียต ก่อนจะมีการซ่อมแซมครั้งใหญ่ในช่วง 1990 และรัฐบาลก็เปิดเป็นพิพิธภัณฑ์อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อปี 1997 ให้นักท่องเที่ยวได้ยลโฉมอันงดงามนี้ได้อย่างเต็มตา
แวะชมแหล่งท่องเที่ยว เกาะช้าง เชียงคาน ภูเก็ต เขาใหญ่ และ ปาย
ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook.. ได้ที่นี่เลย!!