“ใต้ร่มพระบารมี 233 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”

“ใต้ร่มพระบารมี 233 ปี กรุงรัตนโกสินทร์”

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทรวงวัฒนธรรม ดำเนินการจัดงานเฉลิมฉลองวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งตรงกับวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีที่ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เทิดพระเกียรติพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ในราชวงศ์จักรี ใช้กิจกรรมทางศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม ในมิติต่างๆ มานำเสนอให้คนในสังคมได้เรียนรู้ ประวัติศาสตร์ของราชวงศ์จักรี การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีและความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสังคมไทย เพื่อนำไปสู่ ความรัก ความหวงแหน และความภาคภูมิใจในความเป็นคนไทย และร่วมฉลองในวาระครบรอบวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 233 ปีระหว่างวันที่ 17 -21 เมษายน 2558 ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยกิจกรรมประกอบด้วย

- การเดินริ้วขบวนใต้ร่มพระบารมีจักรีวงษ์ ความยาวกว่า 2 กิโลเมตร เริ่มตั้งแต่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน จนถึงท้องสนามหลวง นำเสนอเหตุการณ์สำคัญ ความเป็นอยู่ และศิลปวัฒนธรรม ในแต่ละรัชสมัยของพระมหากษัตริย์ ทั้ง 9 พระองค์ ดังนี้

ขบวน รัชกาลที่ 1 : สร้างบ้านแปงเมือง  

ขบวน รัชกาลที่ 2 : ฟูเฟื่องวรรณกรรม 

ขบวน รัชกาลที่ 3 : เลิศล้ำเศรษฐกิจ 

ขบวน รัชกาลที่ 4 : แนวคิดอารยะ 

ขบวน รัชกาลที่ 5 : วัฒนะสู่สากล

ขบวน รัชกาลที่ 6 : มากล้นการศึกษา 

ขบวน รัชกาลที่ 7 : ประชาธิปไตย 

ขบวน รัชกาลที่ 8 : นำไทยสามัคคี 

ขบวน รัชกาลที่ 9 : บารมีพระเหนือเกล้าฯ

โดยเป็นขบวนที่แสดงถึงวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวสยามจวบจนเป็นไทย ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของล้นเกล้าทุกพระองค์บนแผ่นดินรัตนโกสินทร์

- พิธีบวงสรวงเทพยดาและดวงพระวิญญาณสมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า และพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง ณ ศาลหลักเมือง 

- กิจกรรมไหว้พระ 9 วัด สืบสิริสวัสดิ์ 9 รัชกาล ซึ่งเป็นกิจกรรมให้ประชาชนร่วมเดินทางโดยรถบัสไหว้พระประจำรัชกาลทั้ง 9 วัด

- นิทรรศการภาพเก่าเล่าเรื่องกรุงรัตนโกสินทร์ นำเสนอเรื่องราวเหตุการณ์ในยุคต่าง ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์

- การเสวนาทางวิชาการ เรื่อง อมตนครรัตนโกสินทร์

- การสาธิตและจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่เป็นจุดเด่นของชุมชนในกรุงเทพมหานคร ร่วมกับสภาวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 เขต นำสุดยอดการแสดงทางวัฒนธรรมมาจัดแสดง รวมทั้งมีการสาธิตสินค้า และบริการของดีของเด่นด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในพื้นที่ของตนมาเผยแพร่และออกร้านจำหน่ายสินค้า ซึ่งสินค้าที่นำมาสาธิตและจำหน่ายล้วนเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่ดั้งเดิมและสืบทอดมาอย่างยาวนาน ทั้งยังมีเรื่องราวเกี่ยวข้องกับกรุงรัตนโกสินทร์ 

- การจัดนิทรรศการ สาธิต จำหน่ายของดีบ้านฉัน ผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม (CPOT) 76 จังหวัด ทั่วประเทศ โดยเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่สะท้อนภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันมีความโดดเด่นของชุมชนแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรัก ความผูกพัน และความภาคภูมิใจในบ้านเกิด รวมทั้งพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการทรัพยากรวัฒนธรรมในพื้นที่ให้สามารถสร้างอาชีพ สร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าเพิ่ม

-2-

ทางเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับประชาชนให้สูงขึ้น และยกระดับความเป็นอยู่ให้มีคุณภาพชีวิตดียิ่งขึ้น ภายใต้ 8 วิถีไทย “ของดีบ้านฉัน” ได้แก่ 

1. อาหาร (อาหารชาติพันธุ์ อาหารพื้นถิ่น อาหารสุขภาพ) 

2. การแต่งกาย (ผ้า เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย ผลิตภัณฑ์จากผ้า) 

3. ที่อยู่อาศัย (บ้านโบราณ ย่านเก่า เมืองเก่า สิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรม) 

4. ประเพณี (ประเพณีเกี่ยวกับศาสนา ความเชื่อ วิถีชีวิต การทํามาหากิน)

5. ภาษา วรรณกรรมพื้นบ้าน และประวัติศาสตร์บอกเล่า (ภาษาไทย ภาษาถิ่น ภาษา สัญลักษณ์ สํานวน สุภาษิต ตํารา นิทานพื้นบ้าน ชื่อบ้านนามเมือง) 

6. อาชีพ (ช่างฝีมือดั้งเดิม หัตถกรรม แพทย์แผนไทย สปา) 

7. ความเชื่อ พิธีกรรม (โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์ ศรัทธาต่อวิถีศาสนา ศรัทธาของกลุ่มคน   ในแต่ละท้องถิ่น) 

8. ศิลปะพื้นถิ่น (ภูมิปัญญาด้านศิลปะท้องถิ่น ศิลปะการแสดง ศิลปะการต่อสู้ การละเล่นพื้นบ้าน) 

ทั้งนี้การสาธิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยและของดีบ้านฉัน ที่จะสร้างความรู้เกี่ยววิถีชีวิตของแต่ละท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมถึงการสร้างรายได้ให้เกิดกับประชาชนและชุมชน 

การแสดงสุดยอดศิลปวัฒนธรรมไทย ได้แก่

- มหกรรมภาพยนตร์ย้อนยุค ฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญของกรุงเทพฯ บนรถโรงหนัง 

- มหกรรมว่าวไทยและว่าวนานาชาติ  โดยจัดแข่งขันว่าวจากนักเล่นว่าวชาวไทย และการละเล่นพื้นบ้านของไทย 

- การแสดงมหกรรมโขน กิจกรรมรำวงย้อนยุคและลีลาศย้อนยุค โดยจะนำบทเพลงของสุนทราภรณ์มาประกอบการลีลาศย้อนยุคอย่างยิ่งใหญ่อลังการ การแสดงพื้นบ้านสี่ภาค (ของดีบ้านฉัน) การแสดงจากสมาคมศิลปะ การแสดงเพลงรักชาติ การแสดงจากศิลปินร่วมสมัย การแสดงจากศิลปินแห่งชาติ 

- การประกวดกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ โดยสำนักงานวัฒนธรรมทุกจังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด เป็นผู้คัดสรร สาวงามที่จะมาเป็นตัวแทนประกวด พร้อมทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นตนเองด้วย จึงทำให้การประกวดกุลสตรีศรีรัตนโกสินทร์ มีความแตกต่างจากการประกวดสาวงามอื่นๆ ตรงที่นอกจากสาวงามจะมีความงดงามที่ใบหน้าแล้ว ยังต้องมีความงดงามอย่างมีคุณค่าในแบบไทยอีกด้วยเพื่อแสดงถึงความงดงามของผู้หญิงไทยในสมัยรัตนโกสินทร์ว่าผู้หญิงไทยเป็นผู้หญิงที่เป็นกุลสตรีเป็นที่กล่าวขานกันอย่างยาวนาน โดยเป็นดั่งทูตวัฒนธรรม ทำหน้าที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติได้รับทราบ ทั้งนี้ยังได้รับมอบหมายหน้าที่ในการเป็นแบบถ่ายภาพชุดไทยประจำรัชกาลและชุดแต่งกายชาติพันธุ์ของแต่ละท้องถิ่น เพื่อจัดทำเป็นหนังสือเครื่องแต่งกายของไทยต่อไป

การจัดงานใต้ร่มพระบารมี 233 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ถือเป็นกิจกรรมที่ประชาชนในชาติจะได้แสดงความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยทั้ง 9 พระองค์ และแสดงถึงความสมานฉันท์ของคนในชาติในการทำกิจกรรมร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างรายได้ให้เกิดกับประชาชน ชุมชน และประเทศชาติ ตามนโยบายมั่งคั่ง มั่นคง ยั่งยืนของรัฐบาลด้วย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนวัฒนธรรม 1765

------------------------------------------------------------------

[Advertorial]
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook