รู้ไว้ใช่ว่า.. ความแตกต่างของสี "Passport" ในแต่ละประเภท

รู้ไว้ใช่ว่า.. ความแตกต่างของสี "Passport" ในแต่ละประเภท

รู้ไว้ใช่ว่า.. ความแตกต่างของสี "Passport" ในแต่ละประเภท
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ Sanook! Travel เอาเกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย จากความแตกต่างของสี Passport ในแต่ละประเภทมาฝากกันค่ะ.. ว่าสีไหนใช้กับใคร และแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

หนังสือเดินทาง (Passport)

เป็นเอกสารที่รับรองเอกลักษณ์ และสัญชาติของผู้ถือโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ส่วนประกอบของเอกลักษณ์คือชื่อ, วัน เดือน ปีเกิด, เพศ และสถานที่เกิด โดยปกติ สัญชาติและพลเมืองสอดคล้องกัน

หนังสือเดินทางไม่ได้ให้สิทธิ์ผู้ถือเข้าไปในประเทศอื่น และไม่ให้ความคุ้มครองหรือสิทธิ์อื่นๆ ขณะอยู่ต่างประเทศ หากไม่มีข้อตกลงพิเศษ อย่างไรก็ตาม โดยปกติมันให้สิทธิ์ผู้ถือกลับประเทศที่ออกหนังสือเดินทาง ความคุ้มครองจากข้อตกลงระหว่างประเทศ และสิทธิ์ที่จะกลับจากกฎหมายต่างๆ ของประเทศผู้ออก หนังสือเดินทางไม่แสดงสิทธิ์หรือที่อยู่ในประเทศที่ออกหนังสือเดินทางของผู้ถือเป็นกฏทั่วไปที่ประเทศต่างๆ ไม่จำเป็นต้องรู้จักหนังสือเดินทางที่ออกโดยประเทศที่ไม่รู้จัก และไม่ให้บุคคลที่ใช้หนังสือเดินทางเหล่านั้นเข้าประเทศ

ประเภทหนังสือเดินทาง

หนังสือเดินทางประเทศไทยในปัจจุบันมี 4 ประเภท ดังนี้

1. หนังสือเดินทางธรรมดา Ordinary Passport (หน้าปกสีแดงเลือดหมู)ออกให้สำหรับประชาชนทั่วไป หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี

2. หนังสือเดินทางราชการ Official Passport (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)

หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว โดยมีข้อกำหนดออกเฉพาะข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญ สมาชิกรัฐสภาซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ และบุคคลอื่นใดที่เดินทางเพื่อทำประโยชน์แก่ทางราชการตามที่กระทรวงการต่าง ประเทศอนุมัติ

3. หนังสือเดินทางทูต Diplomatic Passport (หน้าปกสีแดงสด)

ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุเพิ่มได้ มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้

          1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

          2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส

          3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ

          4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี

          5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี

          6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา

          7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์

          8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด

          9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ

        10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ

        11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ

        12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี

        13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 2-8

        14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

4. หนังสือเดินทางชั่วคราว Temporary Passport (หน้าปกสีเขียว)

นอกจากนี้ ยังมีอีก 3 ประเภทพิเศษ คือ

1. หนังสือเดินทางพระ ออกให้สำหรับพระภิกษุและสามเณรที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศตามนัยระเบียบมหาเถรสมาคม

2. หนังสือเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ ออกให้ชาวมุสลิมที่เพื่อเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ หนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีอายุ 2 ปีเท่านั้น

3. เอกสารสำคัญประจำตัวเพื่อใช้แทนหนังสือเดินทาง Certificate of Identity (C.I.)

ใช้สำหรับผู้ที่ไม่สามารถต่ออายุหนังสือเดินทางได้ทันตามกำหนด สามารถใช้ เดินทางกลับประเทศไทยได้เพียงอย่างเดียว และมีอายุใช้งาน 30 วัน หรือตามระยะเวลาผู้ออกกำหนด นับจากวันที่ออก กรณีไม่สามารถแสดงหลักฐานไทยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ผู้ถืออาจต้องได้รับการพิสูจน์สัญชาติไทยจาก ทางกองตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทยด้วย

ขอบคุณข้อมูล จาก http://www.thaiembassy.org/

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook