พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง) วัดสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต

พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง) วัดสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต

พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง) วัดสิเหร่ จังหวัดภูเก็ต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชาวพม่ามีความเลื่อมใสและศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก ๆ … แม้มาทำงานในต่างแดน แต่เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา จะเห็นชาวพม่าพากันไปทำบุญเยอะมาก อย่างในภูเก็ตนั้นคนพม่านิยมขึ้นไปสักการะที่พระใหญ่ (big buddha) มากเป็นพิเศษ ผมคิดว่าคนพม่าชอบบำรุงศาสนาด้วยการสร้างสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป, เจดีย์ต่างๆ โดยเฉพาะในจุดที่สูงโดดเด่น … และในวันนี้ที่ภูเก็ต ชาวพม่าเชื้อสายมอญส่วนหนึ่งได้ร่วมกันก่อสร้าง “พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง)” ณ วัดเกาะสิเหร่เพื่อเป็นสถานที่สำหรับสักการะบูชา … บอกได้เลยว่านอกจากได้บุญและสบายใจจากการขึ้นมากราบไหว้แล้ว ยังได้อิ่มกับวิวสวย ๆ ของภูเก็ตอีกด้วย

วันนี้มีภาพช่วงแสงเย็นมาฝากครับ ผมเดินทางถึงช้าไปหน่อยเลยไม่ได้แสงสีทองเพราะพระอาทิตย์ลับเขาไปแล้ว … คงต้องหาโอกาสกลับมาใหม่โดยเฉพาะช่วงเช้าน่าจะสวยงามไม่แพ้กัน

ผมไปถึงช้าสักหน่อย แสงในโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระนอนไม่มีแล้วจึงไม่ได้ถ่ายภาพมา ได้แต่ภาพข้างโบสถ์มาแทน อันที่จริงแล้วที่ถนนรอบ ๆ ทางขึ้นโบสถ์มีพระพุทธรูปอยู่หลายจุดเลย

พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง) จะอยู่หลังโบสถ์ฝั่งทิศใต้

นอกจากองค์พระธาตุแล้ว วิวที่นี่ก็ยังสวยอีกด้วย มองไปจะเห็นเมืองภูเก็ตอยู่ทางฝั่งตะวันตก

หากมีโอกาสมาเที่ยวภูเก็ต อย่าลืมหาโอกาสแวะมานมัสการองค์พระธาตุและชมวิวนะครับ

การเดินทาง

พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง) ตั้งอยู่ที่เกาะสิเหร่ (ไม่ได้เป็นเกาะนะ แค่ชื่อเรียก) … เป็นเส้นทางเดียวกับที่จะไปโรงแรม Westin Siray เลยครับ  แต่วัดจะสิเหร่จะถึงก่อน  เมื่อขับรถขึ้นไปบนวัดแล้วให้ใช้ถนนลาดยางทางขวามือ ขับขึ้นไปเรื่อย ๆ จนเจอศาลาเล็ก ๆ ที่มีองค์พระพุทธรูปอยู่  หาที่จอดบริเวณนั้นแล้วเดินขึ้นบันไดไปด้านบนจะเจอกับโบสถ์ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระนอ สำหรับพระธาตุจะอยู่ด้านหลังโบสถ์ครับ  … ทั้งนี้รถสามารถขึ้นไปได้โดยสะดวกทั้งมอเตอร์ไซด์และรถยนต์ครับ

แผนที่พระธาตุอินทร์แขวน (จำลอง)

https://drive.google.com/open?id=1O_KA6Bd-B20IIG9vitBZR1Bdkgw&usp=sharing

ปล. เท่าที่ผมหาข้อมูล ชื่อผู้เสนอโครงการนี้ท่านหนึ่งคือคุณจำลอง วราบุตร ร่วมกับคุณนาคะ มนต์ตั้ง ท่านที่สองน่าจะเป็นคนมอญแต่ท่านแรกผมไม่แน่ใจว่าเป็นคนไทยหรือคนมอญนะครับ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาบอกภายหลัง อย่างไรก็ตามต้องขอแสดงความชื่นชมท่านทั้งสองและผู้มีจิตศรัทธาทุกคนที่ร่วมกันสร้างศาสนวัตถุชิ้นนี้ขึ้นมาในภูเก็ตครับ

สนับสนุนเนื้อหา โดย 9Mot

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook