ที่เที่ยวขอนแก่น แหล่งท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์และโบราณคดี
จังหวัด ขอนแก่น มีขนาดพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีประชากรเป็นอันดับ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดศูนย์ปฏิบัติการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ตัวเมืองขอนแก่นตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก) ตัดผ่าน ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการเดินทางจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเข้าไปสู่ภาคเหนือตอนล่างที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ และเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวทางด้านทิศใต้ของลาว อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจังหวัดเลย จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดอุดรธานี ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทิศใต้ติดกับจังหวัดบุรีรัมย์และจังหวัดนครราชสีมา ทิศตะวันตกติดกับจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดเพชรบูรณ์
แหล่งท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์และโบราณคดี จังหวัดขอนแก่น
1.ศาลหลักเมืองขอนแก่น
ศาลหลักเมืองขอนแก่น เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น ประดิษฐานอยู่ที่ศาลาสุขใจ ถนนเทพารักษ์ หน้าสำนักงานเทศบาลนครขอนแก่น ท่านเจ้าคุณปู่พระราชสารธรรมมุนีและหลวงธุรนัยพินิจ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้นำหลักศิลาจารึกมาจากโบราณสถานในท้องที่อำเภอชุมแพมาประกอบพิธีตามแนวทางพระพุทธศาสนาทำเป็นหลักเมืองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2499 ต่อมาเมื่อ ปี 2549 เทศบาลนครขอนแก่น ได้ทำการบูรณะศาลหลักเมืองขอนแก่น ตามโครงการบูรณะพัฒนาปฏิสังขรณ์ศาลหลักเมืองและในวโรกาสมหามงคลสมัยเพื่อน้อมถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา โดยผลการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างวิธีพิเศษ ได้ตกลงว่าจ้าง หจก.แก่นชาญกิจวิศวกรรม มาดำเนินการก่อสร้าง แล้วเสร็จและมีการฉลองสมโภชศาลหลักเมืองขอนแก่น เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ 80 พรรษา เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2550 สิ้นค่าก่อสร้างกว่า 54 ล้านบาท ศาลหลักเมืองขอนแก่นที่ปรับปรุงใหม่นั้น อยู่ ณ บริเวณจุดเดิม ลักษณะตัวอาคารมีศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์ ทรวดทรงและส่วนประกอบงานศิลป์เป็นการอนุรักษ์งานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของ ท้องถิ่นอีสาน ขนาดและรูปทรงเป็นเป็นอาคารโถงจัตุรมุข กว้างขวางโอ่โถงกว่าของเดิมมาก โดยมีขนาดตัวอาคาร 13 x 13 เมตร โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กมีพื้นที่ภายในเป็นห้องโถงรวม 73 ตารางเมตร ย่อมุมตัวอาคารโดยรอบมีระเบียงยื่นทั้ง 4 ด้าน ความสูงจากพื้นลานรอบอาคารถึงถึงยอดฉัตรทองคำรวม 27.50 เมตร หลังคาเป็นทรงจั่วจัตุรมุขหลังคาซ้อน 3 ชั้น และชั้นเครื่องยอดเป็นรูปเจดีย์ศิลปะพื้นเมืองอีสาน สัณฐานเป็นเจดีย์จำลองจากองค์พระธาตุขามแก่น
2.ศาลหลักเมือง (เมืองเก่า)
ศาลหลักเมือง (เมืองเก่า) เป็นศาลหลักเมืองหรือบือบ้านที่ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้ตั้งไว้ ณ บริเวณใจกลางหมู่บ้าน เป็นเสาหลักเมืองขอนแก่นหลักแรกก่อนจะมีการย้ายเมืองอีก 5 ครั้ง ปัจจุบันตั้งอยู่บริเวณซอยกลางเมือง 21 ด้านข้างศูนย์กัลยาณมิตร
3.พระมหาธาตุแก่นนคร
พระมหาธาตุแก่นนคร ตั้งอยู่ภายในวัดหนองแวงพระอารามหลวง ถนนกลางเมือง เป็นศิลปะสมัยทวารวดีผสมผสานศิลปะอินโดจีน รูปทรงแบบชาวอีสานตากแห มี 9 ชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ มีการตกแต่งด้วยลวดลายแกะสลัก และภาพเขียนอย่างงดงาม เป็นสถานที่เคารพบูชาของชาวขอนแก่น และเป็นสถานที่ชมทัศนียภาพเมืองขอนแก่น
4.อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์
อนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ ตั้งอยู่ที่สวน เจ.ซี. ถนนรอบบึง พระนครศรีบริรักษ์หรือท้าวเพี้ยเมืองแพนเป็นขุนนางเชื้อพระวงศ์กษัตริย์เวียงจันทน์ มีธิดาชื่อนางคำแว่นเป็นสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในปี พ.ศ. 2332 ท้าวเพี้ยเมืองแพนได้พาสมัครพรรคพวกประมาณ 330 คน อพยพมาอยู่ที่บ้านบึงบอน ขึ้นตรงต่อพระยานครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2340 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ยกบ้านบึงบอนขึ้นเป็น "เมืองขอนแก่น" และยกฐานันดรศักดิ์ท้าวเพี้ยเมืองแพนขึ้นเป็น "พระนครศรีบริรักษ์" พ่อเมืองคนแรกของจังหวัดขอนแก่น ในปี พ.ศ. 2525 ประชาชนชาวขอนแก่น ได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์พระนครศรีบริรักษ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์และเคารพสักการะของชาวเมือง
5.น้ำส่างสนามบิน
น้ำส่างสนามบิน ตั้งอยู่บริเวณถนนหน้าศูนย์ราชการ ตรงข้ามโรงเรียนสนามบินด้านทิศเหนือ เป็นบ่อน้ำประวัติศาสตร์ที่มีมาก่อนที่เมืองขอนแก่นจะมีน้ำประปาบริโภค เป็นจุดรวมใจของชาวขอนแก่น เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวขอนแก่นในอดีต และให้คุณประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวขอนแก่นมาเป็นเวลายาวนาน
6.พระธาตุขามแก่น
พระธาตุขามแก่นตั้งอยู่ที่วัดเจติยภูมิ บ้านขาม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านขาม อำเภอน้ำพอง เป็นปูชนียสถานของจังหวัดขอนแก่น บ้านขามเคยเป็นเมืองมาตั้งแต่สมัยโบราณ เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 500
7.บึงละเลิงหวาย อำเภอพล
บึงละเลิงหวาย เป็นบึงขนาดเล็กซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าละเลิงหวาย และเป็นที่กราบสักการะของคนไทยเชื้อสายจีน และเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
8.ปราสาทเปือยน้อย
ปราสาทเปือยน้อย ตั้งอยู่ที่ อ.เปือยน้อย เป็นปราสาทศิลปะขอมโบราณผสมระหว่างศิลปะเขมรแบบบาปวนและแบบนครวัด สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อใช้เป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู เป็นปราสาทที่มีความสมบูรณ์ที่สุดในเขตภาคอีสานตอนบน
9.เขื่อนอุบลรัตน์
เขื่อนอุบลรัตน์ เป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าแห่งแรกของภาคอีสาน มีไว้เพื่อกั้นลำน้ำพองซึ่งย่อยมาจากแม่น้ำชี ตั้งอยู่ที่เขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ พร้อมที่พักและกิจกรรมทางน้ำ ที่ไม่ควรพลาด คือ วิวทิวทีศน์ของเทือกเขาภูพานตัดไปกับผืนน้ำอันสวยงาม
10.ถนนข้าวเหนียว
ถนนข้าวเหนียวและถ้าพูดถึงถนนข้าวเหนียวของจังหวัดขอนแก่น ต้องนึกถึงเทศกาล สงกราน อย่างแน่นอน สถานที่เล่นน้ำสงกรานสุดฮิตของไทยเลยก็ว่าได้ ซึ่ง จะเริ่มเล่นน้ำก่อนถึงวันเทศกาลอีกด้วย
11.สวนน้ำไดโนวอเตอร์ปาร์ค
สถานที่ท่องเที่ยวสุดฮอตขอนแก่น คือ “สวนน้ำไดโนวอเตอร์ปาร์ค” สวนน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนเนื้อที่กว่า 40 ไร่ ได้คลายร้อน สนุกทั้งครอบครัว กับความน่าตื่นเต้นของสไลด์เดอร์ และเครื่องเล่นมากมาย ได้ที่สวนน้ำไดโนวอเตอร์ปาร์ค
ขอนแก่น
ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นอาณาบริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมอันสูงส่งมาแต่ดึกดำบรรพ์ มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อนสมัยพุทธกาลหลายพันปี จากหลักฐานบริเวณโนนนกทาอำเภอภูเวียง ได้ขุดพบเครื่องสำริดและเหล็ก เครื่องมือที่ทำด้วยหิน หัวขวานทองแดง พบเมืองโบราณสมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวาราวดีสมัยขอม มีโบราณสถาน โบราณวัตถุ วัด และสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนามากมาย น่าไปเที่ยวมากเลยครับ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอุดรธานี และหนองบัวลำภู ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดนครราชสีมา และบุรีรัมย์ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดชัยภูมิ และเพชรบูรณ์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดกาฬสินธุ์ และมหาสารคาม ขอนแก่น อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 449 กิโลเมตร มีพื้นที่ 10,886 ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 20 อำเภอ คือ อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภอหนองเรือ อำเภอสีชมพู อำเภอน้ำพอง อำเภอกระนวน อำเภอชุมแพ อำเภอบ้านไผ่ อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอหนองสองห้อง อำเภอพล อำเภอภูเวียง อำเภอแวงน้อย อำเภออุบลรัตน์ อำเภอบ้านฝาง อำเภอเขาสวนกวาง อำเภอพระยืน อำเภอแวงใหญ่ อำเภอเปือยน้อย และอำเภอภูผาม่าน