อุบลราชธานี

อุบลราชธานี

อุบลราชธานี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จังหวัด อุบลราชธานี เมืองขนาดใหญ่ริมฝั่งโขงที่มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากว่า 200 ปี  ได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นก่อนใครในสยาม หาดทรายแก่งหินงดงามแปลใหม่ ดอกไม้ป่าสวยน่าชมเด็ดดม  ภาพเขียนธรรมชาติอันลือชื่อ น้ำตกอัศจรรย์ไหลตกลงรู  วัดวาอารามอันงดงาม  สถานที่ท่องเที่ยวที่อัศจรรย์และดูแปลกตาดึงดูดให้นักท่องเที่ยว เดิมที่เป็นจังหวัดที่รวมกับจังหวัดยโสธร แต่ถูกแยกออกใน พ.ศ. 2515 แต่ก่อนจังหวัดอุบลราชธานีนั้นมีพื้นที่เป็นอันดับ1ของประเทศไทย


ดินแดนแถบนี้ได้มีชนชาติ ข่า ส่วย อพยพมาจากกรุงศรีสัตตนาคนหุต เข้ามาอาศัยอยู่มาตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แล้วครับ ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระองค์ทรงคิดจะรวบรวมผู้คนที่แตกกระจัดกระจายจากภัยสงครามให้มาอยู่เป็นกลุ่มก้อน ดังนั้นถ้าใครสามารถรวบรวมผู้คนได้มากและอยู่กันอย่างมั่นคงก็จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมือง

ด้วยเหตุนี้ในปี พ.ศ. 2329 ท้าวคำผง ซึ่งได้รวบรวมผู้คนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำกินอยู่ ณ บริเวณห้วยแจระแม อันเป็นที่ราบริมแม่น้ำมูล และต่อมาภายหลังมีความชอบจากการนำกำลังเข้าช่วยกองทัพไทยตีเมืองนครจำปาศักดิ์ จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านแจระแม เป็นเมืองอุบลราชธานี และแต่งตั้งให้ท้าวคำผงเป็นพระปทุมวรราชสุริยวงศ์เจ้าเมืองครับ ภายหลังได้ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ทีดงอู่ผึ้ง" อันเป็นที่ตั้งจังหวัดในปัจจุบัน โดยมีเมืองเทียบเท่าชั้นจัตวาขึ้นอยู่รวม 7 เมือง ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อนจัดการปกครองแบบเทศาภิบาล เมืองอุบลราชธานีถูกรวมอยู่ในบริเวณหัวเมืองลาวกาว

ต่อมาในปี พ.ศ. 2442 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีเมืองอุบลราชธานีเป็นที่ตั้งมณฑล และเปลี่ยนชื่อใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2443 เป็นมณฑลอีสาน ในปี พ.ศ. 2468 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จึงลดฐานะมณฑลอุบลราชธานีลงเป็นเพียงจังหวัดหนึ่งของมณฑลนครราชสีมาเท่านั้น จนกระทั่งยุบเลิกมณฑลในปี พ.ศ. 2476 จึงกลายเป็นจังหวัด อุบลราชธานีตั้งแต่นั้นมาครับ

ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดอำนาจเจริญ และลาว ทิศใต้ ติดต่อกับ กัมพูชา ตามแนวเทือกเขาบรรทัด ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดยโสธร และศรีสะเกษ ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ลาว จังหวัดอุราชธานีมีระยะทางห่างจากกรุงเทพฯ 647 กิโลเมตร พื้นที่ 18,906 ตารางกม. แบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ 3 กิ่งอำเภอ คือ อ.เมืองอุบลราชธานี อ.วารินชำราบ อ.เดชอุดม อ.บิณฑริก อ.นาจะหลวย อ.น้ำยืน อ.พิบูลมังสาหาร อ.โขงเจียม อ.ศรีเมืองใหม่ อ.ตระการพืชผลอ. เขมราฐ อ.ม่วงสามสิบ อ.เขื่องใน อ.กุดข้าวปุ้น อ.โพธิ์ไทร อ.ตาลสุม อ. สำโรง อ.สิรินธร กิ่ง อ.ดอนมดแดง กิ่ง อ. ทุ่งศรีอุดม กิ่ง อ. นาเยีย

.

.

เที่ยว จังหวัด อุบลราชธานี กันเถอะ



สามพันโบก หนึ่งในสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวของอุบลราชธานี ถ้ามาที่อุบลราชธานี ต้องมาเยือนที่นี่ หลังสายน้ำในแม่น้ำโขงลดลง จนเผยให้เห็นเกาะแก่งหินที่ถูกกระแสน้ำขัดเกลาด้วยน้ำที่ไหลวนด้วยอย่างรุนแรงมาเป็นเวลาหลายพันปี จนเกิดเป็นประติมากรรมธรรมชาติกว่า 3000 แอ่ง กินอาณาบริเวณกว้างไกลสุดตายตา จึงเป็นที่ว่าของชื่อ สามพันโบก เพราะ โบก ในภาษาอีสานนั้นแปลว่า หลุม



ผาชนะได ตั้งอยู่ในเขตป่าดงนาทาม คือจุดชมพระอาทิตย์ขึ้นจุดแรกสุดในเมืองไทย เป็นชะง่อนผาที่ยื่นตระหง่านไปในฝั่งโขงในช่วงฤดูหนาว นอกจากจะได้ทักทายดวงตะวันสาดแสงเหนือสายน้ำโขงแล้ว ยังเป็นฤดูกาลบานสะพรั่งของเหล่าดอกไม้ป่าที่เบ่งบานอวดสีสันรับสายลมหนาว


แม่น้ำสองสี หรือดอนด่านปากแม่น้ำมูล อยู่ในเขตบ้านเวินบึก นั่งเรือจากตัวอำเภอโขงเจียมไปประมาณ 5 นาที เป็นบริเวณที่แม่น้ำสองสายมาบรรจบกัน คือแม่น้ำโขงสีปูน แม่น้ำมูลสีคราม อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี 84 กิโลเมตร


ผาแต้ม บริเวณจุดชมวิวมองเห็นทัศนียภาพภูเขาเคียงข้างแม่น้ำ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่ผาแต้มสามารถรับชมพระอาทิตย์ขึ้นได้เป็นแสงแรกแห่งสยาม


น้ำตกแสงจันทร์ คือธารน้ำที่โปรยละอองผ่านช่องหินเป็นสายน้ำสีขาวนวล ยิ่งในคืนวันเพ็ญยามแสงจันทร์สาดกระทบสายน้ำตกจะดูเป็นประกายสีนวลสวยงามจับตา และเมื่อสายน้ำกระทบสู่พื้นล่างด้วยแล้ว น้ำยังกระจายตัวเป็นรูปหัวใจดูน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก


พระบรมธาตุเจดีย์ศรีมหาโพธิ์ เป็นแบบจำลองมาจากพระเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย เป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ รอบองค์พระธาตุเป็นกำแพงแก้ว ซึ่งทั้ง 4 มุม ของกำแพงแก้ว ได้ประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็กอีก 4 องค์ ภายในองค์พระธาตุมีประตูทางเข้าทั้ง 4 ด้าน


ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา ชมขบวนแห่เทียนทั้งประเภทแกะสลักและติดพิมพ์ พร้อมทั้งมีขบวนฟ้อนรำจากคุ้มวัดต่างๆ ที่ส่งเทียนเข้าประกวด รวมทั้งงานแสดงสินค้าต่างๆ ชมการแกะสลักปะติมากรรมจากศิลปินต่างประเทศ กิจกรรมเยี่ยมเยือนชุมชนคนทำเทียนเยือนคุ้มวัดต่างๆในเมืองอุบล


และสุดท้าย “หาดชมดาว” เรียกได้ว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว Unseen แห่งใหม่ในภาคอีสานจังหวัดอุบลราชธานีเลยก็ว่าได้ โดยหาดชมดาวจะเป็นแนวหาดหิน แก่งหิน อันกว้างใหญ่และทอดตัวยาวหลายร้อยเมตรในบริเวณแม่น้ำโขง ในช่วงหน้าแล้ง น้ำในแม่น้ำโขงจะลดจนเห็นโขดหิน ซึ่งจะมีความแปลกตากว่าทุกแห่งที่พบมาในแนวแม่น้ำโขงของจังหวัดอุบลราชธานี ด้วยด้วยเนินหิน แก่งหิน ที่มีรูปทรงและลวดลายที่แตกต่างออกไป อันเกิดจากกระแสน้ำที่กัดเซาะของกระแสน้ำ ผ่านช่องแคบของแม่น้ำโขงที่ไหลผ่าน จนเกิดเป็นงานประติมากรรมที่สวยงามใหม่ขึ้น ในบางช่วงจะมีจุดแคบๆ มีสายน้ำเล็กๆไหลผ่านกลางช่องระหว่างโขดหิน  ซึ่งหากมองจากฝั่งตรงข้ามจะเห็นลวดลายหินเป็นลายพลิ้วไหวของกระแสน้ำที่สวยงามมาก  


ส่วนการชมความงามของหาดชมดาวนี้ควรจะชมในช่วงเช้าและช่วงบ่าย ไม่แนะนำให้มาเที่ยงเพราะจะร้อนมาก หากอยากชมพระอาทิตย์ขึ้นก็มาในช่วงเช้าก่อน 8 โมง  เพราะหลังจากเวลานั้นไปแดดจ้ามาก เพราะที่อุบลราชธานีเป็นจังหวัดที่พระอาทิตย์ขึ้นเร็วมาก ขึ้นตั้งแต่ตีห้าครึ่งพระอาทิตย์ และช่วงที่เหมาะจะมาเที่ยวนั่นก็คือ ตั้งแต่ เดือนธันวาคมถึงเมษายน



เข้ามาเที่ยว อุบลราชธานีกันเยอะๆนะครับ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook