10 สถานที่ท่องเที่ยว "อยุธยา" กรุงเก่าของเราแต่ก่อน

10 สถานที่ท่องเที่ยว "อยุธยา" กรุงเก่าของเราแต่ก่อน

10 สถานที่ท่องเที่ยว "อยุธยา" กรุงเก่าของเราแต่ก่อน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

10 สถานที่ท่องเที่ยว..ต้องห้ามพลาด "อยุธยา" กรุงเก่าของเราแต่ก่อน

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นอดีตราชธานีของไทย มีหลักฐานของการเป็นเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 16 - 18 โดยมีร่องรอยของที่ตั้งเมือง โบราณสถาน โบราณวัตถุ และเรื่องราวเหตุการณ์ในลักษณะ ตำนานพงศาวดาร ไปจนถึงหลักศิลาจารึก องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก มีมติให้ประกาศขึ้นทะเบียนนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาเป็น " มรดกโลก " เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2534 มีพื้นที่ครอบคลุมในบริเวณโบราณสถานเมืองอยุธยา

อยุธยา นอกจากจะเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของประเทศไทย มีโบราณสถานที่น่าสนใจมากมาย แถมการเดินทางไปอยุธยาก็ไม่ได้ยากด้วย บทความนี้จะพาไปพบกับ 10 ที่เที่ยวอยุธยาห้ามพลาด การันตีโดย ‘สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา’

1.พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย

พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัยพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย

ทุ่งมะขามหย่องตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เคยเป็นสมรภูมิการสู้รบระหว่างไทย-พม่าหลายครั้ง จนเกิดเป็นมหาวีรกรรมคือ เมื่อครั้งที่สมเด็จพระสุริโยทัยพระอัครมเหสีของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิทรงทำยุทธหัตถีกับพระเจ้าแปรจนต้องพระแสงของ้าวสิ้นพระชนม์บนคอช้าง และยังเป็นสมรภูมิในศึกอื่นๆอีกมามากมายและด้วยเหตุนี้ ทางรัฐบาลจึงได้จัดทำโครงการสร้างพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย เป็นโครงการจัดสร้างขึ้นตามพระราชดำริ รัฐบาลและพสกนิกรชาวไทยได้ร่วมกันสร้างน้อมเกล้าฯถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ในวาระมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ เมื่อปี พ.ศ. 2535

 

2.วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ อยุธยาวัดมหาธาตุ อยุธยา

เป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลของปรางค์ขอมปนอยู่ ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้ทรงปฏิสังขรณ์พระปรางค์ใหม่โดยเสริมให้สูงกว่าเดิม แต่ขณะนี้ยอดพังลงมาเหลือเพียงชั้นมุขเท่านั้น และสิ่งที่น่าสนใจในวัดอีกอย่างคือ เศียรพระพุทธรูปหินทราย ซึ่งมีรากไม้ปกคลุมเข้าใจว่าเศียรพระพุทธรูปนี้จะหล่นลงมาอยู่ที่โคนต้นไม้ในสมัยเสียกรุงจนรากไม้ขึ้นปกคลุมมีความงดงามแปลกตาไปอีกแบบ ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์

 

3.วัดใหญ่ชัยมงคล

วัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยาวัดใหญ่ชัยมงคล อยุธยา

วัดใหญ่ชัยมงคลถือว่าเป็นวัดมีความสำคัญทางประวัติศาตร์มากที่สุดและเป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมมามากที่สุดวัดหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จึงเป็นธรรมดาที่จะพบเห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางมายังวัดแห่งนี้ จุดสนใจของวัดใหญ่ชัยมงคลนี้ คือเรื่องราวทางประวัติศาตร์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา รวมไปถึงสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น ชมเจดีย์ที่สูงที่สุดในอยุธยา ด้านหลังวัดมีตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้ผู้นับถือศรัทธาเข้ามากราบไหว้ นอกจากนี้ บริเวณ รอบๆ ยังมีมีสวนหย่อมที่สวยงามให้พักผ่อนอีกด้วยนักท่องเที่ยวที่ต้องการมาเที่ยวอยุธยาจึงไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง

 

4.วัดพระราม

วัดพระราม อยุธยาวัดพระราม อยุธยา

เป็นวัดที่ใหญ่โตกว้างขวาง มีพระปรางค์ขนาดใหญ่เห็นเด่นชัดแต่ไกล องค์ปรางค์ก่อด้วยอิฐสอปูน เป็นสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนต้นที่นิยมทำเป็นพระปรางค์ เพราะได้รับอิทธิพลแบบเขมรโบราณจากเมืองละโว้ (ลพบุรี)

อยู่นอกเขตพระราชวังไปทางด้านทิศตะวันออก ตรงข้ามกับวิหารพระมงคลบพิตร สมเด็จพระราเมศวรทรงสร้างขึ้นตรงบริเวณที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 (พระเจ้าอู่ทอง) พระราชบิดา วัดนี้มีบึงขนาดใหญ่อยู่หน้าวัด เมื่อมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา คงจะมีการขุดเอาดินในหนองมาถมพื้นที่วังและวัด  พื้นที่ที่ขุดเอาดินมาได้กลายเป็นบึงใหญ่ บึงมีชื่อปรากฎในกฎมณเฑียรบาลว่า “บึงชีขัน” ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “บึงพระราม” ปัจจุบันคือ “สวนสาธารณะบึงพระราม” ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับพักผ่อนหย่อนใจของชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

 

5.วังช้างอยุธยา แล เพนียด

วังช้างอยุธยา แล เพนียดวังช้างอยุธยา แล เพนียด

ลานพักช้างน้อย ลานนี้ถือเป็นจุดเด่นของวังช้างแห่งนี้เลยก็ว่าได้ เพราะมีกิจกรรมให้นักท่องเที่ยงได้เล่นกับช้างแสนน่ารักมากมาย เมื่อเข้าไปจะมีเจ้าหน้าที่คอยต้อนรับ มีบริการการถ่ายภาพกับช้าง ค่าบริการเพียงท่านละ 40 บาท หากไปในวันเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ จะได้ชมการโชว์ความสามารถของช้างน้อยประกอบกับเสียงดนตรี มีคนพากษ์ และเสริมด้วยกิจกรรมลอดท้องช้าง ให้เป็นสิริมงคลสำหรับผู้มาเยือน หากไปวันธรรมดาที่นี่ก็มีบริการขี่ช้างทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น. หากใครสนใจที่จะมาพักค้างคืนเพื่อมาซึมซับกับวิถีชีวิตการเลี้ยงช้างของหมู่บ้านช้างเพนียดหลวง ก็สามารถติดต่อขอพักได้ในโครงการ ‘ประสบการณ์ครั้งหนึ่งที่มาเลี้ยงช้างที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา’ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หมายเลขโทรศัพท์ 08-6901-3981  หรือ 08-1821- 7065

 

6.ตลาดน้ำอโยธยา

ตลาดน้ำอโยธยาตลาดน้ำอโยธยา

เป็นจุดศูนย์รวมนัก ท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างชาติที่จะได้เพลิดเพลินไปกับบรรยากาศ และทัศนียภาพอันงดงามแบบไทยๆ ด้วยการเดินชมตลาดเพื่อชิมอาหารรสชาดอร่อยๆ  เรียบคลองยาว หรือจะซื้อหาของกินของฝากบนร้านค้า ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในเรือนไทยอันงดงาม รอบตลาดน้ำอโยธยาของเรา ก็เพลิดเพลินไม่แพ้กัน พร้อมกันนี้ก็ยังมีเรือบริการรับส่ง ไปยังท่าเรือภายในตลาดอีกด้วยเพื่อ สะท้อนถึงวิถีการ เดินทางในสมัยก่อน ตลาดน้ำอโยธยา เปิดให้บริการทุกวัน เวลาที่เหมาะในการมาเที่ยวคงจะเป็นช่วงเย็นของทุกวัน เพราะแดดร่มลมตก อากาศเย็นสบายเดินช๊อปปิ้งสบายใจแน่นอน ยิ่งวันหยุดคนอาจจะเยอะหน่อยนะ มีของที่ระลึกและ ของกินมากมายให้กินกันทั้งวัน

 

7.วัดหน้าพระเมรุ

วัดหน้าพระเมรุวัดหน้าพระเมรุ

เป็นวัดเดียวในกรุงศรีอยุธยาที่ไม่ได้ถูกพม่าทำลายและยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมแบบอยุธยาอยู่ในสภาพสมบูรณ์มากที่สุดในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระอุโบสถมีขนาดยาว 50 เมตร กว้าง 16 เมตรเป็นแบบอยุธยาตอนต้นซึ่งมีเสาอยู่ภายใน ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี)  ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ซึ่งมีอยู่ข้างพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลาแบบนั่งห้อยพระบาทสมัยทวาราวดีนี้ นับเป็น 1 ใน 5 องค์ที่มีอยู่ในประเทศไทย

 

8.วัดแม่นางปลื้ม

 

วัดแม่นางปลื้มวัดแม่นางปลื้ม

วัดแม่นางปลิ้ม แม่ปลื้มเป็นชาวบ้านอยู่ริมน้ำชานพระนครคนเดียว ไม่มีลูกหลาน วันหนึ่งสมเด็จพระนเรศวร(ทรง)พายเรือมาแต่พระองค์เดียว ท่ามกลางสายฝนเมื่อเสด็จมาถึงเห็น(ทอดพระเนตร)กระท่อมยังมีแสงตะเกียงอยู่ เวลานั้นค่ำอยู่ สมเด็จพระนเรศวรจึงได้(ทรง)แวะขึ้นมาในกระท่อมแม่นางปลื้มเห็น ชายฉกรรจ์เสื้อผ้าเปียกขึ้นมา จึงได้กล่าวเชื้อเชิญด้วยความมีน้ำใจ แต่พระองค์ท่านทรงเสียงดังตามบุคลิกของนักรบชายชาตรี แม่ปลื้มได้กล่าวเตือนว่า ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเสียงดังนักเลย เวลานี้ค่ำมากแล้วเดี๋ยวพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงได้ยินจะโกรธเอาพระองค์กลับตรัสด้วยเสียงอันดังขึ้นอีกว่า ข้าอยากดื่มน้ำจันทน์ ข้าเปียกข้าหนาว อยากไดน้ำจันทน์ให้ร่างกานอบอุ่นพลันแม่ปลื้มยิงตกใจขึ้นมากอีก เพราะว่าวันนี้เป็นวันพระ แม่ปลื้มได้กล่าวว่า ถ้าจะดื่มจริงๆ เจ้าต้องสัญญาว่า ไม่ให้เรื่องแพร่หลายเดี๋ยวพระเจ้า แผ่นดินรู้ จะอันตราย พระนเรศวรรับปาก แม่ปลื้มจึงหยิบน้ำจันทน์ให้กิน(เสวย) สมเด็จพระนเรศวรได้ประทับค้างคืนที่บ้านของแม่ปลื้มเช้าได้เสด็จกลับวัง ต่อมาได้จัดขบวนมารับแม่ปลื้มไปเลี้ยงในวัง ด้วยความที่แม่ปลื้มเป้นคนมีเมตตา จงรัภักดีต่อพระมหากษัตริย์ หลังจากแม่ปลื้มเสียชีวิต สมเด้จพระนเรศวรจัดงานศพให้สมเกียรติ แล้วสมเด็จพระนเรศวรจึงสร้างวัดให้แม่ปลื้ม นามว่า “วัดแม่นางปลื้ม” พระประทานของที่นี่ คือ หลวงพ่อขาว ซึ่งสวยงามมาก

 

9.วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์วัดพระศรีสรรเพชญ์

เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อ พ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดาและองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปี พ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปี  พ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ”  สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตรในเขตอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา  

 

10.วัดภูเขาทอง

วัดภูเขาทองวัดภูเขาทอง

เป็นวัดที่ได้รับความนิยมมากวัดหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ในเทศกาลไหว้พระเก้าวัด พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองเป็นผู้สร้างภูเขาทองขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2112 คราวยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ในเวลาที่ประทับอยู่พระนครศรีอยุธยาได้สร้างพระเจดีย์ภูเขาทองใหญ่แบบมอญขึ้นไว้เป็นที่ระลึกเมื่อคราวรบชนะไทย โดยรูปแบบของฐานเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับแบบมอญพม่า สันนิษฐานว่าสร้างเจดีย์องค์นี้ขึ้นเพื่อชัยชนะแต่ทำได้เพียงรากฐาน แล้วยกทัพกลับ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากพระราชวังหลวงไปประมาณ 2 กิโลเมตร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับทางไปจังหวัดอ่างทอง ทางหลวงหมายเลข 309 กิโลเมตรที่ 26จะมีป้ายบอกทางแยกซ้ายไปวัดนี้ วัดภูเขาทองนี้หนังสือคำให้การชาวกรุงเก่ากล่าวว่า ได้สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวรเมื่อปี พ.ศ. 1930 ครั้งสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกอบกู้เอกราชกลับคืนมาเมื่อ พ.ศ. 2127 จึงโปรดเกล้าให้สร้างเจดีย์แบบไทยไว้เหนือฐานแบบมอญและพม่าที่สร้างเพียงรากฐานไว้  ณ สมรภูมิทุ่งมะขามหย่อง ฝีมือช่างมอญเดิมจึงปรากฏเหลือเพียงฐานทักษิณส่วนล่างเท่านั้น เจดีย์ภูเขาทองจึงมีลักษณะสถาปัตยกรรมสองแบบผสมกัน

อยุธยาไม่ได้มีที่เที่ยวเพียงแค่นี้ แต่ยังมีที่เที่ยวที่รอคุณไปเยือนอีกมากมาย ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์ 'สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา'

 

ข้อมูลและรูปภาพจาก 'สำนักงานจังหวัดพระนครศรีอยุธยา'

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ

อัลบั้มภาพ 15 ภาพ ของ 10 สถานที่ท่องเที่ยว "อยุธยา" กรุงเก่าของเราแต่ก่อน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook