จากไร่ฝิ่นสู่ถิ่นชา

จากไร่ฝิ่นสู่ถิ่นชา

จากไร่ฝิ่นสู่ถิ่นชา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     “หลายสิบปีก่อนพวกเราจำเป็นต้องปลูกฝิ่นขายยาเสพติด เพราะไม่มีทางเลือก เราไม่มีกิน คนหนุ่มสาวทั้งหมดต้องไปขายแรงงานที่ไต้หวัน  หมู่บ้านเหลือแต่เด็กและคนแก่   แต่หลังจากที่มาปลูกชาวันนี้ชีวิตพวกเราดีขึ้น มีเงินส่งลูกเรียนสูงๆ มีรายได้ที่มั่นคง ครอบครัวทุกคนได้อยู่ด้วยกัน  พวกเรามีความสุขมากครับ” เสียงตอบและแววตาที่เปี่ยมไปด้วยความสุขของ เชิดชาย ลาชี สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลเทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย  แหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย  เมื่อถูกถามว่าชีวิตหลังจากการปลูกฝิ่นหันมาปลูกชาเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

     พื้นที่เขตดอยแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย บ้านของชาวเขาเผ่าอาข่า ย้อนไป 30 ปีก่อนยังเป็นดินแดนอันตรายจากการเป็นทางผ่านหลักยาเสพติดที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งของโลก กองกำลังขุนส่า ว้า และก๊กมินตั๋ง ใช้เส้นทางนี้เป็นแหล่งขนถ่ายยาเสพติดจากยอดดอยอันหนาวเหน็บออกสู่ทุกประเทศทั่วโลก ฐานอำนาจอันโหดเหี้ยมที่มีสินค้าสำคัญได้แก่ ฝิ่นและเฮโรอีน นำมาซึ่งเงินและความมั่งคั่งให้กับกองกำลังดังกล่าว  หากแต่ชาวบ้านกลับมีชีวิตยากจน แร้นแค้น และสิ้นหวัง  พวกเขาจำเป็นต้องปลูกฝิ่นเพื่อแลกข้าวประทังชีวิต  ทุกครัวเรือนล้วนเกี่ยวข้องกับการค้ายาเสพติดและค้าประเวณี  

     จนกระทั่งการเข้ามาของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในปี พ.ศ. 2531 “สมเด็จย่า” ทรงมีพระราชดำริขจัดแหล่งปลูกฝิ่นและยาเสพติดให้หมดไปจากดินแดนแห่งนี้  ภารกิจพลิกคืนผืนป่าฟื้นฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของชาวเขาบนดอยจึงเริ่มขึ้น เริ่มต้นด้วยการให้ความรู้การศึกษาอย่างเป็นระบบ แล้วสอนการปลูกพืชเศรษฐกิจ อาทิ ชา กาแฟ แมคคาเดเมีย  เพื่อเป็นฐานพัฒนามาตรฐานชีวิตชาวเขาที่ยากไร้ให้มีแหล่งรายได้อื่นที่ยั่งยืนกว่ายาเสพติด 

 

     จากภูเขาหัวโล้นที่เคยเป็นไร่ฝิ่น วันนี้พื้นที่กว่า  59,760 ไร่ กลายเป็นแหล่งปลูกชาที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ผลที่ตามมาคือการพัฒนาอย่างยั่งยืนเข้าถึงชุมชนทั้ง ถนน สาธารณูปโภค อนามัย มาจากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันของภาครัฐและเอกชน ซึ่ง “อิชิตัน” คือหนึ่งในองค์กรเอกชนที่ให้ความสำคัญในการสนับสนุนรับซื้อใบชาจากชุมชนดังกล่าวและยังช่วยพัฒนาเทคโนโลยีการปลูกชาแก่ชาวบ้าน ทำให้ชาวเขาเผ่าอาข่า วันนี้มีการงานอาชีพที่มั่นคง รายได้ต่อครัวเรือนขยับจาก 23,710 บาทต่อปีในปี 2547 เป็น 127,010 บาทต่อปีในปี 2554  และยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ลูกหลานเกษตรกรชาไม่ต้องไปทำงานที่อื่น ที่สำคัญที่สุดคือการอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว มีรอยยิ้ม มีชีวิต และมีความสุข

 

     ล่าสุด อิชิตัน ได้นำร่องโมเดลพัฒนาชุมชนต้นน้ำเผ่าอาข่า นำทีมโดย ตัน ภาสกรนที  ริเริ่มโครงการ “ชาคืนต้น” มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคให้คนในพื้นที่ มีน้ำสะอาดใช้ตลอดทั้งปี ด้วยการขุดเจาะพื้นหินลึกกว่า  80 เมตร เพื่อลำเลียงน้ำบาดาลมาเก็บสะสมให้เพียงพอต่อการใช้ พร้อมขยายขอบเขตความรับผิดชอบไปถึงลูกหลานของเกษตรกรผู้ปลูกชาให้ได้รับการเรียนการสอนที่มีคุณภาพ สามารถนำมาต่อยอดพัฒนาเป็นอาชีพได้ โดยเลือกลงพื้นที่ไปยัง โรงเรียนพญาไพรไตรมิตร ต.เทอดไท อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย เป็นพื้นที่แรก และเสร็จสิ้นภารกิจในปีแรกไปแล้วเมื่อกลางปีที่ผ่านมา


             

     ปัจจุบันแม้ว่าปัญหายาเสพติดจะหายไปแล้ว แต่อิชิตันยังถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องเข้าไปพัฒนาชีวิตชุมชนเกษตรกรไร่ชาอย่างต่อเนื่อง ภารกิจการพัฒนาชุมชนต้นน้ำจะยังคงเดินหน้าต่อไปในการให้ความรู้ และพัฒนาการระบบการศึกษาเพื่อให้ลูกหลานเกษตรกรชาได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมั่งคงตลอดไป 

     เพราะเราคือครอบครัวเดียวกัน และเราจะเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน 




[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook