๙ ตามรอยพ่อ – กินลมชมเขื่อนแม่กลอง เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว

๙ ตามรอยพ่อ – กินลมชมเขื่อนแม่กลอง เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว

๙ ตามรอยพ่อ – กินลมชมเขื่อนแม่กลอง เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

๙ ตามรอยพ่อ – กินลมชมเขื่อนแม่กลอง เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว

ภาพหน้าปก

บันทึก กาญจน์  เดินทาง  [เขื่อนแม่กลอง และหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว]

เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋า พร้อมรองเท้าคู่เก่าแฮร่ๆ (ร้องเพลงวนไป) กลับมาอีกครั้งทริปยาวๆ ของพวกเราสองสามคน กับ 4 วัน 3 คืน ที่ตั้งมั่นจะตะลุยเมืองกาญจน์เที่ยวตามรอยพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 เราออกทริปช่วงปลายเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา แต่เพิ่งมีเวลาลงรีวิว ชีวิตเซเลปวุ่นนิดๆ ชิคหน่อยๆ ก็งี้ อิอิ

ทริปนี้สร้างความประทับใจให้พวกเรามาก นอกจากได้ก้าวตามรอยพ่อ ไปดูสิ่งที่พ่อหลวงเคยทำเคยสร้าง เรายังได้อิงแอบสายลมหนาวเบาๆ ท่ามกลางธรรมชาติ ดีต่อใจวนไป

การเดินทางวันแรก [อ.ท่าม่วง กาญจนบุรี]

เขื่อนแม่กลอง

ออกเดินทางอีกครั้ง เปิดหัวใจอีกครั้ง สตาร์ทรถออกเดินทางจากกรุงเทพฯ หลังเคารพธงชาติ ฤกษ์งามยามดีในทริปนี้ ใช้เส้นทางเดิม กรุงเทพ - บางเลน - กำแพงแสน – กาญจนบุรีทางสะดวก แต่บางช่วงก็ไม่ค่อยสะดวกเพราะมีการปรับปรุงเส้นทาง แต่ยังคุมเวลาได้อยู่ใน 2 ชั่วโมง ถึงจุดหมายปลายทางแรกของทริปนี้ “เขื่อนแม่กลอง” ตำบลม่วงชุม อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

เขื่อนแม่กลอง เดิมมีชื่อว่า เขื่อนวชิราลงกรณ ต่อมาพระบาทสมด็จพระปมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น เขื่อนแม่กลอง เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2544 จนถึงปัจจุบัน

พระบาทสมด็จพระปมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 ถึง 2 ครั้ง ทรงวางศิลาฤกษ์เขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2510 และทรงประกอบพิธีเปิดเขื่อนวชิราลงกรณ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2513

นอกจากนี้ ยังได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงแปรพระราชฐานประทับแรม ณ เขื่อนแม่กลอง เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2516 ด้วย

โรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนแม่กลอง

อีกสิ่งที่โดดเด่น คือ พระพุทธมหานาคาสถิต นิรมิตรโภคอุดม สมบูรณ์เกษตร สัตตะนคเรศ ประทานชล หรือ "พระนาคาสถิตย์" ซึ่งชาวบ้านแอบกระซิบว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก ในแต่ละวันจะมีคนเดินทางมากราบสักการะขอพรพระนาคาสถิตไม่ขาดสาย 

พระพุทธมหานาคาสถิต นิรมิตรโภคอุดม สมบูรณ์เกษตร สัตตะนคเรศ ประทานชล หรือ"พระนาคาสถิตย์"

พระพิฆเนศ อยู่ใกล้กับ องค์พระนาคาสถิตย์

เดินชมบรรยากาศวนไป สะดุดเห็นป้าย “กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง”แอบชะแว๊บเข้าไปหลบแดด กินกาแฟให้ชื่นใจก่อนตะลุยรอบเขื่อนกันต่อ

กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง

Fun Time Café

กาแฟดำร้อน อเมริกาโน่ เย็นๆ  สตรอว์เบอร์รีปั่น และคัพเค้ก

คัพเค้ก น่ารักมว๊ากกก มุ้งมิ้งจนไม่กล้ากิน แต่ถามว่าหมดไม๊!! หมดนะ555

มุมสวยๆ ให้ถ่ายรูป

ข้างๆ กับ "กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง" เป็นที่ตั้งของ "อาคารจันทรคุปวิสุทธิเทวา" ภายในจัดแสดงประวัติการสร้างเขื่อน และ"พระนาคาสถิตย์"

กินไป พักไป ชวนคนนั้นคนนี้คุยไป ได้ข้อมูลว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ สมเด็จย่าของพวกเรา พระองค์ทรงเสด็จมาประทับแปรพระราชฐาน ณ เขื่อนแม่กลองหลายครั้ง เราเลยได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมเรือนพลับพลาของสมเด็จย่า ใครสนใจไปชมกันได้ แต่ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่บริเวณเรือนพลับพลาก่อนนาจา

ต้นสาเกที่สมเด็จย่าทรงปลูก อยู่ก่อนถึงบริเวณเรือนพลับพลา

สนามเปตอง บริเวณเรือนพลับพลา ซึ่งสมเด็จย่า ทรงโปรดเล่นกีฬาเปตองมาก

เรือนพลับพลาที่ประทับของสมเด็จย่า

บริเวณเรือนพลับพลาที่ประทับของสมเด็จย่า

บรรยากาศสบายๆ ของเขื่อนแม่กลอง

ภายในบริเวณเขื่อนแม่กลอง ยังมีแปลงสาธิตการปลูกฟักข้าว โดยสำนักงานชลประทานที่ 13 ได้น้อมนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาเป็นแนวทางให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานชลประทานที่ 13 ยึดถือปฏิบัติทั้งกระบวนการปลูก การดูแล และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกจำหน่ายสร้างรายได้ อีกทั้งยังเปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาดูงาน ซึ่งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่นำฟักข้าวมาแปรรูปได้สำเร็จ และเป็นออร์แกนิค 100%

แปลงสาธิตการปลูกฟักข้าว สำนักงานชลประทานที่ 13

ผลฟักข้าว ลูกแดงๆ ใหญ่ๆ ใหญ่จะเท่าหน้าเราอยู่แล้ว

ผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากฟักข้าว ไม่มีวางจำหน่ายทั่วไป ต้องโทรสั่งเท่านั้น แอบขอเบอร์มาให้ด้วย คิคิ โทร 081-946-5745 คุณกิติยา เชื้อแถว LINE : kitiya  Facebook : กิติยา เชื้อแถว

น้ำฟักข้าว เพิ่งเคยดื่มครั้งแรก เปรี้ยวๆ อมหวาน

ตระเวนครบจบปุ๊บ หิวปั๊บ ติดวาร์ปกลับมาร้าน “กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง” อีกครั้งขอเติมพลังแบบจัดเต็ม จัดไป!!! กับเมนูยอดฮิตของสาวๆ ก็ส้มตำไง จะอะไรหล่ะ555  มื้อนี้มี ส้มตำข้าวโพด  ส้มตำปูไทย ลาบหมู ไก่ย่างขมิ้น คอหมูย่าง และข้าวผัดปู ขอบอกว่าอันสุดท้ายนี้เด็ดมากๆๆ ข้าวผัดปูผัดได้แห้ง เม็ดนุ่ม หอมกรุ่น เราสั่งมาจานใหญ่ กินกัน 3 คน หมดภายในพริบตาอย่างกับเล่นกล...

ร้านอาหารภายใน “กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง” มีอาหารให้เลือกทานหลากหลาย ที่สำคัญรสชาติอร่อย

ข้าวผัดปู อร่อยจริงอะไรจริง

ตำกันสดๆ แค่เห็นภาพน้ำลายไหลแว้วว

ออกจากครกมา หน้าตาก็น่าทานแบบนี้นาจา "ส้มตำปูไทย"

คอหมูย่าง

คอหมูย่าง

ส้มตำข้าวโพด

ไก่ย่างขมิ้น

พี่เอก และพี่ต่าย เชฟและเจ้าของร้าน ประวัติไม่ธรรมดา พี่เอก เคยทำอาหารในโรงแรมใหญ่ๆ มามากมาย และเป็นลูกศิษย์เชฟกระทะเหล็กอย่าง เชฟเอียน และเชฟจำนงค์ ส่วนพี่ต่ายเรียบจบด้านอาหารมาโดยตรง

มีข้าวสาร ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ตรา "ช่วยชาวนา" วางจำหน่ายที่ “กินลมชมเขื่อน@ท่าม่วง” ด้วย ใครมีโอกาสแวะไปอย่าลืมอุดหนุนนะคะ

น้ำนมข้าวโพด ก็มาจ้า

ขออีกสักช็อตก่อนไป อิอิ

หมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว

อิ่มท้องพร้อมเดินทางต่อ มองดูเวลาปาไปบ่ายสองแย้วว แต่คำนวณดูแล้วน่าจะแวะเที่ยวได้อีกสักหน่อยก่อนขึ้นไปพักที่เขื่อนศรีนครินทร์

เรามุ่งหน้าไปหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว อำเภอท่าม่วง ห่างจากเขื่อนแม่กลองราว 14  กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้เป็นแหล่งทอผ้ากี่กระตุก มี “ผ้าขาวม้าร้อยสี” ที่ขึ้นชื่อ ผู้คนมีความเป็นอยู่เรียบง่าย และยังใช้วิถีชีวิตแบบดั้งเดิม คนที่สนใจมาเรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่น และมาสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้ มีการสาธิตขั้นตอนทำนา การทำขวัญข้าว การปีนตาล การทำน้ำตาลสด ฯลฯ

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านหนองขาว วัดอินทาราม

ด้านในเป็นการจัดแสดงเครื่องมือเครื่องใช้ ประวัติความเป็นมา บ่งบอกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านหนองขาว ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต

จากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น บ้านหนองขาว วัดอินทาราม ขับรถต่อเข้าไปในหมู่บ้าน มี "พี่น้อย" ซึ่งเป็นผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นไกด์นำทาง มุ่งหน้าไป “บ้านเพลงผ้า” มาดูขั้นตอนการทอผ้า ตั้งแต่ขึ้นด้าย ขั้นตอนสำคัญก่อนนำไปทอเป็นผืนผ้า ไปทำผ้าขาวม้าร้อยสี

บ้านเพลงผ้า

ผ้าขาวม้าร้อยสี" มีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ลายตราจัก ซึ่งจะยกลายผ้า ตลอดผืน คุณภาพดี สีไม่ตก ไม่ซีด ดูแลรักษาง่าย

มาที่บ้านเพลงผ้าเราจะได้รู้ขั้นตอนวิธีการการขึ้นด้าย ที่ต้องอาศัยความชำนาญ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอนคือ 1. ผลัดหลอดหรือกรอด้าย 2. ตั้งลาย 3. ค้นด้าย เพื่อหาความยาวความกว้าง 4. ร้อยฟันหวี 5.หวีม้วน (เก็บความยาวให้เป็นม้วน) 6. การเก็บตะกอเขา  7. เก็บยก ก่อนจะถึงขั้นตอนการทอเป็นผืน

ขั้นตอนที่ 1 ผลัดหลอดหรือกรอด้าย

ขั้นตอนที่ 2 ตั้งลาย

ขั้นตอนที่ 3 การค้นด้าย คือ การกำหนดความกว้างยาวของด้าย

ขอลองดูบ้าง  เฮ้อ!! ถึงกับปาดเหงื่อ

จากนั้นเข้าสู่ขั้นตอนที่ 4 ร้อยฟันหวี ขั้นตอนที่ 5 หวีม้วน คือ การหวีเก็บความยาวเข้าม้วนและขั้นตอนที่ 6 การเก็บตะกอเขา

ปิดท้ายด้วยการเก็บยกก่อนนำไปผูกขึ้นกี่กระตุกเพื่อทอ

การทอกี่กระตุก

เห็นพี่เขาทอดูช่างง่ายดาย พอลองทอดูบ้าง มันไม่ใช่นะคะ ไม่ง่ายเลยค่ะมีปาดเหงื่อค่ะงานนี้

กระเป๋าน่ารักๆ เก๋ๆ ผลิตภัณฑ์จากผ้าขาวม้าร้อยสี นายแบบโดยพี่จั๊ว เจ้าของบ้านเพลงผ้าค่าาา

ออกจากบ้านเพลงผ้า เตรียมมุ่งหน้าสู่อำเภอศรีสวัสดิ์ แต่ขอเวลานอกแพร๊บ ระหว่างทางผ่านทุ่งนาเหลืองอร่าม เต็มไปด้วยต้นตาล ขับเลยผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้จริงๆ ขอชักภาพเก็บไว้เป็นที่ระลึก

เก็บภาพ สูดดมกลิ่นอายทุ่งหญ้าท้องนาพอชื่นใจ มุ่งหน้ายาวๆ ไปอำเภอศรีสวัสดิ์รออยู่ . . . ขับรถไปเกินครึ่งทาง สะดุดกับร้านกาแฟ 3199 café ตั้งอยู่ริมทาง บรรยากาศดูดีทีเดียวเชียว ไม่รีรอขอเลี้ยวรถแปะพักสายตาแพร๊พ

3199 café เปิดเวลา 8:00 - 19:00 น. โทร.091 193 3199

บรรยากาศนอกร้าน

บรรยากาศภายในร้าน

น้องหมีตัวใหญ่ยักษ์ น่าฟัดฝุดๆ

กาแฟ ICED 3199 เครื่องดื่ม Signature ของร้าน ความแตกต่างที่ลงตัว ชั้นบนสุด คือ ฟองนม ถัดมาคือ กาแฟ จากกาแฟลงไป คือ นม และล่างสุด คือไซรัป ส่วนการดื่มพี่เจ้าของร้านสะกิดบอกเบาๆ ว่าอย่าเพิ่งคน ให้ดูดขึ้นมา ให้ส่วนผสมมารวมกันในช่องปาก ก่อนกลืนลงคอ OMG มันช่าง wonderful มว๊ากกก 555

โกโก้เย็น สตรอว์เบอรี่โซดา กาแฟ ICED 3199

ขนมปังเนยนม ขนมปังลาวา (เนย + นม + โอวัลติน)

ออกจาก 3199 café คราวนี้ตรงยาวของจริง ป้ายหน้าคือ บ้านพักรับรองเขื่อนศรีนครินทร์ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

ขับรถมาอีกอึดใจหนึ่งก็ถึงจุดหมายปลายทาง หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง อากาศยามค่ำคืนเย็นสบาย เงียบ สงบ ขอหลบไปพักก่อนนาจา พรุ่งนี้พร้อมลุย เดินทางตามรอยพ่อกันต่อไป ฝันดีราตรีสวัสดิ์ ZZzzz

 

อัลบั้มภาพ 76 ภาพ

อัลบั้มภาพ 76 ภาพ ของ ๙ ตามรอยพ่อ – กินลมชมเขื่อนแม่กลอง เยือนหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้