มนต์เสน่ห์แห่งเมืองปราสาทหิน "เขาพนมรุ้ง" จ.บุรีรัมย์
สวัสดีครับ วันนี้ สนุก ! ท่องเที่ยว จะพาไปจังหวัด บุรีรัมย์ เมืองที่ใครๆต้องรู้จักเพราะนอกจากมีชื่อเสียงด้านกีฬาแล้ว ด้านการท่องเที่ยวในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมมากอีกด้วย
บุรีรัมย์ ณ ตอนนี้คงเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เพราะนอกจากจะมีสนามฟุตบอลใหญ่ยักษ์ระดับโลกบรรจุคนได้กว่าเกือบ 30,000 คนแล้วนั้น...
ยังมีความขลังและมนตราแห่งสุริยวรมันที่เป็นเสน่ห์ของจังหวัดบุรีรัมย์แห่งนี้
วนํรุง (วนัมรุง) หรือ พนมรุ้ง แปลว่า ภูเขาใหญ่ มาจากภาษาเขมร และเรื่องราวของ “ปราสาทหินพนมรุ้ง” ได้ถูกกล่าวขานจนกลายเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของถิ่นอีสานใต้
ซึ่งปราสาทหินพนมรุ้งนั้น ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง เป็นปากปล่องภูเขาไฟที่ดับสนิทแล้ว อยู่ในพื้นที่บ้านตาเป๊ก อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์
เป็นโบราณสถานในศิลปะเขมรโบราณที่ยังมีความสมบูรณ์และยังคงความงดงาม มีภูมิทัศน์ที่สวยงาม
ปราสาทหินพนมรุ้ง ยังมีปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่พระอาทิตย์ขึ้นและตกแสงอาทิตย์สาดส่องทะลุ 15 ช่องประตูของปราสาทหินพนมรุ้ง ทุกๆ ปีจะมีปรากฏการณ์ดังกล่าว 4 ครั้ง
ปราสาทหินพนมรุ้ง สร้างขึ้นในศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ดังนั้นเขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาสที่ประทับของเทพพระศิวะ
ปราสาทประธาน ก่อด้วยหินทรายสีชมพู เชื่อกันว่าสร้างโดย พระเจ้านเรนทราทิตย์ เป็นผู้นำการปกครองชุมชนที่มีปราสาทพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ภายในตรงกึ่งกลาง เรียกว่า "ห้องครรภคฤหะ"
เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดคือ "ศิวลึงค์" ซึ่งแทนองค์พระศิวะ
สิ่งสำคัญอีกอย่างของปราสาทหินพนมรุ้ง ก็คือภาพสลัก พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ทรงอยู่ที่ทับหลังของมณฑป ด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานปราสาทหินพนมรุ้ง
ซึ่งได้สูญหายไปตั้งแต่ปี 2507-2508 ต่อมามีผู้ไปพบที่สถาบันศิลปะนครชิคาโก สหรัฐอเมริกา ในสภาพลวดลายขอบขวาของทับหลังถูกกะเทาะออกไปครึ่งหนึ่ง
รัฐบาลไทยได้ใช้ความพยายามทุกวิถีทางที่จะขอ “ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์” กลับมาเมืองไทย จนในที่สุดก็ได้ รับคืนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2531
การเดินทางไปที่อุทยานปราสาทพนมรุ้ง
สามารถเลือกเดินทางได้ 2 เส้นทางออกจากตัวจังหวัดบุรีรัมย์ ดังนี้
1.ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้าย ไปตามทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 24(สีคิ้ว-อุบลราชธานี)
ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
2.ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะ
อัลบั้มภาพ 48 ภาพ