JAPAN ON A BUDGET เที่ยวญี่ปุ่นไม่แพงอย่างที่คิด ตอนที่1 JAPAN BUS PASS ทางเลือกคนงบน้อย

JAPAN ON A BUDGET เที่ยวญี่ปุ่นไม่แพงอย่างที่คิด ตอนที่1 JAPAN BUS PASS ทางเลือกคนงบน้อย

JAPAN ON A BUDGET เที่ยวญี่ปุ่นไม่แพงอย่างที่คิด ตอนที่1 JAPAN BUS PASS ทางเลือกคนงบน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

PicsArt_1442046335953PicsArt_1442043981525

ที่บอกว่าไม่แพง นี่คือใช้เงินไป 15,000 บาท รวมทุกอย่างแล้วนะ ตั๋วเครื่องบิน, ที่พัก, ค่าเดินทาง, อาหาร, ขนม, ค่าเข้าที่เที่ยวทุกอย่าง แต่ไม่รวมของช๊อปปิ้ง ถ้ารวมช๊อปของเราก็สองหมื่นกว่า เอาเป็นว่ามีเงินหมื่นห้า ไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ แบบกินอร่อย เที่ยวสนุก แค่ทรหดนิดหน่อย55

ทริปนี้เริ่มมาจากตั๋วโปร AirasiaX ไปกลับนาริตะ ราคา 3,133 บาท ต่อคน อดใจไม่ไหวต้องเบนเข็มจากไต้หวันที่รักมาญี่ปุ่นแทน พอจองตั๋วได้แล้ว ก็มาศึกษาพาส JRต่างๆ พบว่าอะไรก็แพ้งงงแพง ข้ามภาคนี่บินไปบินกลับไทยอีก 2 รอบ ยังได้ เลยตัดใจจะเที่ยวแค่แถบโตเกียว (Kanto) หรืออย่างมากก็คงไป Nikko แต่ในใจก็อยากไปหาเพื่อนที่โอซาก้าด้วย

ลองเปิดดูราคา night bus Tokyo-Osaka ช่วงที่ไปราคาเริ่มที่ 5,000 yen เก้าอี้ดีๆนอนสบายหน่อยก็ตั้ง 7,800 (ราคาบัสที่ญี่ปุ่นจะคิดราคาเหมือนตั๋วเครื่องบินคือช่วงที่ความต้องการเยอะจะแพง ช่วง low จะถูกหน่อย ยิ่งใกล้เดินทางยิ่งแพง แต่ละวันราคาไม่เท่ากันเลย) โชคดีที่ตาเราเหลือบไปเห็นโฆษณา Japan bus pass 3 วัน ราคาแค่ 10,000 yen !! เอาวะ นานๆไปญี่ปุ่นที ไปที่อยากไปให้หมดเลยละกัน

แผนจบที่ โตเกียว, เกียวโต, โอซาก้า, ฮิโรชิมา จ้า

ทริปนี้เรามีเวลา 9 วัน 8 คืน แผนของเราคือ

คืนแรกค้างที่ Tokyo

คืนที่ 2 นอนบนบัสจาก Tokyo ไป Kyoto

คืนที่ 3, 4 ค้าง Kyoto แล้วนั่งรถไฟไป Osaka

คืนที่ 5 นอนบนบัสจาก Osaka ไป Hiroshima

คืนที่ 6 ค้าง Hiroshima

คืนที่ 7 นอนบนบัสจาก Hiroshima ไป Tokyo

คืนที่ 8 ค้าง Tokyo

เลือกรอบรถไว้ พอวันจองจริงๆโอซาก้าฮิโร ขึ้นราคาเป็น4,700 ดีนะใช้พาส
เลือกรอบรถไว้ พอวันจองจริงๆ Osaka - Hiroshima ขึ้นราคาเป็น 4,700 yen ดีนะใช้พาส

ได้แผนแล้วก็เตรียมซื้อบัสพาส, จองรถ, จ่ายตัง ผ่านทางเว็บเลย สะดวกมาก ปริ้นเอกสารคอนเฟิร์มไว้ไปให้เจ้าหน้าที่ดูด้วย แต่เค้าไม่ตรวจของเราเลยซักรอบนะคะ

เที่ยวแรกเราขึ้นจาก Tokyo ท่ารถอยู่แถว Shinjuku เลย จะมีห้องให้นั่งรอต้องไปที่ห้องนี้ก่อนใกล้เวลาออกรถเจ้าหน้าที่ถึงจะเรียกไปขึ้นรถ ที่โอซาก้าก็คล้ายๆชินจูกุ พิเศษที่มี powder room ให้ผู้หญิงถอดคอนแทคเลนส์, เช็ดเครื่องสำอาง, ล้างหน้า มีสำลีกับไม้พันสำลีเตรียมไว้ให้ด้วย  แต่ที่ฮิโรชิมาจะไม่มีท่ารถแบบนี้นะ จะเป็นเหมือนป้ายรถเมล์มีคุณป้าคนนึงถือป้าย willer มายืนรออยู่ บ้านๆดีนะ ชอบบ55 แต่ข้อเสียคือ จะไม่มีห้องน้ำ ต้องจัดการชีวิตให้เรียบร้อยก่อนมารอที่ป้ายรถ

หน้าตารถ ถ่ายตอนเช้าที่เกียวโตแล้ว สังเกตหน้ารถมีป้ายไฟบอกสถานีด้วยนะ
หน้าตารถ ถ่ายตอนเช้าที่เกียวโตแล้ว สังเกตหน้ารถมีป้ายไฟบอกสถานีด้วยนะ
ภายในรถ
เก้าอี้สีฟ้าคือ Relaxwide บัสพาสเลือกไม่ได้ ได้ Relax(new)สีชมพูด้านหลังแทน
อันนี้ที่นั่งแบบRelax(extra space) ช่วงวางขากว้างมาก เหมาะกับคนขายาว แต่ไม่จำเป็นสำหรับเรา55
อันนี้ที่นั่งแบบ Relax(new) ช่วงวางขากว้างอยู่นะ
Willer
สู้ตาย พร้อมนอนค่า

เรานอนบนบัสทั้งหมด 3 คืน อาจฟังดูโหด ก่อนไปเราก็แอบกังวล ทำประกันการเดินทาง+เตรียมยาไปพร้อมมาก กลัวป่วย แต่ไปจริงๆ เราหลับบนรถบัสสบายมากๆ ขึ้นรถปุ๊ปพร้อมนอนทันที ตื่นอีกทีปลายทาง พร้อมเที่ยวต่อเลย สังเกตว่าเราไม่วางแผนให้นอนบนบัสติดกันนะ จะต้องมีพักสบายๆคั่นอย่างน้อย 1 คืน วิธีนี้ได้ผลนะ ตื่นมาแต่ละวันก็เที่ยวได้เต็มที่ ไม่มีป่วย จบทริปนี้ก็ถือว่าสบายๆสำหรับเรา กลับมาถึงไทยก็ต่อเครื่องกลับบ้านนอก ทำงาน+ขึ้นเวรต่อทันที (อันนี้โหดกว่าเยอะ)

ทำไมต้องทรหดขนาดนี้? เราคิดว่า พอแก่ไปคงไม่มีโอกาสได้เที่ยวลุยๆแบบนี้แล้ว ตอนนี้แข็งแรงดีก็เอาให้เต็มที่ เก็บเงินไว้สำหรับทริปต่อไปดีกว่า ^^

ปกติเที่ยวญี่ปุ่นใครๆเค้าก็ใช้ JR RAIL PASS กัน ไม่เคยเห็นใครใช้ BUS PASS มาก่อน มารู้จักกันหน่อยเนาะ

buspass_mainsplash

http://willerexpress.com/st/3/en/pc/buspass/

Japan bus pass คืออะไร?

พาสที่ทำให้เรานั่งรถบัสไปไหนก็ได้ ในกว่า 20 เส้นทาง ทั่วญี่ปุ่น ภายในช่วงเวลา 2 เดือนหลังจากซื้อพาส

มีให้เลือก 2 แบบ คือ 3 วัน ราคา 10,000 yen (3 วันไหนก็ได้ภายในเวลา 2 เดือน ไม่จำเป็นต้องติดกัน)

และ 5 วัน 15,000 yen (5 วันไหนก็ได้ภายในเวลา 2 เดือน ไม่จำเป็นต้องติดกัน)

ไปไหนได้บ้าง?

Tokyo⇔Osaka, Kyoto

Tokyo⇔Nagoya

Tokyo⇔Niigata

Tokyo⇔Akita

Tokyo⇔Yamagata

Tokyo⇔Aomori

Tokyo⇔Kanazawa

Tokyo⇔Okayama

Tokyo⇔Hiroshima

Tokyo⇔Matsue

Osaka, Kyoto ⇔Niigata

Osaka, Kyoto ⇔Shizuoka

Osaka, Kyoto ⇔Hiroshima

Osaka, Kyoto ⇔Matsuyama

Osaka, Kyoto ⇔Fukuoka

Osaka⇔Nagoya

Tokyo⇔Nagano

Tokyo⇔Sendai

เส้นทางน่าสนใจเยอะมากเลยเนาะ เที่ยวญี่ปุ่นรอบหน้าก็จะใช้บัสพาสอีกแน่นอนน

ตัวอย่างการใช้บัสพาสให้คุ้มโคตรๆ

Screenshots_2015-09-12-11-59-18

Screenshots_2015-09-12-11-59-45

ข้อดีของ bus pass

-เที่ยวได้หลายภาค ในราคาประหยัดกว่าซื้อตั๋วบัสแยกเที่ยวเยอะมากกก และราคาถูกว่า jr pass หลายเท่า

อย่างทริปนี้ ถ้าเราไม่ใช้บัสพาส ต้องจ่ายเงินทั้งหมด 7,800 + 4,700 + 9,900 = 22,400 yen!!! แต่เราจ่ายไปแค่ 10,000 yen เท่านั้น

-สามารถนั่ง night bus ได้ แค่นอนบนบัส 1 คืน ตื่นมาก็ถึงที่หมายของเราแล้ว ประหยัดเวลาเดินทาง และค่าโรงแรมไปได้เยอะเลย

-เลือกชนิดที่นั่งได้หลายแบบ ราคาแพงสุดคือ RELAX with extra spacious seats

- บนรถบัสมีสิ่งอำนวยความสดวกหลายอย่างให้ใช้ฟรี เช่น ปลั๊กไฟ ,ผ้าห่ม

-รถจอดแวะพักให้เข้าห้องน้ำ ยืดเส้นยืดสาย ทุก 2 ชั่วโมง (แต่เราหลับตั้งแต่ขึ้นรถยันลงรถ ไม่เคยรู้ตัวเลยว่าจอด)

ข้อเสีย

-ไม่เหมาะกับคนนอนหลับยาก เพราะคุณอาจไม่ได้หลับตลอดคืน และถึงที่หมายแบบซอมบี้

-ไม่เหมาะกับคนเมารถง่าย เพราะต้องอยู่บนรถนาน ใช้เวลาเดินทางนาน

-ไม่เหมาะกับคนปวดฉี่บ่อย เพราะบางคันไม่มีห้องน้ำ 2 ชั่วโมงแวะพักให้เข้าห้องน้ำทีนึง

-เหมาะกับคนมีเวลาเที่ยวหลายวันหน่อย ควรมีเวลาพักผ่อนในแต่ละที่หลายๆวันยิ่งดี

-บางวันคนที่ไปด้วยบ่นว่าแอร์ไม่เย็น ร้อนจนนอนไม่หลับ (เราไม่รู้สึกเลย ห่มผ้านอนหลับสบาย)

TIPs

-ปลั๊กไฟบางคันจะเป็นแบบ safety หมุนปิดรูไว้อัตโนมัติ เวลาเสียบลงไปได้นิดนึงต้องบิดหมุน90° ถึงจะเสียบลงต่อได้

ปลั๊กไฟ

-พกหมอนรองคอมาด้วยจะช่วยให้หลับสบายขึ้น ไม่คอพับคออ่อน ตื่นมาไม่เมื่อยคอ (มาซื้อที่ญี่ปุ่นเลยก็ได้ ช่วงเราไป Muji ลดราคาพอดี ได้มาใบละ 1,064 yen เอง ถูกมากกก)

หมอนรองคอMUJI
มีหลังคาส่วนตัวแต่ละที่นั่งด้วย เลิฟๆ คนคิดได้แรงบรรดาลใจมาจากหลังคารถเข็นเด็ก?

-ไม่ควรวางแผนนั่ง night bus ติดกัน 2 คืน ควรพักในแต่ละที่หลายคืนหน่อย

-คนญี่ปุ่นไม่นิยมปรับเบาะเอนนอนมาก ถึงแม้ว่าเบาะจะเอนนอนได้เยอะก็ตาม ควรขออนุญาติคนข้างหลังก่อนปรับเบาะ

บล็อกหน้าจะมาสรุปทริปนี้ให้นะคะ และจะตามมาอีกหลายตอน^^

ติดตามได้ทาง http://travel.sanook.com/blog/author/earnonabudget/

แวะมาคุยกันได้ที่เพจ www.facebook.com/earnonabudget ค่า

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook