ทำความรู้จัก “Priority Seat” เก้าอี้ตัวนี้..ไม่ใช่ใครก็นั่งได้

ทำความรู้จัก “Priority Seat” เก้าอี้ตัวนี้..ไม่ใช่ใครก็นั่งได้

ทำความรู้จัก “Priority Seat” เก้าอี้ตัวนี้..ไม่ใช่ใครก็นั่งได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถ้าสังเกตดีๆ บนรถเมล์ รถไฟฟ้า หรือรถใต้ดิน รวมถึงในสนามบิน จะมีที่นั่งพิเศษหรือที่เรียกว่า “Priority Seat” ไว้สำหรับบริการบุคคลกลุ่มพิเศษที่ต้องได้รับการดูแลโดยเฉพาะ เช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ คนชรา ผู้พิการและพระสงฆ์  โดยจะมีสติ๊กเกอร์ติดไว้เป็นสัญลักษณ์อย่างชัดเจน 

Priority Seat ใช้ยังไง เมื่อไหร่ดี?

ต้องบอกก่อนว่า.. Priority Seat  ในเมืองไทยจะเป็นเก้าอี้ที่ไว้ให้บริการแก่ เด็ก สตรี คนชรา พระสงฆ์ ผู้พิการ ดังนั้นถ้าเห็นผู้โดยสารที่อยู่ในกลุ่มนี้เข้ามาใช้บริการ.. เราก็ควรลุกให้เขานั่งทันที แต่ถ้าหากไม่มี เราก็สามารถนั่งได้ ซึ่งตัวเราเองก็ต้องคอยหมั่นสังเกตว่าคนกลุ่มนี้ขึ้นมารึเปล่า

นอกจากนี้เก้าอี้ตัวอื่นๆ เราก็สามารถลุกให้บุคคลกลุ่มนี้ได้เช่นกัน ถือว่าเป็นน้ำใจเล็กๆ น้อยๆ เจอใครเจ็บป่วย แขนหักมา ก็ลุกขึ้น หยิบยื่นน้ำใจกันได้ 
เก้าอี้ Priority ในสนามบินก็มีเช่นกัน วิธีการใช้ก็เหมือนกับที่อื่นๆ 

 ahr0cdovl3azlmlzyw5vb2suy29tl

มารยาทเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการใช้รถสาธารณะ… 

1. ก่อนเข้าหรือออกจากขบวนรถ ควรงดเล่นมือถือ

เพราะระหว่างที่คุณกำลังกดมือถือสมาธิของคุณก็จะจดจ่ออยู่กับบนหน้าจอ โดยไม่รู้ว่า ข้างหลังยังมีคนตามมาอีกเพียบ ซึ่งทุกคนต่างมีความเร่งรีบกันทุกคน 

2. งดใช้เสียงดัง

คุยกันด้วยระดับเสียงพองาม เอาพอคุยกันรู้เรื่อง ไม่ต้องเผื่อแผ่จ้ะ 

3. ระหว่างเดินทาง ควรงดรับความบันเทิงสักแป๊บ 

ระหว่างยืนในขบวนรถควรงดเล่นมือถือ ดูคลิป เล่นเกม เพราะในขณะที่คุณยื่นมือออกมาเล่นเนี่ย ที่ตรงนั้นสามารถให้ผู้โดยสารท่านอื่นเข้ามายืนได้อีกตั้ง 1 คน 

4. อย่าพิงเสา 

เสา 1 ต้น ไม่ใช่ต่อ 1 คน ต้องแบ่งกันใช้ 

5. อย่ายืนขวางทางเข้าออก และห้ามแซง

อย่ายืนขวางทางเข้าออก ควรยืนอยู่ตรงตำแหน่งหลังลูกศรที่กำหนดไว้ไม่ว่าจะด้านซ้ายหรือด้านขวา ไม่ใช่ตรงกลางประตู ทั้งนี้การให้ความสำคัญกับสัญลักษณ์ต่างๆ บนสถานี ก็เพื่อความปลอดภัยต่อตนเองและเพื่อนร่วมทาง

จริงๆ เรื่องที่กล่าวมาก็ไม่ได้เป็นอะไรที่ร้ายแรงถึงขั้นต้องออกกฎระเบียบ เพื่อมาบังคับใช้กัน แต่แค่อยากให้ทุกคนได้ลองสังเกตผู้คนรอบข้าง.. อยากให้ทุกคนได้ร่วมกันแบ่งปันน้ำใจ ความรู้สึกดีๆ ให้กัน แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่การเป็นผู้ให้หรือเป็นผู้รับ ก็อาจทำให้เราได้ยิ้มและรู้สึกดีไม่ใช่น้อย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook