6 มาตรการป้องกันอุบัติภัยที่นักท่องเที่ยวชาวไทยอยากให้มี

6 มาตรการป้องกันอุบัติภัยที่นักท่องเที่ยวชาวไทยอยากให้มี

6 มาตรการป้องกันอุบัติภัยที่นักท่องเที่ยวชาวไทยอยากให้มี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิด้าโพล เผยผลสำรวจ มุมมองของประชาชน ต่อมาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทยที่อยากให้มี โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,268 หน่วยตัวอย่าง จากการสำรวจเมื่อถามถึง มาตรการป้องกันอุบัติภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ชาวไทยอยากให้มี สามารถสรุปได้ออกมาเป็น 6 มาตราการ ดังนี้

1.มีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย

life-belt-498453_960_720-630x

ประชาชนร้อยละ 52.68 อยากให้มีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย โดยหลักเบื้องต้นของการเอาตัวรอดเมื่อประสบอุบัติภัย ในกรณีที่หลงทางอยู่ในถ้ำหรือติดอยู่ในถ้ำ สามารถทำได้ด้วยการทำเครื่องหมายเส้นทางที่เดินผ่านมา ตั้งสติ และหากมีเพื่อนไปด้วยหลายคน ก็ควรจะอยู่รวมตัวกันเอาไว้ ซึ่งการติดอยู่ในถ้ำควรทำตัวให้แห้งและอบอุ่น จัดเตรียมแบ่งเสบียงให้ดี เพราะไม่รู้ว่าจะติดอยู่กี่วัน ที่สำคัญคือควรประหยัดแบตเตอรี่เอาไว้ด้วย เพื่อส่องนำทางและป้องกันสัตว์มีพิษ ส่วนการเอาตัวรอดจากกรณีเรือล่มนั้น ทางออกที่ง่ายที่สุดคือด้านข้างของเรือ ซึ่งหากพบความผิดปกติต้องรีบแจ้งผู้ควบคุมเรือทันที และที่สำคัญก็คืออย่าเข้าไปช่วยเหลือคนอื่นแบบตัวเปล่า

2.เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยว

sea-1604815_960_720-629x420

ประชาชนร้อยละ 51.42 อยากให้มีการเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยว ดูแลเรื่องความปลอดภัย คอยให้ข้อมูลคำแนะนำด้านการท่องเที่ยว รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์จากนักท่องเที่ยว และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ และแก้ไขปัญหาให้กับนักท่องเที่ยว โดยเจ้าหน้าที่ควรจะมีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก และมีความสามารถในการสื่อสารภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน หรือภาษาอื่น ๆ ที่เป็นตลาดนักท่องเที่ยวของประเทศไทย

3.ติดป้ายเตือนอุบัติเหตุ / อุบัติภัย

sign-1732791_960_720-696x522

ประชาชนร้อยละ 49.84 อยากให้มีการติดป้ายเตือนอุบัติเหตุ / อุบัติภัย อย่างชัดเจนและจริงจัง ป้ายเตือนที่ติดอยู่ตามแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ควรเป็นป้ายที่สามารถสังเกตได้ชัดเจน ตัวหนังสือไม่เลือนลาง มีหลากหลายภาษาทั้งไทย อังกฤษ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อความปลอดภัยและป้องกันการเข้าใจผิดของนักท่องเที่ยว โดยป้ายเตือนควรจะมีอยู่ในหลายจุด เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นได้อย่างทั่วถึง และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ประโยชน์ของการติดป้ายเตือน คือช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งยังห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวทำผิด หรือทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมได้ด้วย

4.จัดทีมสำรวจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด

cave-1456096_960_720-630x420

ประชาชนร้อยละ 23.90 อยากให้มีการจัดทีมสำรวจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ เพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังสถานที่นั้น ๆ มีการเตรียมตัวและเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ ทั้งยังเป็นการสอดแทรกความรู้ให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงผู้ที่สนใจในสถานที่ท่องเที่ยวนั้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดไปสู่การศึกษาประวัติศาสตร์ด้านต่าง ๆ ได้อีกหลากหลาย เช่น ธรณีวิทยา โบราณคดี เป็นต้น

5. จัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว

map-846083_960_720-630x420

ประชาชนร้อยละ 23.42 อยากให้มีการจัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว เพราะแผนที่มีความสำคัญคือ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารเดินทางไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ได้แบบไม่พลัดหลง แผนที่ก็คือรูปภาพอย่างง่ายซึ่งจำลองบริเวณหนึ่ง และมีการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น วัตถุ หรือส่วนย่อยที่อยู่ในบริเวณนั้น องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่าง ๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ชื่อแผนที่ ขอบระวาง ทิศทาง สัญลักษณ์ และมาตราส่วนซึ่งแผนที่มีความจำเป็นต่อนักท่องเที่ยว ในเรื่องที่จะทำให้รู้จักสถานที่ท่องเที่ยวได้ง่าย สะดวกในการวางแผนการเดินทาง หรือเลือกสถานที่ท่องเที่ยวตามความเหมาะสม

6. จำกัดอายุนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ

adventure-2548133_960_720-696

ประชาชนร้อยละ 12.46 อยากให้มีการจำกัดอายุนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ปัจจุบันพฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนไทย หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย มักจะเดินทางกันมาเป็นกลุ่ม ทั้งกลุ่มครอบครัว และกลุ่มเพื่อน โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติที่สวยงามอย่าง ทะเล ภูเขา น้ำตก ถ้ำในประเทศไทย ก็มีอยู่มากมายในหลายจังหวัด ซึ่งแน่นอนว่าภายใต้ความสวยงามนั้น มีอันตรายซ่อนอยู่เสมอ อย่างเช่น การเที่ยวน้ำตก ที่ไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี หรือผู้สูงอายุเกิน 50-60 ปี ลงเล่นน้ำหรือไปปีนป่ายตามโขดหิน เพราะเสี่ยงต่อการจมน้ำและลื่นล้มได้ ด้วยเหตุนี้เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาตบางแห่ง จึงควรที่จะต้องจำกัดอายุนักท่องเที่ยวด้วย

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ

อัลบั้มภาพ 6 ภาพ ของ 6 มาตรการป้องกันอุบัติภัยที่นักท่องเที่ยวชาวไทยอยากให้มี

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook