ลุยเดี่ยว เที่ยวมาชูปิกชู (ตอนแรก)

ลุยเดี่ยว เที่ยวมาชูปิกชู (ตอนแรก)

ลุยเดี่ยว เที่ยวมาชูปิกชู (ตอนแรก)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

มาชูปิกชู ใจกลางจักรวรรดิ “อินคา” ที่ยิ่งใหญ่มากในละตินอเมริกา

ไม่ใช่ วงดนตรี “อินคา” ที่คนไทยชอบฟังเพลง “หมากเกมนี้” “ยิ่งใกล้ยิ่งเจ็บ” ฮิๆ

มาชูปิกชู ตั้งอยู่ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองกุสโก ประเทศเปรู

101020335-594x594

ในยุครุ่งเรือง เฟื่องฟู พีคถึงขีดสุด “จักรวรรดิอินคา” กระจายแสนยานุภาพทางการทหาร ออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ครอบคลุมพื้นที่กว่า 5,000 ตารางกิโลกเมตร จากจุดศูนย์กลางอำนาจรัฐ

เริ่มต้นที่ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกาใต้ตลอดแนว ตั้งแต่ตอนเหนือของประเทศเอกวาดอร์เลาะลงไปถึงตอนใต้ของประเทศชิลี

พื้นที่อำนาจรัฐเกือบ 6,000 ตารางกิโลกเมตรนี้ สามารถเปรียบเทียบขนาดได้กับความกว้างไกลของดินแดนประเทศสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งหมด

มาชูปิกชู สร้างขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 15 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงเกือบ 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล

ในยุคโบราณ มาชูปิกชู มีความเร้นลับมาก เนื่องจากเข้าถึงได้เพียงทางเดียวคือการปีนเทือกเขาแอนดีสที่สูงใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นไป

ความเร้นลับของ มาชูปิกชู เกิดขึ้นด้วยความชาญฉลาดในการเลือกชัยภูมิที่ตั้งของเมือง รวมไปถึงการวางผังเมืองให้สอดคล้องกับธรรมชาติ และเอื้อต่อการดำรงชีพของชาว “อินคา” มันจึงหลบซ่อนสายตาศัตรูได้เป็นอย่างดีนั่นเอง

dscf9855copy

แต่แล้ว มาชูปิกชู ได้กลายเป็นเมืองสาบสูญไปในช่วงศตวรรษที่ 16 เมื่อ “จักรวรรดิอินคา” ต้องล่มสลายด้วยการขยายอำนาจของนักล่าอาณานิคมหมายเลขหนึ่งคือ “สเปน”

ทว่า มาชูปิกชู ได้กลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง จนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวในฝันของนักเดินทางจากทั่วโลกในปัจจุบัน หลังถูกค้นพบโดยบังเอิญ จากฝีมือของ Hiram Bingham ในปี ค.ศ.1911

มาชูปิกชู ตั้งอยู่ห่างจากเมืองกุสโก ประเทศเปรู ออกไปราว  70 กิโลเมตร

ด้วยความที่ประเทศเปรูเป็น 1 ใน 29 ประเทศที่ผู้ถือพาสปอร์ตไทยได้รับการยกเว้น VISA ดังนั้น คนไทยสามารถ ลุยเดี่ยว เที่ยวมาชู ได้อย่างสบายอุรา

ขอเพียงมีเงินในกระเป๋าสักสองหมื่นก็เพียงพอต่อการพำนักพักอาศัยที่มาชูปิกชูได้เกือบครึ่งเดือนเลยทีเดียว

แม้ว่า การค้นพบมาชูปิกชูจากฝีมือของ Hiram Bingham ในปี ค.ศ.1911 จะหลงเหลือเพียงสิ่งปรักหักพัง แต่ก็ยังเป็นซากที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ

หากเราพิจารณาสิ่งปลูกสร้างกว่า 200 สถานที่ของมาชู ปิกชู เราจะเห็นถึงรูปแบบฝีไม้ลายมือการวางผังเมืองที่เยี่ยมยอดของชาว “อินคา”

ไม่ว่าจะเป็นระบบประปา ซึ่งถือว่าเป็นวิศวกรรมชั้นสูง โดยเฉพาะการทำเกษตรกรรมบนยอดภู

นอกจากนี้ มาชูปิกชู ยังโดดเด่นในด้านสถาปัตยกรรม อาทิ ศูนย์กลางปะรำทางศาสนพิธี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รูปลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่เชื่อมโยงกับดาราศาสตร์

ดังนั้น สิ่งปลูกสร้างทั้งหมดบนมาชู ปิกชู จึงถูกสร้างด้วยหินก้อนวางเรียงต่อๆ กันเหมือนจิ๊กซอว์ หรือตัวต่อเลโก้ ซึ่งสามารถถอดประกอบกันได้

หากเราได้ไปเห็น จะพบการวางหินที่ลดหลั่นลงมาเป็นชั้น ๆ ตามแนวเชิงเขา ในลักษณะขั้นบันไดหลายพันขั้นเป็นทางเดินที่เชื่อมต่อกันทั้งอาณาจักร

ทำให้เกิดจุดชมวิวแบบพาโนรามา ที่สามารถมองเห็นภูเขาน้อยใหญ่ที่อยู่โดยรอบ และยังแลเห็นเส้นทางของถนนคดเคี้ยวลัดเลาะเหยาะย่างตามเชิงเขา

โดยเฉพาะฉากสำคัญที่สวยสดงดงามของแม่น้ำ “อูรูบัมบา” ที่ไหลผ่านตามแนวเซาะซอนซอกหลืบของภูเขาอย่างวิจิตรพิสดาร

ไม่เพียงเท่านั้น หากโชคดีเดินๆ อยู่บนไหล่เขา เราก็ยังอาจจะได้พบกับเจ้าอัลปาก้าและเจ้าลามา คู่พระนางตัวเอกของมาชูปิกชู ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเทือกเขาแอนดีส ซึ่งมักจะมาออกมาเดินนวยนาดรับประทานหญ้าจิบน้ำค้างยามเช้า โชว์สัดส่วนแบบตัวเป็นๆ ให้เราได้รับชมกันฟรีๆ อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook