บ้านปลายเนิน: เยี่ยมชมขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวท่ามกลางตึกสูง

บ้านปลายเนิน: เยี่ยมชมขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวท่ามกลางตึกสูง

บ้านปลายเนิน: เยี่ยมชมขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวท่ามกลางตึกสูง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บ้านปลายเนิน: เยี่ยมชมขุมทรัพย์ทางประวัติศาสตร์ที่ซ่อนตัวท่ามกลางตึกสูง

ย่านคลองเตยถูกรู้จักในฐานะที่เป็นย่านที่อยู่อาศัยและอาคารสำนักงานที่พร้อมสรรพไปด้วยความสะดวกสบายสไตล์คนเมือง  ทว่า ณ มุมหนึ่งห่างจากสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินคลองเตยเพียงไม่กี่ร้อยเมตร มีสถานที่ทางประวัติศาสตร์แสนล้ำค่าซึ่งตั้งตระหง่าน แวดล้อมไปด้วยแมกไม้ร่มรื่น อยู่ห่างจากสถานีรถไฟใต้ดินคลองเตยเพียงไม่กี่ร้อยเมตรเท่านั้น สถานที่แห่งนั้นคือ “วังคลองเตย” หรือที่รู้จักกันในชื่อ บ้านปลายเนิน พระตำหนักส่วนพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์หรือ “สมเด็จครู” – หนึ่งในบุคคลสำคัญที่มีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและอัตลักษณ์ความเป็นชาติไทยมาอย่างยาวนาน

ตำหนักตึกในบ้านปลายเนินตำหนักตึกในบ้านปลายเนิน

“นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม” ศิลปินผู้มากความสามารถ ต้นราชสกุลจิตรพงศ์ 

สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๖๒ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดีหลายกระทรวงในรัชสมัยของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

นอกเหนือจากความสามารถในด้านการบริหารราชการ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ยังทรงมีพระปรีชาสามารถในวิทยาการหลายแขนง  เช่น  ดนตรี  อักษรศาสตร์  ประวัติศาสตร์  งานช่าง  และทรงมีผลงานสำคัญในด้านการช่างและศิลปะมากมาย เช่น งานภาพลายเส้นทศชาดก ทรงออกแบบตาลปัตรพัดยศ เช่น พัดดำรงธรรม เฟรสโก้ หรือภาพปูนเปียกพระเวสสันดรชาดก บนฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดราชาธิวาส  เฟรสโก้พระอาทิตย์ชักรถบนเพดานห้องทรงเขียน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และยังได้ทรงวาดภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ซึ่งได้กลายมาเป็นตราสัญลักษณ์ของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน

จิตรกรรมบนผนังวัดราชาธิวาสจิตรกรรมบนผนังวัดราชาธิวาส

“บ้านปลายเนิน” จากที่ประทับส่วนพระองค์สู่การเป็นมรดกล้ำค่าทางประวัติศาสตร์

ด้านหน้าของตำหนักไทยในบ้านปลายเนินด้านหน้าของตำหนักไทยในบ้านปลายเนิน

แต่เดิมนั้น บ้านปลายเนิน ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นพระตำหนักสำหรับพักตากอากาศ ถูกสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี 2457 สถานที่แห่งนี้เป็นอาณาบริเวณที่ศิลปินต่างยุค ต่างวัฒนธรรมทำงานร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ รวมถึงสถาปัตยกรรมร่วมสมัย หนึ่งในนั้นคือ คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) หรือ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี  ประติมากรชาวอิตาเลียนสัญชาติไทยจากเมืองฟลอเรนซ์  ผู้ก่อตั้งและทำหน้าที่เป็นอาจารย์ผู้สอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ซึ่งภายหลังได้รับการยกฐานะให้เป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร

ทางเสด็จในบ้านปลายเนิน ทางเสด็จในบ้านปลายเนิน

ปัจจุบัน บ้านปลายเนินเป็นที่อยู่อาศัยของพระทายาทในราชสกุลจิตรพงศ์ ซึ่งได้วางผังแม่บทอนาคตของบ้านปลายเนินด้วยการจัดทำทะเบียนภาพแบบร่างฝีพระหัตถ์ของสมเด็จครู ศิลปวัตถุโบราณที่ทรงสะสม และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันส่วนพระองค์ ด้วยความตั้งใจว่าจะได้อนุรักษ์และปรับปรุงอาคารทั้งหมดเพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ และสถานที่อบรมที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมและศึกษา

ตำหนักตึกช่วงกลางคืนตำหนักตึกช่วงกลางคืน

ตัวอย่างของงานศิลปะทรงคุณค่าที่ถูกเก็บรักษาไว้ที่บ้านปลายเนิน ส่วนใหญ่เป็นศิลปวัตถุที่สมเด็จครูทรงสะสมไว้ เช่น หัวโขน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันราวสามสิบกว่าหัว และหัวที่โด่งดังที่สุดเรียกว่า หัวครูดำ เป็นหัวทศกัณฑ์ที่รักษาไว้เพื่อบูชาเป็นครู จึงเป็นที่มาของชื่อหัวครูดำ นอกเหนือจากผลงานทางด้านศิลปะ ของดีอีกอย่างของบ้านปลายเนินที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่งนั่นก็คือ ข้าวแช่สูตรของบ้านปลายเนิน ทานแกล้มกับผักและกับข้าวที่เตรียมไว้ให้ เป็นของดีที่หากินได้เพียงแค่ปีละครั้งเท่านั้น

Sanook! Travel การันตีเลยว่า ที่นี่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่สนใจจะเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แต่อาจจะต้องอดใจรอสักหน่อย เพราะบ้านปลายเนินจะทำการเปิดตำหนักให้เข้าชมเฉพาะในวันที่ 29 เมษายนของทุกปีเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook