6 จุดเช็กอินสุดครีเอท แบงค็อกดีไซน์วีค 2019

6 จุดเช็กอินสุดครีเอท แบงค็อกดีไซน์วีค 2019

6 จุดเช็กอินสุดครีเอท แบงค็อกดีไซน์วีค 2019
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ต้อนรับการกลับมาอีกครั้งกับเฟสติวัลสร้างสรรค์ใจกลางกรุงเทพฯ สุดยิ่งใหญ่แห่งปี “แบงค็อกดีไซน์วีค 2019” ที่จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 26 มกราคม ไปจนถึง 3 กุมภาพันธ์ 2562 เขย่าสีสันของกรุงเทพมหานครให้คึกคักกว่าที่เคย เทศกาลที่สร้างปรากฏการณ์ด้วยการนำผลงานของนักสร้างสรรค์กว่า 1,000 ราย มาจัดแสดงบนย่านเจริญกรุง พร้อมไอเดียแปลงโฉมชุมชนเก่าแก่ให้กลายเป็นแลนด์มาร์กสุดอาร์ตตระการตา เปิดรับผู้ที่สนใจเข้าชม ทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ปักหมุดเช็กอินได้ตลอด 9 วัน ซึ่งหลายคนอาจมีคำถามว่างานใหญ่ระดับนี้ เดินอย่างไรไม่ให้หลง จึงอยากชวนทุกคนมาร่วมจัดรูท จะมาเดี่ยว มาคู่ หรือหมู่คณะ ก็เที่ยวเองได้ไม่ต้องง้อทัวร์

742992

1.จุดแรกกระแทกใจ กับไอเดียจัดการพลาสติกแห่งอนาคตที่ยั่งยืน 

เริ่มต้นจุดสตาร์ทของรูทนี้ด้วย Circular Factory by GC ไอเดียโรงงานแห่งอนาคตภายใต้แนวคิด Circular Living นิทรรศการที่ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางของการจัดงานแบงค็อกดีไซน์วีค 2019 ที่ลานจัตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ด้วยดีไซน์สุดล้ำที่มาพร้อมโทนสีม่วง ตัดกับบรรยากาศโดยรอบอย่างสิ้นเชิง ซึ่งนอกจากจะได้เช็คอินกับนิทรรศการเก๋ๆ ยังได้ฉุกคิดไปกับปัญหาต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เมื่อพฤติกรรมการใช้พลาสติกจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ก่อให้เกิดปัญหาขยะมหาศาลที่ยากต่อการจำกัด และยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แนวคิด Circular Living จึงผุดขึ้นเพื่อเผชิญกับปัญหาดังกล่าว มุ่งเน้นการผลิตและใช้พลาสติกแบบหมุนเวียน ใช้ซ้ำ ใช้นาน และนำกลับมาใช้ใหม่ ก่อนจะไปต่อในจุดถัดไป ที่น่าสนใจไม่แพ้กัน

742992_1

2.จุดที่สอง เจริญกรุง-ตลาดน้อย ย่านที่รุ่มรวยด้วยความครีเอท

Lighting Installation Art ผลงานความร่วมมือระหว่าง 2 ดีไซน์สตูดิโอ คือ Yimsamer Studio และ Eyedropper Fill (สนับสนุนโดย Epson)  จุใจไปกับสารพัดกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ให้คนในท้องถิ่นและชุมชน ได้แก่ คาราโอเกะ  เกมกระดาน  มหรสพ และ รถเข็นขายของ ที่รวมอยู่ในซีรีส์ “The Common Ground” โดยนำรูปแบบของกิจกรรมทั้ง 4 มาเป็นวัตถุดิบตั้งต้นกระบวนการออกแบบ คนดูสามารถ ‘เล่น’ และสร้างปฏิสัมพันธ์ทั้งกับตัวชิ้นงาน ได้อีกด้วย ถือเป็นจุดเช็คอินที่จะได้สัมผัสกลิ่นอายของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ รากเหง้าวัฒนธรรมและความเป็นอยู่ที่ชวนให้นึกถึงวันวาน ที่เต็มไปด้วยรอบยิ้มและเสียงหัวเราะ ไม่ว่าจะเป็น Totem , RUAM – JAI – OKE (ร่วมใจโอเกะ) ,  SALA-WAREE RUANG (ศาลาวารีเรือง), XIQU 2018 (โรงงิ้ว 2018),   ILLUMINATED MOTORS (สว่างยานยนต์)

129114_1

3.จุดที่สาม ตามหาพื้นที่สีเขียว ใกล้ชิดธรรมชาติมากกว่าที่เคย

การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในบริเวณที่อยู่อาศัย ให้รู้สึกว่าได้อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เป็นที่มาของ SUS PAVILION ภายใต้แนวคิด “Aluminum to life in the future”  ที่นำเทคนิคการจัดสวนแบบแนวตั้ง (Green vertical wall) มาทดแทนป่าไม้แนวราบซึ่งอยู่ตามธรรมชาติที่มีแนวโน้มลดลง ซึ่งหยิบความโมเดิร์นของอลูมิเนียมผนวกกับความเป็นธรรมชาติของต้นไม้ กลายเป็นปอดแห่งใหม่ที่ช่วยกรองอากาศภายนอกอาคารให้สะอาดขึ้น และยังช่วยผลิตออกซิเจนขึ้นมาทดแทนได้ เป็นการออกแบบที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของผู้คนในอนาคต โดยผู้สนใจสามารถชมปักหมุดไปจำลองการใช้ชีวิตท่ามกลางพื้นที่สีเขียวแนวตั้งได้ที่ โถงกลาง ศูนย์การค้าริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก

129114

4.จุดที่สี่ เปิดเส้นทางใหม่ๆ กับเฉดดิ้งร่มเงาย่านเจริญกรุง

อีกแลนด์มาร์กประจำย่านที่คอยต้อนรับผู้คนให้เข้าไปทำความรู้  จักกับย่านสร้างสรรค์แห่งนี้ คือ การเนรมิตโครงสร้างร่มเงาที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ เพื่อทำหน้าที่ให้ร่มเงา และเชื่อมเส้นทางลัดใหม่ๆ ที่เชื่อมตรอก ซอก ซอย เพื่อให้ผู้ที่เดินสัญจรสามารถเข้าถึงสถานที่สำคัญต่างๆ ภายในย่านได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ซึ่งประกอบด้วย 3 ผลงาน 3 เส้นทาง จาก 3 ดีไซน์สตูดิโอ  ได้แก่

4.1 Dragon Cloud  โดย all(zone) ผลงานออกแบบพื้นที่ร่มเงาภายในซอยเจริญกรุง ซอย 32 ที่สร้างสรรค์ขึ้นจากเทคนิคการจับจีบผ้าโปร่งจึงทำให้เกิดความเข้มของเงาหลายระดับ จึงนำเอาคุณสมบัติที่เกิดขึ้นมาออกแบบพื้นที่ใต้เงาเมฆ

4.2 Blended โดย Ease Studio ที่สร้างสรรค์ตรอกเล็กๆ บริเวณทางเชื่อมริเวอร์ซิตี้ – ตลาดน้อย จากเสน่ห์ของถิ่นที่อยู่อาศัยของชาวคริสต์และชาวจีน จึงเลือกใช้ดอกไม้ ที่เป็นตัวแทนของ 2 ชุมชน ได้แก่ “ดอกกุหลาบ” สัญลักษณ์แทนโบสถ์กาลหว่าร์ และ “ดอกโบตั๋น” สัญลักษณ์มงคลของชาวจีนแห่งชุมชนตลาดน้อย ที่สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมกลืน

4.3 River Arch โดย Korakot Design ผลิตโดยช่างฝีมือชาวประมง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ผนวกกับดีไซน์สร้างสรรค์สมัยใหม่ ผลงานการออกแบบที่ผสมผสานระหว่างวัสดุธรรมชาติอย่างไม้ไผ่ ในรูปทรงของซุ้มคลื่นน้ำหลายจังหวะ จัดแสดงที่ซอยท่าเรือด่วนสี่พระยา  ด้านข้างสถานทูตโปรตุเกส สะท้อนเป็นร่มเงาบนเส้นทางเชื่อมต่อท่าเรือด่วนสี่พระยาเข้ากับพื้นที่ย่านเจริญกรุง

406025

5.จุดที่ห้า ตลาดนัดสุดครีเอท เติมเต็มทุกไลฟ์สไตล์

นอกจากงานออกแบบที่ขนมาให้ชมแบบจุใจแล้ว นักช้อปสายอาร์ตต้องไม่พลาด “ครีเอทีฟ มาร์เก็ต” กับ 3 ตลาดนัดสุด
ครีเอทที่รวบรวมสินค้าสร้างสรรค์มากกว่า 100 ร้านค้า อาทิ กระเป๋าผ้าแคนวาสตอกหมุดนูนอักษรเบรลล์ จากแบรนด์ Hidetouch กระเป๋าแฟชั่นจากการต่อยอดวัสดุเหลือใช้ จากแบรนด์ CHAAUM พัดลมเหล็กวินเทจประกอบมือจากบริษัท พัดลมวินด์วิน จำกัด เครื่องประดับเงินสไตล์เรียบมินิมอล จากแบรนด์ Chey ก๋วยเตี๋ยวต้มยำโบราณ แซ่บไม่ต้องปรุงจากเจริญพุงโภชนา และอื่นๆ อีกมากมาย เลือกช้อปได้ 3 พิกัด คือ ลานจัตุรัสไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลางแวร์เฮ้าส์ 30 (Warehouse 30) และลานหลังบ้านเลขที่ 1 ซอยเจริญกรุง 30

6.Slowmotion

01_slowportrait

เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในวงการออกแบบของประเทศไทยสำหรับ Slowmotion ในฐานะผู้สร้างงานดีไซน์บนหลากหลายสื่อให้กับแบรนด์ชั้นนำมากมาย ซึ่งในงานนี้ทาง Slowmotion ได้สร้าง Slow Portrait ขึ้นเพื่อให้บุคคลภายนอกได้เห็นถึงแนวคิดที่อยู่ในใจของพวกเขาเสมอนั่นก็คือความเชื่อที่ว่าความเป็นไปได้ของการออกแบบนั้นไม่มีสิ้นสุด ไม่ว่าจะเป็นเทคนิค พื้นที่ หรือสื่อกลางที่ใช้ด้วยเพราะเนื้อแท้แล้วพวกเขากระตือรือร้นที่จะค้นหาสิ่งที่ต่างไปอยู่ตลอดเวลา

 เห็นภาพรวมของการจัดงานแบงค็อกดีไซน์วีค 2019 แล้ว อย่ารอช้า รีบออกไปตามหาจุดเช็คอินในดวงใจ โดยอาจจะเริ่มจากรูทที่แนะนำไป หรือเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจได้ที่ www.bangkokdesignweek.com, www.facebook.com/bangkokdesignweek, แฮชแท็ก #BKKDW2019 หรือ #bangkokdesignweek หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ชั้น 1 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง กรุงเทพฯ ทุกวันอังคาร - อาทิตย์ เวลา 10.30 - 21.00 น. หมายเลขโทรศัพท์ 02-105-7441

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ 6 จุดเช็กอินสุดครีเอท แบงค็อกดีไซน์วีค 2019

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook