คลองเรือ...ชุมชนที่คนอยู่-ป่ายัง
13 กิโลเมตร จากแยกถนนหมายเลข 4006 สายราชกรูด-พะโต๊ะ-หลังสวนหลังจากเลยหน่วยต้นน้ำพะโต๊ะ ก่อนถึงตัวอำเภอพะโต๊ะ เข้ามาตามถนนลาดยางในช่วงแรกและถนนดินในช่วงต่อมา โดยแรกคิดว่าทางจะหนักหนากว่าที่เห็น แต่พอได้เดินทางจริงๆ ทางไม่ได้ยากเกินไป สองฝั่งทางเป็นป่า เป็นสวนในบางช่วง จนมาถึงเขตหมู่บ้าน มีป้ายปูน บอกชื่อและอธิบายความไว้เบ็ดเสร็จว่า “บ้านคลองเรือ ชุมชนคนอยู่-ป่ายัง
หมู่บานคลองเรือ ที่แทบจะถือว่าเป็นชุมชนต้นแบบของคนที่อยู่กับป่าอีกแห่งหนึ่งของบ้านเรา บ้านคลองเรือนั้นอยู่ใน ต.ปากทรง อ. พะโต๊ะ จ.ชุมพร สำหรับคนชอบความวิเวก กินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติผมว่าต้องปักหมุดที่นี่ เพราะเป็นหมู่บ้านที่อยู่บนเนินเขาสูงราว 200 กว่าเมตรจากระดับน้ำทะเล ท่ามกลางป่าที่ล้อมรอบ บ้านเรือนกระจายกันห่างๆ มีสวนผลไม้สารพัน เงาะมังคุด ทุเรียน ลองกอง กาแฟ สวนปาล์ม สวนยางพารา มีลำห้วยคลองเรือไหลผ่าน มองไปทางไหนกมีแต่สีเขียวของต้นไม้เย็นตา โดยเฉพาะในฤดูฝน นอกจากสรเขียวของต้นไม้ ยังมีหมอกฝนบางๆแผ่คลุมในบางช่วงเวลา แต่กว่าที่ชุมชนคลองเรือจะเป็นชุมชนต้นแบบในการที่คนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างไม่ทำลาย ก็ผ่านการเปลี่ยนแปลงมาไม่ใช่น้อย
ก่อนปี 2518 ป่าพะโต๊ะถือว่าเป็นป่าที่สมบูรณ์มากแห่งหนึ่งในภาคใต้ แต่ในราวปีพ.ศ. 2518 ก็เริ่มมีคนเข้ามาตั้งบ้านเรือน 2 ครอบครัว เข้ามาทำเหมืองแร่ดีบุกแบบชกจอบ((การทำเหมืองแร่แบบชักจอบ คือ การทำเหมืองแร่โดยใช้จอบขนาดใหญ่ หน้ากว้างประมาณ 50-80 เซนติเมตร คุ้ยดิน หิน ทรายตามในคลองและริมคลองแล้วปล่อยให้น้ำไหลผ่านพัดพาเม็ดทรายออกไปให้เหลือแต่แร่อยู่ด้านหลังของจอบชักนั้น แล้วใช้ เลียง ซึ่งมีลักษณะคล้ายกระทะ ร่อนเพื่อคัดเลือกเอาเนื้อแร่อีกครั้ง) พอเข้าปี 2528 มีคนอพยพเข้ามาแผ้วถาง ทำไร่การมากขึ้นโดยทำไร่กาแฟเป็นหลัก จากองครัวเรือน ชุมชนก็ขยายขึ้นจนมีการตั้ง โรงเรียน ตชด.ขึ้นมาสอนเด็กในหมู่บ้านในป่าแห่งนี้ ต่อมาราวปี 2536 ทางการ มีความคิดที่จะอพยพคนลงมาจากป่าต้นน้ำทั้งหลาย หัวหน้าพงศา ชูแนม หัวหน้าหน่วยต้นน้ำโต๊ะในขณะนั้น จึงข้ามาร่วมพูดคุย สร้างกฎ ติกา ของการอยู่น่าขึ้นมาใหม่เพ่อให้ทั้งคนก็ยังอยู่ ปากยังคงเดิม มีการกำหนดขอบเขตที่ทำกิน และเขตพื้นที่ป่า เพ่อไม่ให้มีการบุกรุกป่าใหม่ มีการจัดสรรที่ทำกินให้ครอบครัวละ 5 ไร่ และแจ้งการครอบครองที่ดินทำกนให้ชัดเจน ใช้ที่ดินที่มีไม่มากให้เกิดประโยชนสูงสุด
ต่อมาในปี 2537 มีคณะนักศึกษา จาก ม.ธรรมศาสตร์เข้าไปทำค่ายและเห็นว่าชุมชนมีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ จึงแนะนำให้ชาวบ้านทำโฮมสเตย์ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมรายชาวบ้านและให้เห็นคุณค่าของการไม่บุกรุกป่าเพิ่ม เพื่อเก็บรักษาผืนป่า แหล่งน้ำ ลำธารอันเป็นผลผลิตจากป่าให้เป็นทรัพยากรท่องเที่ยวในชุมชน
โฮมสเตย์ของชาวบ้านคลองเรือ เป็นไปแบบชาวบ้านทำเองไม่ได้ส่งต่อให้นายทุนมาสร้างรีสอร์ทเหมือนอย่างที่อื่นที่เกิดปัญหาแต่อย่างใด ซึ่ง เป็นการยึดมั่นกติกาอย่างมั่นคง ไปเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในป่า ที่ล้อมรอบด้วยสวนผลไม้ โดยเฉพาะช่วงเดือนสิงหาคมนี้ จะได้กินผลไม้สารพัด สำหรับคนชอบสีเขียวของต้นไม้ สำหรับคนชอบความสงบการนอนพักในหมู่บ้านคลองเรือสักคืน นั่นคือการล้างปอด พักหู ล้างใจที่ดีที่สุด กลางคืนเห็นหิ่งห้อยระยิบระยับ ยิ่งคืนฝนตก จะได้ยินเสียงฝนชะใบไม้ เสียงลำธารน้ำไหล
กิจกรรมท่องเที่ยวเขา นอกจากจะเข้าสวนผลไม้ ไปเก็บกนแบบง่ายๆ เขายังมีเดินป่าไปน้ำตกเหวพลูหนัง ระยะเดินแค่พอได้กำลัง ดูโรงไฟฟ้าพลังน้ำ หรือจะเดินป่าขึ้นเขาพ่อตาโชงโดงซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในย่านนี้ เดินไปค้างคืนบนยอดเขาสักคืน จะเห็นทิวทัศน์ฝั่งอันดามันอย่างสวยงามระหว่างทางมีบัวผุดให้ดูด้วยสิ แต่ผมว่าโปรแกรมนี้ควรไปปลายฝนจะดีกว่า
ปัจจุบันบ้านคลองเรือมีประมาณ 87 ครัวเรือน ประชากรประมาณ 267 คน เนื้อที่ 10,625 ไร่ แม้คนจะมากขึ้น แต่บรรยากาศโดยรวมก็ไม่ต่างตากการเป็นชุมชนกลางป่าแต่อย่างใด การที่คนจะอยู่ในป่า โดยที่คนก็อยู่ได้ ปาก็อยู่ได้นั้น คนต้องยึดมั่นในกติกาและดำรงตนแบบพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่วาทะกรรม แต่เป็นเรื่องจริงที่เหมาะควรกับการใช้ชีวิตให้มีความสุข ไม่ได้ห้ามรวยแต่ให้ขยับก้าวด้วยความมั่นคงละรู้ฐานะของคน
นอกจากนั้นในพื้นที่พะโต๊ะ ยังมีกิจกรรมล่องแพไม้ไผ่ ล่องเรือยางหรืออยากจะพักแรมแบบตั้งเต็นท์นอนให้เย็นๆก็เชิญที่หน่วยจัดการต้นน้ำพะโต๊ะ ซึ่งเป็นทั้งสถานที่ราชการและแหล่งเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
มาพะโต๊ะ มาคลองเรือ นอกจากจะอิ่มเอมกับธรรมชาติ ยังจะสอนให้เราประมาณตนให้อยู่อย่างพอประมาณ พอเหมาะพอควรกับฐานะของคน แม้ไม่รวยเงินทอง แต่เราก็รวยความสุขได้...
(ติดต่อการท่องเที่ยวบ้านคลองเรือ การพักแรมได้ที่กลุ่มท่องเที่ยวบ้านคลองเรือ 087-8845267)