ร่องรอยใน 121 ปี ถนนราชดำเนิน กับนิทรรศการ : ล่อง รอยราชดำเนิน

ร่องรอยใน 121 ปี ถนนราชดำเนิน กับนิทรรศการ : ล่อง รอยราชดำเนิน

ร่องรอยใน 121 ปี ถนนราชดำเนิน กับนิทรรศการ : ล่อง รอยราชดำเนิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ถนนราชดำเนิน ชื่อนี้ถูกจารึกไว้ในปี พ.ศ.2442 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของการสร้างความศิวิไลซ์ เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมสองฟากถนนที่ผสมผสานระหว่างซีกโลกตะวันตกและตะวันออกจนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งในสัญลักษณ์ของราชดำเนิน

ratchadamnoen3

เวลาผ่านสัญลักษณ์ของความศิวิไลซ์ของ ถนนราชดำเนิน เริ่มถูกแทนด้วยเหตุการณ์สำคัญของบ้านเมือง เปรียบราชดำเนินได้กับหนังสือประวัติศาสตร์เล่มใหญ่ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์ทางการเมืองและถนนที่ถูกกล่าวขานว่าเป็นถนนสายประชาธิปไตย ไม่ว่าจะคณะราษฎร การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 การเมืองภาคประชาชน การเดินขบวนเขาพระวิหาร 14 ตุลา พฤษภาทมิฬ เสื้อเหลือง เสื้อแดง ฯลฯ ร่องรอยของ ถนนราชดำเนิน ทั้งหมดนี้กำลังจะถูกนำกลับมาเล่าใหม่อีกครั้งในนิทรรศการ ล่อง รอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย นิทรรศการหมุนเวียนของมิวเซียมสยามที่จะชวนไป ล่อง หรือ ท่องราชดำเนินอีกครั้ง

ratchadamnoen4

“อย่างที่เราทราบกันว่าราชดำเนินเป็นถนนที่มีการประชันความคิดกันเยอะ ตั้งแต่แรกสร้างที่นี่ก็เป็นการประชันความคิดระหว่างโลกตะวันออก ตะวันตก เป็นการประชันความคิดสมัยใหม่ ทั้งเรื่องความศิวิไลซ์ ทั้งประชาธิปไตย เรื่องหญิงชาย เรื่องเสรีภาพก็มาอยู่บนถนนเส้นนี้เช่นกัน แต่ละแลนด์มาร์กที่เราเลือกมาเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการจึงเปิดด้วยแง่มุมการประชันความคิด และตั้งคำถามว่าเราจะอยู่บนถนนเส้นนี้ด้วยการประชันอย่างสร้างสรรค์อย่างไร พร้อมแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายทางความคิดบนถนนเส้นนี้ผ่าน 8 เส้นทาง ที่เราอาจจะไม่คุ้นเคย เช่น มุมจากสถาปนิก มุมจากคนไร้บ้าน เราไม่เคยมองราชดำเนินผ่านมุมคนที่กำลังหาที่นอนมาก่อน หรือ มองจากมุมคนสวน กทม. ถนนราชดำเนิน จากมุมคนยุคเบบี้บูมเมอร์ รวมทั้งราชดำเนินจากมุมมองของเจ้านายยุคก่อน ซึ่งการมองมุมที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะทำให้เราเปิดใจรับความแตกต่างได้บ้าง”

ratchadamnoen5

ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร  ภัณฑารักษ์ประจำนิทรรศการ บอกเล่าคอนเซ็ปต์ของนิทรรศการซึ่งเริ่มจากการตั้งคำถามให้กับผู้ชมว่าเมื่อนึกถึงราชดำเนิน คุณนึกถึงอะไร แน่นอนว่าตลอดเส้นทางเราจะได้เห็นการประชันความคิดที่แตกต่าง ซึ่งทางนิทรรศการก็เปิดด้วยการนำมวยคู่เอก จอมพล ป. พิบูลสงคราม และ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ มาต่อสู่กันทางความคิดบนเวทีมวยราชดำเนิน

ratchadamnoen2
ratchadamnoen8

จากนั้นให้ผู้ชมใส่หูฟังเลือกล่องราชดำเนินในแง่มุมต่างๆ ที่แตกต่างออกไป งานนี้นอกจากจะมีวัตถุจัดแสดงชิ้นหาชมยากเกี่ยวกับราชดำเนินให้ได้ชม อย่าง บัตรเชิญพิธีเปิดโรงแรมรัตนโกสินทร์ ลวดหนามที่ใช้กั้นประชาชนในช่วงพฤษภาทมิฬ  ใบเสร็จรับเงินห้างแบดแมน ซึ่งเป็นห้างที่ทันสมัยที่สุดในช่วงรัชกาลที่ 5 แล้ว ก็ยังมีมือตบ ตีนตบ นกหวีด ภาพประวัติศาสตร์การประท้วงต่างๆ ให้ได้เห็น รวมทั้งเสียงของราชดำเนินที่โรงแรมเก่าแก่ที่สุดบนถนนอย่าง โรงแรมรัตนโกสินทร์ ได้บันทึกไว้ ที่สำคัญนิทรรศการ ล่อง รอยราชดำเนิน ไม่ได้เล่าเรื่องเพียงเหตุการณ์สำคัญในอดีตเท่านั้น แต่นิทรรศการยังแตะกับไทม์ไลน์ปัจจุบันที่ราชดำเนินเริ่มเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ซึ่งก็เป็นอีกครั้งที่มีการประชันความคิดในการเปลี่ยนและไม่เปลี่ยนราชดำเนิน

ratchadamnoen6
ratchadamnoen7
ratchadamnoen9

อีกมุมน่ารักของนิทรรศการชุดนี้คือการรวบรวมข้อมูลจาก ภัณฑารักษ์วัยเก๋า ซึ่งเป็นโครงการอบรมเรื่องพิพิธภัณฑ์และภัณฑารักษ์แก่ผู้สูงวัย กระทั่งกลายมาเป็นเรื่องเล่าในล่อง รอยราชดำเนิน จากความทรงจำของแต่ละคนที่มีต่อ ถนนราชดำเนิน เช่น บางคนนำโปสการ์ดเก่าเกี่ยวกับราชดำเนินซึ่งเป็นมรดกตกทอดในครอบครัวมาจัดแสดง บ้างนำอุปกรณ์ตำราศาสตร์หมอดูซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของราชดำเนินมาให้รื้อฟื้นความหลัง ก่อนจะปิดท้ายด้วยหมุนกงล้อประวัติศาสตร์ในอดีตเพื่อให้คุณได้ใส่ความคิดในการออกแบบอนาคตของถนนสายประวัติศาสตร์…ราชดำเนิน

Fact File

นิทรรศการ ล่อง รอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย จัดแสดงที่มิวเซียมสยามตั้งแต่วันนี้ถึง 31 สิงหาคม 2563 และจะย้ายไปจัดแสดงที่หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร วันที่ 8 กันยายน ถึง 31 ตุลาคม 2563
รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก facebook.com/museumsiamfan และ www.museumsiam.org

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ

อัลบั้มภาพ 8 ภาพ ของ ร่องรอยใน 121 ปี ถนนราชดำเนิน กับนิทรรศการ : ล่อง รอยราชดำเนิน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook