รู้จักเกาะเดะจิมะ เกาะที่สร้างโดยมนุษย์ในสมัยเอโดะ ที่เมืองนางาซากิ

รู้จักเกาะเดะจิมะ เกาะที่สร้างโดยมนุษย์ในสมัยเอโดะ ที่เมืองนางาซากิ

รู้จักเกาะเดะจิมะ เกาะที่สร้างโดยมนุษย์ในสมัยเอโดะ ที่เมืองนางาซากิ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมื่อหลายปีก่อนมีกระแสของภาพยนตร์ไทยที่ไปถ่ายทำในญี่ปุ่น เรื่อง “ฮาชิมะ โปรเจกต์ ไม่เชื่อต้องลบหลู่” ซึ่งนำแสดงโดยไมค์-พิรัชต์ นิธิไพศาลกุล คนไทยจึงได้รู้จักจักเกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ที่มีเรื่องเล่าสุดหลอนอย่างเกาะฮาชิมะในจังหวัดนางาซากิ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเกาะคิวชู

แต่รู้หรือไม่ว่า เกาะที่สร้างขึ้นโดยฝีมือมนุษย์ในจังหวัดนางาซากินั้น ไม่ได้มีเพียงแต่เกาะฮาชิมะเท่านั้น แต่ยังมีอีกหนึ่งเกาะที่สร้างโดยมนุษย์และมีความสำคัญกับประวัติศาสตร์การค้าของญี่ปุ่นอย่างมาก นั่นก็คือ เกาะเดะจิมะ ที่เราจะกล่าวถึงในวันนี้ค่ะ

3663569_m

ต้นกำเนิดเกาะเดะจิมะ : ประตูสู่ยุโรปของญี่ปุ่น

ในปี 1543 กลุ่มพ่อค้าชาวโปรตุเกส เป็นชาวต่างชาติกลุ่มแรกๆ ที่เข้ามาทำการค้าขายในญี่ปุ่น โดยพื้นที่ที่เริ่มเปิดทำการค้าแห่งแรกคือ เกาะทาเนกาชิมะ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของเกาะคิวชู และต่อมาก็ได้ย้ายไปตั้งหอการค้าโปรตุเกสอยู่ที่เมืองฮิราโดะ

6 ปีต่อมา ฟรานซิส ซาเวีย มิตชันนารีแห่งคณะเยซูอิต ก็ได้มาทางมาถึงคาโกชิมะ เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ จนในปี 1570 ไดเมียว โอมุระ สุมิทาดะ ก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และทำข้อตกลงกับชาวโปรตุเกสเพื่อพัฒนาชายฝั่งของเมืองนางาซากิ และไม่นานก็มีการเปิดท่าเรือโยโกเสะอุระ เพื่อทำการค้าระหว่างประเทศ ต่อมาในปี 1580 ไดเมียวโอมุระ สุมิทาดะ ได้มอบอำนาจโดยพฤตินัยให้กลุ่มเยซูอิตและชาวโปรตุเกสในการผูกขาดการค้าขายผ้าไหมกับจีนโดยผ่านทางมาเก๊า

ในปี 1634 โชกุนโตกุกาวะ อิเอมิซึ โชกุนคนที่ 3 แห่งตระกูลโตกุกาวะ ได้สั่งให้มีการสร้างเกาะเดะจิมะขึ้นมา โดยการถมทะเลเป็นเกาะรูปพัดบริเวณอ่าวนางาซากิ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 15,000 ตารางเมตร เพื่อกำจัดกลุ่มพ่อค้าชาวโปรตุเกส และสอดส่องการค้าขาย อีกทั้งยังเป็นการป้องกันการเผยแพร่ศาสนาคริสต์โดยกลุ่มมิตชันนารีชาวโปรตุเกสในแผ่นดินญี่ปุ่นอีกด้วย

ในปี 1641 หอการค้าของชาวโปรตุเกสที่ฮิราโดะก็ถูกย้ายตามไปยังเกาะเดะจิมะ และเป็นสถานที่แห่งเดียวในญี่ปุ่นที่สามารถทำการค้ากับตะวันตกได้ในเวลานั้น และเป็นเวลากว่า 200 ปี ที่ชาวโปตุเกสบนเกาะเดะจิมะไม่ได้ให้อนุญาติให้ข้ามมายังเมืองนางาซากิ ในขณะที่ชาวญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้รับอนุญาติให้ข้ามไปยังเกาะเดะจิมะ ยกเว้นเหล่าหญิงโสเภณีจากโรงน้ำชาในเมืองนางาซากิเท่านั้น

ในสมัยของโชกุนโตกุกาวะ โยชิมุเนะ ได้มีการผ่อนปรนข้อกำหนดนี้ เพื่อให้เหล่าซามูไรญี่ปุ่นสามารถเข้าไปเรียนรู้วัฒนธรรมต่างชาติที่เกาะเดะจิมะได้ เกาะเดะจิมะจึงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนญี่ปุ่นทั่วไปในฐานะศูนย์กลางทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์

วัฒนธรรมและอาหารต่างชาติจึงค่อยๆ เริ่มเป็นที่นิยมในญี่ปุ่นผ่านเหล่าซามูไรที่เข้าไปเรียนรู้ ไม่จะเป็นแบดมินตัน บิลเลียด กาแฟ เปียโน กะหล่ำปลี มะเขือเทศ หรือแม้แต่ของหวานอย่างช็อคโกแลต เป็นต้น

การถือกำเนิดของบริษัท Dutch East India Company

ในปี 1598 กองเรือสินค้าที่ดูแลโดยกลุ่มพ่อค้าในอัมสเตอร์ดัมและรอตเทอร์ดัมได้ออกมาเดินมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเริ่มทำการค้าขายเครื่องเทศในพื้นที่ของบันดุงและอัมบอยนิน

ในปี 1692 หลายๆ บริษัทต้องเผชิญกับการแข่งขันทางการค้าและผลกำไรที่ลดลง จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งเป็นบริษัทใหม่ชื่อว่า United East India Company ซึ่งบริษัทได้รับอนุญาติให้ทำการค้าตั้งแต่แหลมกู๊ดโฮป (The Cape of Good Hope) ไปจนถึงช่องแคบแมกเจแลน (The Strait of Megellan) และได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษจากรัฐบาล ซึ่งนั่นหมายถึงบริษัทจะได้รับอำนาจเต็มในการลงนามสนธิสัญญา การใช้อำนาจทางการทหาร การออกเงินตรา รวมไปถึงการแต่งตั้งเลขาธิการท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ตุลาการอีกด้วย

นี่คือความยิ่งใหญ่ของ United East India Company ก่อนที่จะแล่นเรือเข้ามายังท่าเรือนางาซากิ เพื่อทำการค้าที่เกาะเดะจิมะ

3504737_m

การค้าบนเกาะเดะจิมะ

ตั้งแต่ปี 1621 -1847 มีเรือสินค้าของโปรตุเกสเข้าเทียบท่าที่ญี่ปุ่นกว่า 700 ลำ ในช่วงกลางสมัยเอโดะ สินค้าดังกล่าวมักจะแล่นมาจาก “ปัตตาเวีย” เมื่องที่ได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางการค้าและการปกครองของดัตช์ในหมูเกาะอินดีสตะวันออก ซึ่งก็คือหมู่เกาะอินโดนีเซีย และปัตตาเวียก็คือกรุงจาการ์ตา เหมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบันนั่นเอง

สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้ากำมะหยี่ พริกไทย น้ำตาล เครื่องแก้ว และหนังสือ ในขณะที่สินค้าที่ส่งออกของญี่ปุ่นในขณะนั้นได้แก่ ทองแดง การบูร เซรามิก และเครื่องเคลือบ

บริษัท Dutch East India Company  ถูกบังให้เลิกกิจการ

การค้าระหว่างเนเธอแลนด์และญี่ปุ่นเริ่มแผ่วลงในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 สาเหตุก็มาจากกาารใช้นโยบายคุ้มกันทางการค้าของโชกุนโตกุกาวะ ซึ่งในช่วงแรกนั้นสามารถทำการค้าได้อย่างไม่มีข้อจำกัด แต่ภายหลังจากปี 1685 การค้ากับเนเธอแลนด์นั้นถูกจำกัดไว้ที่ 30,000 Kame ( 1 Kame เท่ากับ 3.75 กิโลกรัม)  ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 1715 เรื่องสินค้าของดัตช์ยังถูกจำกัดให้เข้าเทียบท่าได้เพียงแค่ 2 ลำ/ปี จนปี 1790 ก็ถูกจำกัดให้เหลือเพียง 1 ลำ/ปี และปริมาณสินค้าถูกลดจำนวนลงจาก 30,000 Kame เหลือเพียง 700 Kame เท่านั้น ในขณะเดียวกันการบริหารกิจการของ Dutch East India Company ก็ค่อยๆ อ่อนแอลง ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789 ทำให้เนเธอร์แลนด์เองก็ได้รับความเสียหายอย่างหนัก

ในปี 1795 กองกำลังปฏิวัติฝรั่งเศสได้เข้ายึดครองเนเธอแลนด์และก่อตั้งสาธารณรัฐปัตตาเวีย (Republic of Batavia) ขึ้น และต่อมาในปี 1799 บริษัท Dutch East India Company ก็ถูกบังคับให้ปิดกิจการ

จุดจบของเกาะเดะจิมะมาถึง เมื่อญี่ปุ่นถูกบังคับให้เปิดประเทศ

ผลจากความพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น จีนถูกบังคับให้มอบเกาะฮ่องกงได้แก่อังกฤษ และบังคับให้เปิดท่าเรือ 5 แห่ง ซึ่งรวมไปถึงกวางโจวและเซี่ยงไฮ้ ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสิทธิสัญญานานกิง (The Treaty of Nanjing)

ข่าวคราวของสงครามฝิ่นแพร่ไปถึงเมืองนางาซากิของญี่ปุ่นผ่านทางชาวดัตช์ ที่ได้เข้ายื่นจดหมายให้แก่โชกุนโตกุกาวะแห่งญี่ปุ่น เพื่อแนะนำให้ทำการเปิดประเทศ

ทูตอเมริกันได้เดินทางมาเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในปี 1846 และต่อมา พลเรือจัตวาแมทธิว เพอร์รี่ (Commodore Matthew Perry) ก็ได้เดินทางไปถึงอุรากะ (Uraga) ในปี 1853 และเกิดสนธิสัญญาฉบับแรกระหว่างอเมริกาและญี่ปุ่นขึ้น ชื่อว่าสนธิสัญญาไมตรีญี่ปุ่น-อเมริกัน (The Japanese-American Treaty of Amity)

ต่อมาในปี 1856 ทูตอเมริกันนามว่า ทาวน์แซนด์ แฮร์ริส (Townsend Harris) ได้เดินทางมายังญี่ปุ่นเพื่อเจรจาเกี่ยวกับสนธิสัญญาทางการค้า โชกุนโตกุกาวะแห่งญี่ปุ่นเองก็รับรู้ถึงอำนาจทางการทหารที่น่ากลัวของอเมริกา จึงยอมลงนามในสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ (The US-Japan Treaty of Amity and Commercein) ในปี 1858 และถือเป็นการสิ้นสุดนโยบายโดดเดี่ยวตัวเองของญี่ปุ่น (Japan’s Isolation Policy) อย่างเป็นทางการ

1307060_m

การปิดโรงงานของดัตช์

ข้อจำกัดต่างๆ ของชาวดัตช์ในเกาะเดะจิมะถูกยกเลิกไปโดยสนธิสัญญาไมตรีระหว่างญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ที่ลงนามในปี 1856 และผลจากสนธิสัญญา Ansei – Five Power Treaties ระหว่างญี่ปุ่น และมหาอำนาจทั้ง 5 อันได้แก่ อเมริกา อังกฤษ รัสเซีย เนเธอร์แลนด์ และฝรั่งเศส ปี 1858 ก็เป็นผลทำให้ชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้า-ออกเกาะเดะจิมะได้อย่างอิสระ

สถานกงสุลเนเธอแลนด์ถูกตั้งขึ้นบนเกาะ ส่วนธุรกิจต่างๆ ถูกย้ายไปรวมกับสมาคมธุรกิจการค้าแห่งเนเธอร์แลนด์ ปิดตำนานของเดะจิมะไปโดยปริยาย และในปี 1866 เกาะเดะจิมะก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของเมืองนางาซากิ

เกาะรูปพัดหายไป

หลังจากที่มีการเปิดท่าเรือนางาซากิในปี 1859 (พร้อมๆ กับท่าเรือโยโกฮามะ และฮาโกดาเตะ) เกาะเดะจิมะได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ครั้งใหญ่ รวมไปถึงการขยายพื้นที่ทางตะวันตกและทางตอนใต้ของเกาะเพื่อปรับปรุงท่าเรือสินค้าของนางาซากิให้มีความทันสมัย ต่อมาบางส่วนของพื้นที่รอบนอกเกาะก็ได้จมหายไปในทะเล อีกทั้งในปี 1885 พื้นที่ทางตอนเหนือขนาด 18 เมตร ก็ถูกลบหายไปเนื่องมาจากโครงการผันน้ำในแม่น้ำนาคาจิมะ และสุดท้ายจากแผนการปรับปรุงท่าเรือในปี 1904 เกาะรูปพัดอย่างเดะจิมะก็หายไปอย่างสมบูรณ์ โดยถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินนางาซากิ ไม่ใช่เกาะที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวอีกต่อไป

สิ่งที่น่าสนใจบนเกาะเดะจิมะ

แม้ว่าเกาะรูปพัดรูปร่างจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่สิ่งที่ยังหลงเหลือคือประวัติศาสตร์บนเกาะเดะจิมะ ที่ทางเมืองนางาซากิได้ทำการปรับปรุงเพื่อเปิดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ โดยมีอาคารอนุรักษ์ให้เยี่ยมชมถึง 16 หลัง

ค่าเข้าชม

ผู้ใหญ่ 520 เยน/คน (กรุ๊ปทัวร์มากว่า 15 คนขึ้น ไปคนละ 410 เยน)

เด็ก ม.ปลาย 200 เยน/คน (กรุ๊ปทัวร์มากว่า 15 คนขึ้น ไปคนละ 120 เยน)

เด็ก ไม่เกินม.ต้น 100 เยน/คน (กรุ๊ปทัวร์มากว่า 15 คนขึ้น ไปคนละ 60 เยน)

*** สำหรับนักเรียนต่างชาติที่เรียนอยู่ในเมืองนางาซากิ สามารถเข้าชมได้ฟรี โดยแสดงบัตร Resident card ต่อเจ้าหน้าที่ และต้องดาวน์โหลดเอกสารเพื่อทำงานจองล่วงหน้าผ่านเว็บไซต์

สามารถจ่ายได้ทั้งเงินสด, WeChatpay และ Alipay

เวลาทำการ

เปิดทำการทุกวันตั้งแต่ 8 โมงเช้า – 3 ทุ่ม (ประตูทาเข้าปิดเวลา 20:40)

การเดินทางจากสถานี Nagasaki

โดยรถราง : ขึ้นรถรางที่สถานี Nagasaki เลือกรถรางที่มุ่งหน้าไปยัง “Sefuku-ji” แล้วลงที่สถานี “Dejima” หรือ “Shinchi Chinatown)

โดยรถยนต์: ใช้เวลา 6 นาทีโดยประมาณ จากสถานี Nagasaki และ 1 นาทีจากทางออก Dejima Tallway (ใช้ที่จอดรถแบบเสียค่าจอด)

โดยรถบัส: สามารถขึ้นรถบัสได้ที่สถานี Nagasaki โดยเลือกรถที่เขียนว่า “For Shinchi Bus Terminal” ใช้เวลาเดินจากสถานีสุดท้ายประมาณ 5 นาที

ที่อยู่: 〒850-0862 6-1 Dejima-machi, Nagasaki City, Nagasaki Pref.

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ

อัลบั้มภาพ 4 ภาพ ของ รู้จักเกาะเดะจิมะ เกาะที่สร้างโดยมนุษย์ในสมัยเอโดะ ที่เมืองนางาซากิ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook