8 สิ่งเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยบนเครื่องบิน” ที่คุณอาจไม่เคยรู้!

8 สิ่งเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยบนเครื่องบิน” ที่คุณอาจไม่เคยรู้!

8 สิ่งเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยบนเครื่องบิน” ที่คุณอาจไม่เคยรู้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รู้หรือไม่ว่าเครื่องบินมีการออกแบบสิ่งต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้โดยสารไว้มากมาย และบางอย่างก็สามารถสังเกตเห็นได้ด้วย เพียงแต่คนทั่วไปอาจไม่ทราบว่าเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใด ๆ จะสามารถใช้ประโยชน์ได้!  

1.ตะขอสีเหลือง ฮีโร่ยามฉุกเฉิน

ในกรณีฉุกเฉินที่นักบินต้องนำเครื่องลงจอดบนน้ำ ตะขอสีเหลืองบนปีกเครื่องบินจะมีไว้สำหรับการยึดเชือก เพื่อให้ผู้โดยสารใช้จับในการทรงตัวขณะที่ออกมาจากเครื่องบินโดยเฉพาะเวลาที่ร่อนลงบนพื้นผิวที่เป็นน้ำ นอกจากนี้ ตะขอและเชือกก็ยังมีประโยชน์ที่ช่วยในการยึดโยงกับเบาะลม เพื่อไม่ให้แกว่งไปมาขณะที่ผู้โดยสารสไลด์ตัวลงมาด้วย

2.เครื่องบินไม่มีถังออกซิเจน

รู้หรือไม่ว่าบนเครื่องบินไม่ได้มีถังออกซิเจน เพราะหนักและมีขนาดใหญ่เกินไปสำหรับการใช้งาน แต่เหนือที่นั่งของเราจะมีเครื่องผลิตออกซิเจนที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ Sodium Chlorate, Barium Peroxide และ Potassium Perchlorate ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำปฏิกิริยาเคมีในขณะที่เราดึงหน้ากากออกซิเจนมาครอบที่จมูกและปาก เพื่อผลิตออกซิเจนออกมาให้เราหายใจในเวลาที่เกิดเหตุฉุกเฉิน

3.เบาะที่นั่งทนไฟ 

เบาะที่นั่งผู้โดยสารมีประโยชน์มากกว่าที่คิด เพราะทำจากวัสดุที่ทนไฟทำให้โอกาสในการรอดชีวิตสูงขึ้นเมื่อเกิดไฟไหม้ หลังจากเคยมีกรณีที่นักบินอวกาศ 3 ราย ถูกไฟคลอกเสียชีวิตขณะทำการทดลองภารกิจบินไปเหยียบดวงจันทร์ เมื่อปี 1967 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากยานแคปซูลมีแต่วัสดุที่ติดไฟง่าย รวมถึงเบาะที่นั่งที่มีส่วนประกอบของโฟมด้วย

โดยหลังจากสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ออกกฎเคร่งครัดเรื่องความปลอดภัยของที่นั่งผู้โดยสารที่ต้องเป็นวัสดุทนไฟ ในปี 1984 ปรากฏว่าในแต่ละปีสามารถช่วยให้ผู้โดยสารมีชีวิตรอดได้ราว 20-25 ราย เนื่องจากที่นั่งไม่ติดไฟ เมื่อมีไฟไหม้บนเครื่องบิน

4.เครื่องหมายสามเหลี่ยมสีดำ / แดง

หากเห็นเครื่องหมายสามเหลี่ยมสีดำ ซึ่งบางครั้งอาจเป็นสีแดงอยู่ภายในผนังด้านข้างของห้องผู้โดยสาร นั่นแสดงว่าคุณกำลังนั่งอยู่ตรงที่นั่งที่มีชื่อเรียกกันว่า “ที่นั่งของ William Shatner” ซึ่งเป็นตัวละครในซีรีส์เรื่อง The Twilight Zone ปี 1963 ที่มองเห็นตัวเกรมลินบนปีกเครื่องบินนั่นเอง 

เครื่องหมายดังกล่าวทำขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้ลูกเรือทราบว่าหน้าต่างตรงที่นั่งดังกล่าวเป็นจุดที่เห็นปีกเครื่องบินได้ชัดเจนที่สุด หากเกิดกรณีผิดปกติใด ๆ จะได้รุดไปตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยง่าย

5.รูเล็ก ๆ ตรงหน้าต่าง

ใครนั่งริมหน้าต่างน่าจะเคยสังเกตเห็นรูเล็ก ๆ ด้านล่างของหน้าต่างเครื่องบินกันบ้าง เจ้ารูนี้มีชื่อเรียกว่า “Bleed Hole” ซึ่งมีประโยชน์ในการปรับระดับความดันของหน้าต่าง เนื่องจากความดันอากาศในห้องโดยสารกับด้านนอกมีความแตกต่างกันมาก จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้กระจกได้รับความเสียหายถึงขั้นระเบิดได้หากเป็นหน้าต่างทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ กระจกหน้าต่างเครื่องบินจึงต้องมี 3 ชั้น โดยด้านนอกสุดจะรับแรงดันมากสุด ขณะที่บานกลางซึ่งเจาะรูไว้ จะมีหน้าที่คอยเซฟความปลอดภัยให้กับห้องโดยสารด้วยการรับแรงดันแทนในกรณีที่ชั้นนอกเสียหาย ส่วนชั้นในสุดจะเป็นกระจกนิรภัยที่ช่วยป้องกันผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในเครื่อง นอกจากนี้ รูเล็ก ๆ ดังกล่าวยังช่วยดูดความชื้นบนกระจกด้วย จึงไม่ทำให้เกิดฝ้าหรือหมอกเกาะที่กระจก

6.การหรี่ไฟในห้องโดยสาร

หากเป็นเที่ยวบินกลางคืน ก่อนที่เครื่องจะบินขึ้นหรือจะร่อนลงจอด ภายในห้องโดยสารจะมีการหรี่ไฟลง และลูกเรือจะแจ้งให้ผู้โดยสารเปิดหน้าต่าง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ตาได้ปรับสภาพให้คุ้นชินกับความมืดนั่นเอง หากเกิดกรณีฉุกเฉินที่ต้องอพยพผู้โดยสารออกจากเครื่อง ซึ่งจะทำให้สายตาของผู้โดยสารเคยชินกับความมืดภายนอกได้อย่างรวดเร็ว

7.ประตูห้องน้ำ

รู้หรือไม่? ลูกเรือสามารถเปิดประตูห้องน้ำได้ทุกเวลาแม้จะล็อกจากด้านในก็ตาม ซึ่งภายใต้ป้าย LAVATORY ที่ติดอยู่ด้านนอกห้องน้ำนั้น จะมีสลักที่ปลดล็อกประตูห้องน้ำได้ซ่อนอยู่ จึงทำให้ลูกเรือสามารถเปิดประตูเพื่อเข้าไปช่วยผู้โดยสารในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินได้นั่นเอง

8.ที่เขี่ยบุหรี่

แม้สายการบินต่าง ๆ จะมีกฎระเบียบห้ามสูบบุหรี่ในห้องน้ำ โดยสายการบินของสหรัฐอเมริกาแบนการสูบบุหรี่มาตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 80 ซึ่งหากมีผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 25,000 เหรียญสหรัฐ (775,000 บาท)

แต่ถึงกระนั้นสมาพันธ์การบินแห่งสหรัฐอเมริกา (FAA) ก็ยังกำหนดให้เครื่องบินทุกลำต้องมีที่เขี่ยบุหรี่ไว้ในห้องน้ำอยู่ดี เพื่อป้องกันเหตุไฟไหม้ที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากขยะต่าง ๆ ที่ถูกทิ้งลงในช่องทิ้งขยะ อาทิ กระดาษชำระ ผ้าอนามัย ล้วนติดไฟได้ง่ายทั้งสิ้น ดังนั้น หากมีใครฝ่าฝืนสูบบุหรี่ในห้องน้ำ และทิ้งก้นบุหรี่ที่ยังดับไม่สนิทลงไปก็จะทำให้เกิดไฟไหม้ได้  

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook