"เฒ่าตาปุ๊ก" ภูมิปัญญาชาวบ้านสานฟางรูปคนเฝ้าข้าวตามความเชื่อ

"เฒ่าตาปุ๊ก" ภูมิปัญญาชาวบ้านสานฟางรูปคนเฝ้าข้าวตามความเชื่อ

"เฒ่าตาปุ๊ก" ภูมิปัญญาชาวบ้านสานฟางรูปคนเฝ้าข้าวตามความเชื่อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลังจากผ่านพ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ชาวบ้านจะนำข้าวที่ตากผึ่งแดดจนแห้งได้ที่แล้ว ไปเก็บไว้ในยุ้งฉาง จากนั้น จะนำฟางข้าวมาสานลักษณะคล้ายคนนั่งขัดสมาธิ ซึ่งชาวบ้านจะเรียกกันว่า “เฒ่าตาปุ๊ก” เพื่อให้ช่วยเฝ้าข้าวในยุ้งฉางตามความเชื่อที่มีมาแต่โบราณ

โดยนายเงิน กรวยสวัสดิ์ เกษตรกรชาวนาตำบลดอนตะหนิน อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ได้เล่าถึงที่มาและสาธิตวิธีการทำเฒ่าตาปุ๊ก ว่า จะเริ่มจากนำฟางข้าวที่ผ่านมานวดหรือตีเอาเมล็ดข้าวออกไปแล้ว มาจัดเป็นกำ แล้วใช้ตอกไม้ไผ่มามัด เป็นลักษณะคล้ายกับคน มีหัว แขน ลำตัว

จากนั้นใช้ฟางอีกกำมือมามัดเป็นวงกลม แล้วนำไปติดเข้ากับลำตัว ใช้ตอกไม้ไผ่มัดให้แน่นติดกัน ในลักษณะคล้ายคนนั่งขัดสมาธิ ทำหุ่นฟางเช่นเดียวกันนี้ จำนวน 2 ตัว แล้วจึงจุดธูปอัญเชิญวิญญาณผีบ้านผีเรือนเข้ามาอาศัยในตัวหุ่น ก่อนจะนำไปไว้ในยุ้งฉางรวมกันเมล็ดข้าว

ซึ่งคนโบราณมีตามความเชื่อว่า เฒ่าตาปุ๊กจะเป็นตัวแทนของผีบ้านผีเรือนที่ช่วยเฝ้าข้าวในยุ้งฉางในยามที่เจ้าของบ้านไม่อยู่ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ เฒ่าตาปุ๊กจะใช้เป็นส่วนหนึ่งในพิธีกรรมทำขวัญข้าว เมื่อเข้าถึงเดือน 3 จะเป็นช่วงที่ฟางข้าวหายาก เกษตรกรจึงทำไว้ตั้งแต่ช่วงที่เก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จใหม่ๆ ที่มีฟางจำนวนมาก

เมื่อทำเสร็จแล้ว ไม่รู้จะนำไปเก็บที่ไหนก็เลยนำไปเก็บในยุ้งฉาง แล้วใช้กุศโลบายหาเรื่องให้เฒ่าตาปุ๊กมาเฝ้าข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้มีคนมาขโมย ชาวนาจึงนำพิธีการสานเฒ่าตาปุ๊กมาใช้สืบต่อกันจนถึงปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้ หาคนทำได้ยากแล้ว

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ

อัลบั้มภาพ 7 ภาพ ของ "เฒ่าตาปุ๊ก" ภูมิปัญญาชาวบ้านสานฟางรูปคนเฝ้าข้าวตามความเชื่อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook