อลังการ “ความเทียม” ในดูไบ

อลังการ “ความเทียม” ในดูไบ

อลังการ “ความเทียม” ในดูไบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดูไบ เป็นนครใหญ่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีพื้นที่ประมาณ 4,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดพอ ๆ กับจังหวัดชลบุรี มีประชากรประมาณ 2 ล้านคน แต่ได้ชื่อว่าเป็นเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่งในโลก และเป็นเมืองที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงในเอเชีย-แปซิฟิก เป็นรองแค่อินเดีย

เบิร์จ คาลิฟา (Burj Khalifa) ตึกที่สูงที่สุดในโลกiStockเบิร์จ คาลิฟา (Burj Khalifa) ตึกที่สูงที่สุดในโลก

 โรงแรมเบิร์จ อัล อาหรับ (Burj Al Arab) โรงแรมรูปกระโดงเรือที่กลายเป็นไอคอนของดูไบiStock โรงแรมเบิร์จ อัล อาหรับ (Burj Al Arab) โรงแรมรูปกระโดงเรือที่กลายเป็นไอคอนของดูไบ
ความร่ำรวยของดูไบดูได้จากการสร้างอะไรต่อมิอะไรที่เป็น “ที่สุด” ในโลก ในช่วงกว่าสองทศวรรษที่ผ่านมา ดูไบทำให้โลกทึ่งกับเมกะโปรเจกต์มากมาย เช่น เบิร์จ คาลิฟา (Burj Khalifa) ตึกที่สูงที่สุดในโลก ความสูง 828 เมตร (141 ชั้น) ใช้เงินสร้าง 1.5 พันล้านดอลลาร์ ใช้เวลาสร้าง 15 ปี โรงแรมเบิร์จ อัล อาหรับ (Burj Al Arab) โรงแรมรูปกระโดงเรือที่กลายเป็นไอคอนของดูไบ ด้วยความสูง 321 เมตร (สูงที่สุดอันดับที่ 4 ของโลก) ตั้งอยู่บนเกาะเทียม “ส่วนตัว” ที่ถูกถมห่างจากชายฝั่งจูไมราห์เกือบ 300 เมตร

โครงการเกาะเทียมของดูไบเป็นอะไรที่โลกจับตามอง โดยเฉพาะโครงการล่าสุดที่เรียกว่า The World

เดอะเวิล์ด เคียงคู่หมู่เกาะปาล์มtimeoutdubai เดอะเวิล์ด เคียงคู่หมู่เกาะปาล์ม

โครงการเดอะเวิลด์ เป็นกลุ่มเกาะเทียมที่อยู่ห่างจากชายฝั่งนครดูไบประมาณ 4 กิโลเมตร ประกอบด้วย 260 เกาะ โดยวางแผนว่าจะสร้างเป็นเกาะที่มีรูปร่างเหมือนกับทวีปต่าง ๆ บนโลก ได้แก่ แอฟริกา แอนตาร์กติกา เอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ โอเชียเนีย และอเมริกาใต้ แต่ละเกาะมีชื่อตามทวีป

เดอะเวิลด์ มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ แผนการสร้างคือเปิดให้เอกชนเข้ามาก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกบนเกาะ เช่น โรงแรม ภัตตาคาร รีสอร์ท คฤหาสน์ส่วนตัว ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ เป็นการดึงดูดให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสกับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันทั่วโลก ณ ที่แห่งเดียวคือ “เดอะเวิลด์”

เดอะเวิล์ดเปิดตัวเมื่อปี 2003 เป็นเมกะโปรเจกต์ของเชคโมฮัมเหม็ด อัล มักตูม (Sheikh Mohammed Al Maktoum) เจ้าผู้ครองนครดูไบ (และรักษาการประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) หลังจากลงมือสร้าง หมู่เกาะต้นปาล์ม (Palm Jumeirah) ซึ่งเป็นโครงการแรก

Palm JumeirahPalm Jumeirah

หมู่เกาะต้นปาล์ม เป็นเกาะเทียมขนาด 25 ตารางกิโลเมตร ล้อมด้วยเขื่อนหินทิ้ง 7 ล้านตัน ที่มีความยาว 11 กิโลเมตร แนวคันเขื่อนเรียงรายตลอดเป็นรูปลำต้นปาล์มขนาดยักษ์ ด้วยแนวเขื่อนกั้นคลื่นเป็นรัศมีวงกลมนี้ทำให้ชายฝั่งทะเลของดูไบเพิ่มขึ้นอีก 78 กิโลเมตร และอัดแน่นด้วยความหรูหราอลังการ เช่น บ้านสไตล์วิลลาชายทะเล 1,400 หลัง อพาร์ทเมนท์หรู 2,500 ยูนิต พร้อมท่าจอดเรือยอชต์ โรงแรมหลายสิบแห่ง และกิจกรรมที่ล้วนถลุงเงิน เช่น สกีโดม (เล่นสกีหิมะ (ปลอม) ในโดม) ในโครงการจะมีทั้งหมด 3 เกาะ คือ ปาล์มจูไมราห์ ปาล์มเดียรา และปาล์มเจเบล อาลี ถึงเวลานี้ “ปาล์มจูไมราห์” เป็นเกาะที่เปิดบริการเพียงแห่งเดียว โดยใช้เงินสร้างไปแล้ว 3,000 ล้านดอลลาร์

ส่วนเดอะเวิลด์ หลังจากเปิดตัวมานานกว่า 20 ปี แต่ถึงวันนี้ ทุกอย่างก็ยังเป็นเพียงผืนทรายที่ส่วนใหญ่ว่างเปล่า และคาดว่าน่าจะใช้เงินมากกว่าหมู่เกาะต้นปาล์มหลายเท่า

กลุ่มเกาะทวีปเทียมเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นด้วยทรายปริมาณ 321 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่ขุดขึ้นมาจากอ่าวเปอร์เซีย แน่นอนว่าทรายจำนวนมหึมามหาศาลที่ล้วงจากอ่างย่อมถูกนักอนุรักษ์โจมตี ด้วยว่าการขุดทรายปริมาณมากมายเช่นนี้ได้สร้างความเสียหายให้กับแนวปะการังในอ่าวเปอร์เซีย (ในเวลาต่อมา บริษัทนาคีลที่ก่อสร้างเกาะเทียมได้จ้างนักชีววิทยาทางทะเลให้มาสร้างและฟื้นฟูแนวปะการังขึ้นมาใหม่)

เมื่อถมเกาะและทำเขื่อนกั้นคลื่นโดยรอบเสร็จในปี 2008 ก็มีการขายพื้นที่ให้นักอสังหาริมทรัพย์นำไปพัฒนาต่อได้แล้ว 70% แต่ปัญหาคือ คนซื้อไปแล้วทำอะไรต่อไม่ได้ เพราะดูไบเกิดวิกฤตการเงินในช่วงปี 2007 (เพราะถลุงไปกับเมกะโปรเจกต์มากเกินไป) และยาวต่อเนื่อง 4-5 ปี ทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ตกฮวบ บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระงับแผนการพัฒนาโครงการไว้ก่อน บางรายยกเลิกไปเลย จนกระทั่งปี 2009 กรุงอาบูดาบีเข้ามาลุงทุน 1 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็นการต่อลมหายใจให้เดอะเวิลด์
 เดอะเวิล์ด ที่ยังคงเป็นผืนทรายเดอะเวิล์ด ที่ยังคงเป็นผืนทราย

เพื่อเป็นการโฆษณาโครงการ (เพื่อระดุมทุน) เดอะเวิลด์ก็เลยต้องสร้าง “บ้านตัวอย่าง” ขึ้นบนเกาะ และมอบเกาะหนึ่งให้อดีตแชมป์โลกฟอร์มูลาวัน 7 สมัย มิคาเอล ชูมัคเกอร์ (Michael Schumacher) เพื่อเป็น “คนตัวอย่าง” บนเกาะ

บนเกาะเล็ก ๆ ก็เปิดให้บริการบ้าง เช่น เดอะ โรยัล ไอส์แลนด์ บีช คลับ รีสอร์ทที่พร้อมด้วยภัตตาคารและบาร์ เปิดให้บริการบนเกาะเลบานอน และอนันตรา เวิลด์ ไอส์แลนด์ รีสอร์ท วิลลา และสปา เป็น hideaway ของคนรวย ๆ

ถึงอย่างนั้น “ทวีป” ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเพียงผืนทรายว่างเปล่า เนื่องจากเดอะเวิลด์ไม่มีส่วนที่เชื่อมกับดูไบ ไม่เหมือนหมู่เกาะต้นปาล์มที่เชื่อมกับชายหาดดูไบ นี่ทำให้การเดินทางไป “ทวีป” ที่อ้างว้างออกไป 4 กิโลเมตร ไม่สามารถทำได้ด้วยทางรถยนต์ อย่าว่าแต่การก่อสร้าง หรือการจัดหาสาธารณูปโภคเลย เรือเฟอร์รีข้ามฝั่งจากหมู่เกาะต้นปาล์ม เป็นการเดินทางสาธารณะวิธีเดียวที่จะไปยังเดอะเวิลด์ได้

เดอะเวิลด์ยังไม่รู้ชะตากรรม แต่ในอนาคต โครงการ The Heart of Europe มูลค่า 5 พันล้านดอลลาร์ กำลังจะเกิด นี่เป็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ประกอบด้วยโรงแรมหรู คฤหาสน์ส่วนตัว วิลล่าลอยน้ำ ฯลฯ ทั้งหมดเป็นสไตล์ยุโรปแท้ ๆ

โดยก่อสร้างบนเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ “ทวีปยุโรป” ของเกาะเทียมเดอะเวิลด์ ที่สำคัญคือการสร้างเส้นทางเช่อมระหว่าง 260 เกาะให้กลายเป็นโลกใบเดียวกัน กับอีกโครงการหนึ่งคือ Raining Street ถนนที่มีฝนเทียมตก เพื่อให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชุ่มฉ่ำในยามที่อากาศร้อนจัด

โครงการหลังสุด มาเที่ยวกรุงเทพฯ หน้าฝนก็ได้ แถมบูธให้ลุยน้ำขังสนุกสนานอีกด้วย

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ

อัลบั้มภาพ 5 ภาพ ของ อลังการ “ความเทียม” ในดูไบ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook