RCB Auctions Talk จากทวยเทพลายเบญจรงค์กว่า 200 ปี สู่อาร์ตทอย “นรสิงห์”

RCB Auctions Talk จากทวยเทพลายเบญจรงค์กว่า 200 ปี สู่อาร์ตทอย “นรสิงห์”

RCB Auctions Talk จากทวยเทพลายเบญจรงค์กว่า 200 ปี สู่อาร์ตทอย “นรสิงห์”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

Norasingha คอลเล็คชันอาร์ตทอยแรก ที่บริษัทประมูลศิลปะวัตถุชั้นนำของไทย RCB Auctions ร่วมกับ Argo Creation เปิดตัวอาร์ตทอยที่ได้สร้างสรรค์โดยศิลปินไทย ถอดดีไซน์มาจากลวดลายของเครื่องเบญจรงค์ ต้อนรับงานประมูล Arts and Antiques Live Auction

Focus

  • Norasingha คอลเล็คชันอาร์ตทอยแรกโดย RCB Auctions ร่วมกับ Argo Creation  ถอดดีไซน์มาจากลวดลายของเครื่องเบญจรงค์ ต้อนรับงานประมูล  Arts and Antiques Live Auction ที่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567
  • เครื่องเบญจรงค์ไทยแต่โบราณใช้ทั้งการกินอยู่ พิธีกรรม เครื่องบวงสรวง งานมงคล หรือเป็นเครื่องบรรณาการ และหากสังเกตให้ดีจะพบว่าเครื่องเบญจรงค์ไทยมักจะมีลายทวยเทพประดับอยู่ ลายที่นิยมก็จะเป็นเทพพนม และนรสิงห์

จะเป็นอย่างไรหากทวยเทพอย่าง “นรสิงห์” ซึ่งเป็นลวดลายซิกเนเจอร์ของเครื่องเบญจรงค์ไทยถูกนำเสนอในเวอร์ชันใหม่เป็นศิลปะสุดป๊อปอย่าง “อาร์ตทอย” ที่ไม่ได้มีแต่ความน่ารัก แต่ยังบอกเล่าประวัติศาสตร์เครื่องเบญจรงค์จากอยุธยา สู่รัตนโกสินทร์ และอาร์ตทอยเครื่องเบญจรงค์ที่ว่าก็คือ Norasingha คอลเล็คชันอาร์ตทอยแรก ที่บริษัทประมูลศิลปะวัตถุชั้นนำของไทย RCB Auctions ร่วมกับ Argo Creation เปิดตัวอาร์ตทอยที่ได้สร้างสรรค์โดยศิลปินไทย ถอดดีไซน์มาจากลวดลายของเครื่องเบญจรงค์ ต้อนรับงานประมูล  Arts and Antiques Live Auction ที่จะเริ่มขึ้นในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 ซึ่งมีเครื่องเบญจรงค์โบราณอายุกว่า 200 ปี เป็นชิ้นงานไฮไลต์ของการประมูล แต่ก่อนที่งานประมูลจะเริ่มต้นขึ้นทาง RCB Auctions ได้เปิดรอบพรีวิวให้     เข้าชมเครื่องเบญจรงค์ลายโบราณ งานเครื่องถ้วยลายครามและชิ้นงานประมูลอื่นๆ แบบไม่ต้องเสียค่าเข้าชม พร้อมงานทอล์คสุดเอ็กซ์คลูซีฟ RCB Auctions Talk#3: Norasingha จากทวยเทพบนงานเบญจรงค์ สู่ศิลปะอาร์ตทอย ในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 พร้อมอาร์ตทอยนรสิงห์จากเบญจรงค์ 3 ดีไซน์ให้ได้จับจองกันด้วย

อาร์ตทอย

“เครื่องเบญจรงค์ไทยแต่โบราณใช้ทั้งการกินอยู่ พิธีกรรม เครื่องบวงสรวง งานมงคล หรือเป็นเครื่องบรรณาการ และหากสังเกตให้ดีจะพบว่าเครื่องเบญจรงค์ไทยมักจะมีลายทวยเทพประดับอยู่ ลายที่นิยมก็จะเป็นเทพพนม และนรสิงห์ ซึ่งสื่อความหมายถึงความมงคล รวมทั้งสี ลวดลายของเบญจรงค์เองก็มีการพัฒนาการที่น่าสนใจ แต่การจะส่งต่อประวัติศาสตร์เครื่องเบญจรงค์ไปสู่คนรุ่นใหม่ถือเป็นความท้าทาย ทางทีม RCB Auctions จึงได้ทำงานร่วมกับ Argo Creation เปิดตัวอาร์ตทอยสัญชาติไทยที่ถอดดีไซน์มาจากลวดลายของเครื่องเบญจรงค์โบราณ นำนรสิงห์ลายยอดนิยมของเครื่องเบญจรงค์ไทยมาเป็นตัวกลางในการสื่อสารให้คนที่เห็นได้ตั้งคำถามว่า เอ๊ะ! นี่คือตัวอะไร ทำไมต้องเป็นสีทอง ทำไมต้องเป็นสีน้ำเงินขาว ทำไมต้องมีหลายสี ให้ความน่าสนใจของอาร์ตทอยดึงให้เขาอยากที่จะศึกษาเรื่องเบญจรงค์ต่อ นี่คือความท้าทายและจุดหมายของการทำงานในคอลเล็คชันนี้”

 “นรสิงห์” เครื่องเบญจรงค์ ไฮไลต์งานประมูล Arts and Antiques Live Auction 5 ตุลาคม 2567
อาจารย์ธนพันธุ์ ขจรพันธุ์ นักวิชาการอิสระและนักสะสมเครื่องกระเบื้อง เล่าถึงความน่าสนใจของอาร์ตทอยคอลเล็คชัน Norasingha ซึ่งได้ศิลปินไทยรุ่นใหม่ พิชญาพร จีระตานนท์ และทีมครีเอทีฟจาก Argo Creation มาออกแบบ พร้อมเปิดตัวร่วมกับ RCB Auctions ซึ่งแน่นอนว่าคอลเล็คชัน Norasingha มาจากลวดลายและสีดั้งเดิมของเครื่องเบญจรงค์ที่จะได้เห็นในงานประมูลครั้งนี้เช่นกัน

 “นรสิงห์” นรสิงห์ หรือ มนุษย์สิงห์ บนเครื่องเบญจรงค์

สำหรับ นรสิงห์ หรือ มนุษย์สิงห์ เป็นอวตารร่างที่ 4 ของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความกล้าหาญเหนือเทพและมนุษย์ เป็นสัตว์หิมพานต์ที่มีหัวและลำตัวท่อนบนเป็นมนุษย์ ส่วนท่อนล่างคล้ายกวาง หากเป็นเพศหญิงจะเรียกว่า “อัปสรสีห์” ด้วยความงามและความน่าเกรงขาม ด้านอาร์ตทอยคอลเล็คชัน Norasingha ทำจากวัสดุซอฟต์ไวนิลตามมาตรฐานอาร์ตทอยในต่างประเทศ มีด้วยกัน 3 สี เริ่มจากสีพื้นฐานเครื่องเบญจรงค์ไทย ที่เหล่านักสะสมทั้งไทยและต่างชาติจะต้องมีในครอบครองเป็นชิ้นแรกๆ

อาร์ตทอย นรสิงห์ลายน้ำทอง ถอดดีไซน์จากลายน้ำทอง

ต่อด้วย นรสิงห์ลายน้ำทอง ถอดดีไซน์จากลายน้ำทอง เครื่องถ้วยประเภทเดียวกับเครื่องถ้วยเบญจรงค์ แต่มีการเพิ่มสีทอง แต้มสีทอง หรือเขียนเส้นตัดสีทอง โดยเครื่องลายน้ำทองเริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยรัชกาลที่ 2 ซึ่งในการประมูลครั้งนี้จะมี จานเบญจรงค์แลทองลายพระยาสุนทรฯ ผลิตในสไตล์ยุโรป ถือเป็นรูปทรงที่พิเศษมากๆ นอกจากนี้ยังมีลายน้ำทองยุครัชกาลที่ 6 กับชุดชามมีฝาปิดเบญจรงค์เขียนลายดอกบัวและดอกไม้บนพื้นสีเทอร์คอยซ์ และที่พลาดไม่ได้คือชามมีฝาปิดเบญจรงค์ลายน้ำทองที่แม้ด้านนอกเขียนด้วยลายไทยอย่างลายพุ่มข้าวบิณฑ์ แต่ด้านในกลับปรากฎเป็นลายจีนอย่างลายผู้หญิงและคนรับใช้ในสวน

อาร์ตทอยอาร์ตทอยคอลเล็คชัน Norasingha เครื่องลายคราม

ปิดท้าย อาร์ตทอย คอลเล็คชัน Norasingha ด้วยสีที่ถอดมาจากเครื่องลายคราม น้ำเงิน ขาว ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 5 และยังคงเป็นที่นิยมสำหรับนักสะสมในระดับสากล เช่นที่จะได้ชมในงานประมูล ได้แก่ ชามกระเบื้อง     ลายครามเขียนทั้งลายด้านนอกและด้านในลายวัตถุมงคลและเถาดอกบัว แจกันคู่ลายครามลายทิวทัศน์ และไฮไลต์ของลายครามในงานประมูลครั้งนี้คือชุดน้ำชากระเบื้องเคลือบน้ำเงินขาวลาย จปร. ลายอัฐ ที่สุดของลวดลาย     หายากที่สุด จากลวดลาย จปร. ทั้ง 10 ลาย ซึ่งสั่งทำพิเศษตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5

 “นรสิงห์”เครื่องเบญจรงค์ในงานประมูล Arts and Antiques Live Auction 5 ตุลาคม 2567

สายอาร์ตทอย สายวัฒนธรรม และนักสะสมและผู้สนใจประวัติศาสตร์เครื่องเบญจรงค์สามารถมาจับจอง อาร์ตทอย คอลเล็คชัน Norasingha กันได้ในงาน RCB Auctions Talk#3: Norasingha จากทวยเทพบนงานเบญจรงค์ สู่ศิลปะอาร์ตทอย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 14:00-15:30 น. ที่ RCB Auctions ร่วมรับฟังเรื่องราวเกร็ดความรู้เกี่ยวกับเครื่องเบญจรงค์ไทย พร้อมเข้าชมพรีวิวชิ้นงานประมูลกว่า 200 รายการได้ตั้งแต่วันนี้ที่ห้องประมูล ชั้น 4 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก และเตรียมพร้อมสำหรับงานประมูล “Arts and Antiques Live Auction” ในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13:00 น.    

Fact File

  • “RCB Auctions Talk#3: Norasingha จากทวยเทพบนงานเบญจรงค์ สู่ศิลปะอาร์ตทอย” จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 28 กันยายน 2567 เวลา 14:00-15:30 น.ที่ ห้องประมูล ชั้น 4 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก
  • งานประมูล “Arts and Antiques Live Auction” ในวันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม 2567 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่เวลา 13:00 น. โดยผู้สนใจสามารถเข้าไปชมรอบพรีวิวได้ตั้งแต่วันที่ 27  กันยายน – 4 ตุลาคม  2567 สอบถามรายละเอียด www.facebook.com/rcbauctions หรือไลน์ ID: @rcbauctions
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook