ชม ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือพระราชพิธีที่สืบทอดจากสมัยสุโขทัย

ชม ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือพระราชพิธีที่สืบทอดจากสมัยสุโขทัย

ชม ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือพระราชพิธีที่สืบทอดจากสมัยสุโขทัย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ชม ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือพระราชพิธีที่สืบทอดจากสมัยสุโขทัย การจัดรูปขบวนประกอบด้วยเรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํา กำลังพลฝีพาย 2,200 นาย และแบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ความยาว 1,280 เมตร และ กว้าง 90 เมตร เริ่มต้นจากท่าวาสุกรี ตีตั๋วชม 22 และ 27 ตุลาคม 2567 นี้

Focus

  • นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ จัดขึ้น ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
  • สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถรับชมการซ้อมใหญ่แบบแต่งชุดและมีริ้วขบวนเรือแบบเต็มพิธีได้ในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ตลอดสองฝั่งเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รวมระยะทาง 4.2 กิโลเมตร

นับถอยหลังความยิ่งใหญ่ของ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรือพระราชพิธีที่สืบทอดมาจากสมัยสุโขทัยและนี่นับเป็นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 สำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ที่จะจัดขึ้น ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567 

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคขบวนพยุหยาตราทางชลมารคขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

สำหรับประชาชนทั่วไปสามารถรับชมการซ้อมใหญ่แบบแต่งชุดและมีริ้วขบวนเรือแบบเต็มพิธีได้ในวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ตลอดสองฝั่งเจ้าพระยา ตั้งแต่บริเวณสะพานพระราม 8 ไปจนถึงวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร รวมระยะทาง 4.2 กิโลเมตร โดยมีขบวนเรือทั้งสิ้น 52 ลำ จัดขบวนเป็น 5 ริ้วขบวน และใช้กำลังพลประจำเรือทั้งสิ้น 2,200 นาย ส่วนจุดชมขบวนที่มีการจัดที่นั่งไว้ได้แก่ ใต้สะพานพระราม 8 ฝั่งธนบุรี สวนสันติชัยปราการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สวนเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา โรงพยาบาลศิริราช (อุทยานสถานภิมุข) นอกจากนี้ร้านรวงริมแม่น้ำเจ้าพระยาก็เปิดให้จองโต๊ะเพื่อชมขบวนพยุหยาตราทางชลมารคทั้งในวันจริงและวันซ้อมใหญ่ด้วยเช่นกัน

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

สำหรับ ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค หมายถึงริ้วขบวนเรือพระราชพิธีที่จัดขึ้นสำหรับพระเจ้าอยู่หัวในการเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อการต้อนรับทูตานุทูตประเทศต่างๆ หรือประกอบในพระราชพิธีสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นต้น โดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและสืบทอดต่อกันมาถึงปัจจุบัน ทว่าก่อนหน้านี้การจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคถูกเว้นไปนานกว่า 25 ปี

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ทั้งนี้นับตั้งแต่มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเพื่อฉลองพระนครครบ 105 ปี เมื่อพ.ศ. 2475 ก็ไม่ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคอีกเลยจนกระทั่งในพ.ศ.2500 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ฟื้นฟูพระราชประเพณีขึ้นมาใหม่ และบูรณะเรือพระราชพิธีลำเก่ารวมทั้งสร้างขึ้นมาใหม่ ประกอบกับเป็นปีที่ทางราชการได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นจึงได้มีการจัด ขบวนพุทธพยุหยาตรา อัญเชิญพระพุทธรูป พระไตรปิฎก และพระสงฆ์แห่ไปตามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นการเฉลิมฉลอง โดยการจัดรูปขบวนเรือคล้ายรูปขบวนพยุหยาตราน้อยแต่ไม่ครบเนื่องจากเรือพระราชพิธีชำรุดเสียหายไปบ้าง

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ในสมัยรัชกาลที่ 9 ได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารคตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2555  รวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง โดยครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์คือการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค (ใหญ่) ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี โดยมีการจัดริ้วขบวนอย่างสวยงามพร้อมเรือพระราชพิธีลำใหม่ คือ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 ซึ่งกองทัพเรือและกรมศิลปากรร่วมกันสร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายด้วยการนำโขนหรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณที่สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มาเป็นแม่แบบ

ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค

สำหรับพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้าพระกฐิน โดย ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ในวันที่ 27 ตุลาคม 2567 นั้น การจัดรูปขบวนประกอบด้วยเรือพระราชพิธีจํานวน 52 ลํา กำลังพลฝีพาย 2,200 นาย และแบ่งออกเป็น 5 ริ้ว 3 สาย ความยาว 1,280 เมตร และ กว้าง 90 เมตร เริ่มต้นจากท่าวาสุกรี  ไปสิ้นสุดที่วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร โดยฝีพายเรือพระราชพิธีทั้ง 52 ลำ จะพายพร้อมกันกับกาพย์เห่เรือซึ่งประพันธ์ขึ้นใหม่ จำนวน 4 บท บทที่ 1 เป็นบทสรรเสริญพระบารมี  บทที่ 2 ชมเรือกระบวน บทที่ 3 บุญกฐิน และบทที่ 4 ชมเมือง ประพันธ์โดย พลเรือตรีทองย้อย แสงสินชัย ศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ที่ห้ามพลาดปักหมุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook