ยโสธร
จากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทาง ถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่ เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น "เมืองยโสธร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรราชวงศา ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทาและอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515 เป็นต้นมาครับ
อาณาเขตติดต่อ ทิศเหนือ ติดต่อกับ จังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด นครพนม ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดศรีสะเกษ ทิศตะวันตก ติดต่อกับ จังหวัดร้อยเอ็ด ทิศตะวันออก ติดต่อกับ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร ห่างจากกระเทพฯ 578 กิโลเมตร พื้นที่ 4,124.2 กิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อ. เมืองยโสธร อ. คำเขื่อนแก้ว อ. กุดชุม อ. ป่าติ้ว อ. มหาชนะชัย อ. เลิงนกทา อ. ค้อวัง อ. ทรายมูล
คำขวัญประจำจังหวัด
เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิด แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
สถานที่สำคัญ
- วัดมหาธาตุ
- พระธาตุก่องข้าวน้อย
- บ้านทุ่งนางโอก
- หมู่บ้านนาสะไมย
- ย่านเมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า
- หมู่บ้านทำหมอนขิดบ้านศรีฐาน
- ภูถ้ำพระ
- แหล่งโบราณสถานบ้านสงเปือย
- พระพุทธรูปใหญ่
- เจดีย์บรรจุดินจากสังเวชนียสถาน
- รอยพระพุทธบาทจำลอง
- พิพิธภัณฑ์ของโบราณ
- ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย
- พระธาตุกู่จาน
- พระพุทธบาทยโสธร
- หอไตรวัดสระไตรนุรักษ์
- วัดภูสูง