10 เทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์

10 เทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์

10 เทคนิคการถ่ายภาพในสวนสัตว์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

  ในช่วงวันหยุดหลายครอบครัวคงต้องการพาบุตรหลานไปเที่ยวพักผ่อน สถานที่ยอดนิยมของบุตรหลานน่าจะเป็นสวนสัตว์เนื่องจากทั้งเด็ก และผู้ใหญ่จะมีกิจกรรมที่ได้สนุกร่วมกันเรียนรู้ธรรมชาตินานาพันธุ์ไปพร้อมกันด้วย ไหนๆ ก็ไปเที่ยวสวนสัตว์ทั้งทีต้องถ่ายภาพเก็บไว้ ขอแนะนำเทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายภาพสวนสัตว์ให้ดูสวยงามน่าสนใจ

1. เลือกเลนส์ที่มีความยาวโฟกัส สูงสักหน่อย เช่น 80-200 mm. หรือ 70-120 mm. หรือมากกว่าถ้ามี หากเป็นเลนส์ทางยาวโฟกัสเดียวเช่น 135 mm. หรือ 200 mm. ยิ่งดี เพราะว่าสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ต้องอยู่ในกรง เราต้องถ่ายภาพผ่านกรงจึงไม่อาจเข้าใกล้ได้ แน่นอนคุณคงไม่อยากเดินเข้าไปถ่ายเสือ ในกรงแน่ๆ

2. เปิดหน้ากล้องให้กว้าง เมื่อถ่ายผ่านกรงหรือตาข่าย สิ่งนี้เองช่วยให้สิ่งที่เป็นฉากหน้า ในภาพเบลอหรือหลุดออกจากโฟกัสไปเลย เลนส์ที่ราคาสูงมีหน้ากล้องกว้าง F/ 2.8 พวกนี้จะใช้ได้สมราคาก็ตอนนี้แหละครับ

3. หลีกเลี่ยงฉากหลังที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ เช่น กรง ตาข่าย เสาต่างๆ ควรมองหามุมที่เป็นธรรมชาติ เพื่อความกลมกลืน หรือเราโม้กับเพื่อนได้ว่าไปถ่ายกระทิงมาจากเขาใหญ่ ใช้เวลาซุ่มรออยู่เกือบอาทิตย์ อะไรก็ว่าไป (ถ้าไม่อายนะ!!)

4. ใช้แฟลชเปิดเงา ส่วนมากสัตว์ในสวนสัตว์จะอยู่ในร่มเพราะต้นไม้รอบๆ บริเวณสวนสัตว์มักเป็นไม้ใหญ่มีร่มเงา การใช้แฟลชจะช่วยให้มีรายละเอียดของสีผิว

และแน่นอนประกายที่ดวงตาช่วยทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวาขึ้น สัตว์บางประเภทที่มีสีสันสดใส เช่น นกแก้ว เมื่อเปิดแสงแฟลชช่วยสีสันจะออกมาอิ่ม แต่ควรชดเชยแฟลชให้อันเดอร์เล็กน้อย เพื่อความเป็นธรรมชาติให้ใช้แสงธรรมชาติ เป็นหลัก แฟลชเป็นเพียงแสงเสริมเท่านั้น

 

5. แยกแฟลชเลยเป็นไง ทำงานกันแบบมืออาชีพดีกว่า บางคนแม้จะมีอุปกรณ์แบบสมัครเล่น แต่ในปัจจุบันแฟลชยี่ห้อดังๆ หลายรุ่น ออกแบบให้มีการใช้โหมด Slave Flash สามารถแยกแฟลชออกจากตัวกล้อง งานนี้อาจให้คุณลูกช่วยถือแฟลชในตำแหน่งที่คุณพ่อต้องการ เช่น เอียงทำมุม 45 องศากับแบบที่จะถ่าย แต่คงไม่ถึงกับให้ถือเดินเข้ากรงสิงโตนะครับ  อะหย่อย!

6. เลือก Crop ภาพบางส่วนเป็นการมองหามุมมองใหม่ๆ เช่น ถ่ายภาพช้างตัวใหญ่ๆ แต่ถ่ายเน้นเฉพาะงวงช้างขณะที่กำลังรับผลไม้จากมือคน (สวย) ด้วยแล้วคุณอาจได้ภาพแนวสารคดีแบบ National  Geographic  เลยก็ได้

7. ภาพทีเผลอ Candid ใช้ได้ดีกับงานถ่ายภาพในสวนสัตว์เพราะสัตว์ต่างๆ มักจะไม่วางมาดหล่อ สวย ต่อหน้ากล้อง ยกเว้นมนุษย์ ช่างภาพบางคนเทียวไปเทียวมาที่เขาดินหลายครั้งเพียงเพื่อรอเก็บภาพฮิปโปหาว ของแบบนี้ต้องมีโชคมาช่วยเล็กน้อย

 แต่ต้องเตรียมกล้องให้พร้อมเสมอเนื่องจากเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด Mode Auto ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น เนื่องจากลดขั้นตอนการวัดแสง แต่ควรชดเชยแสง เปิดแสงล่วงหน้าว่าสภาพแสงอยู่ในระดับที่สามารถใช้มือถือกล้องถ่ายได้หรือไม่

8. ย้อนแสงก็ไม่เลว บางครั้งการถ่ายภาพสัตว์ในลักษณะย้อนแสงก็ทำให้ได้ความรู้สึกแปลกใหม่ไปอีกแบบ

แต่ควรเลือกสัตว์ชนิดที่มีรูปร่างเด่นๆ เช่น ช้าง ยีราฟ ลองนึกดูภาพยีราฟคอยาวเป็นเงาดำ มีพระอาทิตย์กำลังตกเป็นฉากหลัง เพื่อนๆ อาจนึกว่าคุณไปถ่ายถึงแอฟริกามาก็ได้ใครจะรู้

 

 

9. ลองใช้เลนส์มาโครดูบ้าง บรรยากาศในสวนสัตว์ส่วนใหญ่จะร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ สัตว์เล็กๆ เช่น หอยทาก แมลง อาจมีให้เห็นลองใช้เลนส์มาโครของคุณเก็บภาพโลกใบเล็กเหล่านี้ไว้ก็น่าจะดี อย่างน้อยก็บอกใครๆ ได้ว่า นี่คือการถ่ายภาพ Wild life อย่างแท้จริง (ฮ่าฮ่า..)

10. ข้อสุดท้ายสำคัญมาก คือ การไม่รบกวนสัตว์มากเกินไป เช่น การยิงแฟลชระยะใกล้ หรือยิงตรงไปยังดวงตาของสัตว์บางชนิด อาจมีผลในอนาคต คิดถึงอกเขาอกเรานะครับ

ให้มีความเมตตา กรุณา เอื้ออารีเป็นที่ตั้ง ทุกชีวิตมีคุณค่าเท่ากันไม่ว่าคนหรือสัตว์ล้วนรักชีวิต ไม่อยากโดนรังแกหรือกลั่นแกล้ง อยู่ในกรงแล้วยังมาโดนแฟลชวูบวาบๆ คงน่ารำคาญไม่น้อย ขอให้สนุกกับการถ่ายภาพและอย่าลืมส่งภาพสวยมาอวดฝีมือกันบ้างนะครับ

 

 

 

 

 

ข้อมูลจากนิตยสาร

 

 

 

 

i Photoplay เดือนพฤษภาคม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook