พุกามดินแดนเจดีย์ 4 พันองค์

พุกามดินแดนเจดีย์ 4 พันองค์

พุกามดินแดนเจดีย์ 4 พันองค์
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พุกาม ศักดิ์สิทธิ์ อลังการ งดงาม วิถีชีวิต ดินแดนเจดีย์ 4 พันองค์


   ถ้าย้อนอดีต ปี คงไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่เราคนไทย หรือ โยเดีย (คำเรียกคนไทยของพม่าหมายถึงคนไทย) จะมาเดินเล่นในพม่าโดยเฉพาะในยุคสมัยสงครามที่โรมรันกันเป็นเวลาช้านาน

แต่พม่าทุกวันนี้เปิดโอกาสรับนักท่องเที่ยวจากทุกสารทิศ เป็นโอกาสให้เราทำความรู้จักกันมากขึ้น วันนี้เราจะพาเที่ยวประเทศที่เราๆ ท่านๆ รู้จักกันมานาน ตั้งแต่ ป.2

พุกาม (Bagan) เมืองในประเทศพม่า เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณพุกาม (พ.ศ.1587 - พ.ศ.1830) เป็นอาณาจักรแห่งแรกในประวัติศาสตร์พม่า

 

ก่อนสุโขทัย (พ.ศ.1800) และก่อนที่จะเกิดนครวัด (พ.ศ.1600) ปัจจุบันได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลก (World Heritage Sites) โดยองค์การยูเนสโก 
 
พระมหาธาตุเจดีย์ชเวสิกอง Shwezigon Pagoda เป็นเจดีย์ใหญ่ สวยงาม ศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศพม่า เป็นที่เคารพนับถือของทั้งชาวพม่าและชาวไทย ตั้งอยู่ที่เมืองพุกาม โดยชื่อ “ชเวสิกอง” มีความหมายว่า เจดีย์ทองแห่งชัยชนะ (ชเว = ทอง)

สร้างโดย พระเจ้าอโนรธามังช่อ แต่แล้วเสร็จในรัชกาลพระเจ้าจานสิตาแห่งอาณาจักรพุกาม ราว 960 ปีก่อน ภายในเจดีย์เชื่อว่าบรรจุพระเขี้ยวแก้วและพระสารีริกธาตุ โดยอัญเชิญมาจากลังกา บนหลังช้างเผือก พระเจ้าอโนรธามังช่อได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าช้างเผือกคุกเข่าลงที่ใด จะสร้างเจดีย์ไว้ที่นั่น

เจดีย์ชเวสิกอง
  สร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเป็นเจดีย์แห่งชัยชนะ ที่พม่ารบชนะเหนือมอญแบบเด็ดขาดเป็นครั้งแรกเป็นที่บรรจุพระทันตธาตุขององค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวพม่าถือเป็น 1 ใน 5 ของมหาบูชาสถาน คือ

 1. ชเวดากอง ย่างกุ้ง
 2. ชเวสิกอง พุกาม
 3. ชเวมอดอว์
 4. หงสาวดี ชเวซานดอร์ เมืองแปร   
 5. พระมหามัยมุนี มัณฑะเลย์

เจดีย์ชเวสิกองถูกบูรณะในสมัยต่อมาอีกหลายครั้ง เจดีย์ชเวสิกอง เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำ พื้นผิวภายนอกถูกปิดด้วยทองคำเปลว ปัจจุบันมีความสูงราว 53 เมตร หรือ 160 ฟุต มีลวดลายปูนปั้นอยู่ 3 แถว และมีเจดีย์เล็กๆ เป็นบริวารอยู่รายรอบ

ความอัศจรรย์ ๙ ประการของพระมหาธาตุชเวสิกอง

 • ยอดพระเจดีย์ไม่มีการใช้เหล็กเสริม
 • กระดาษห่อแผ่นทองคำเปลวที่นำไปปิดส่วนยอดพระเจดีย์ จะไม่ปลิวพ้นฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์
 • เงาพระเจดีย์จะไม่ล้ำออกนอกฐานสี่เหลี่ยมของพระเจดีย์ (ถ้าเงาล้ำออกไป ถือว่าเป็นลางร้าย)
 • ภายในเขตองค์พระเจดีย์ สามารถรองรับผู้แสวงบุญได้ไม่จำกัดจำนวน (ไม่เคยเต็ม)
 • มีการให้ทานด้วยข้าวสุกร้อนๆ ทุกเช้า (ไม่ว่าเราจะตื่นเช้าสักเพียงใด จะพบข้าวสุกในบาตรอยู่ก่อนหน้าเราเสมอ)
 • เมื่อตีกลองใบใหญ่จากด้านหนึ่งของพระเจดีย์ จะไม่สามารถได้ยินเสียงกลองจากด้านตรงข้าม
 • แม้พระเจดีย์จะตั้งอยู่บนพื้นราบ แต่เมื่อมองจากภายนอกจะเกิดภาพลวงตาคล้ายพระเจดีย์ตั้งอยู่บนที่สูง
 • ไม่ว่าฝนจะตกหนักเพียงใด จะไม่มีน้ำฝนขังอยู่ในอาณาเขตขององค์พระเจดีย์
 • มีต้นพิกุล (Khaye หรือ Chayar) ซึ่งจะออกดอกตลอดทั้งปี (ปกติจะออกปีละครั้ง)

ชเว แปลว่า ทอง  สิกแปลว่า อง พื้นทราย ที่ว่าเป็น “พื้นทราย” เพราะว่าพุกามตั้งอยู่เขตพื้นที่แห้งแล้ง Dry Zone ตอนกลางของพม่าทั้งๆ ที่มีแม่น้ำอิระวดีที่ใหญ่กว่าเจ้าพระยาหลายเท่า แต่ที่ดินแถบนี้ก็แห้งแล้งเกินกว่าจะทำการเพาะปลูกได้

กึกกักๆ...เสียงฝีเท้าม้า กำลังพาเราท่องไปในดินแดน การเดินทางเที่ยวชมทุ่งเจดีย์ที่พุกามมีหลายวิธี ทั้งเช่าจักรยานหรือจ้างรถม้า พวกเราตัดสินใจใช้รถม้าเพราะร่ำลือกันว่าอากาศ ร้อนมากๆ

ทะเลเจดีย์

พุกามได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งทะเลเจดีย์ หรือ ดินแดนแห่งเจดีย์สี่พันองค์ เพราะในสมัยรุ่งเรืองเคยมีเจดีย์มากมายถึง 4,446 องค์ ปัจจุบันเหลือแค่เพียง 2,217 องค์  เจดีย์ในพุกามมีมากถึง 4 พันองค์

แต่ทุกวันนี้หลงเหลืออยู่เพียง 2 พันกว่าองค์เท่านั้น ทั้งจากที่เสื่อมโทรมไปตามกาลเวลา และที่ถูกรื้อถอนมาสร้างเป็นกำแพงเมืองหอรบ ในสงครามครั้งสุดท้ายของพุกาม สงครามกับพระเจ้ากุบไลข่าน แห่งมองโกล และนั่นคือ จุดจบของอาณาจักรพุกามที่รุ่งเรืองมาเกือบ 500 ปี

พุกาม ปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตมัณฑะเลย์ (Mandalay Division) อยู่ห่างประมาณ 145 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมัณฑะเลย์ หรืออยู่ทางตอนเหนือของย่างกุ้ง ระยะทาง 680 กิโลเมตรแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ เขตเมืองเก่า (เขตที่ตั้งอาณาจักรพุกาม) เขตเมืองใหม่ (เขตที่อยู่อาศัยปัจจุบัน) และยองอู (เขตพาณิชยกรรมและเศรษฐกิจ) สนามบินยองอู เป็นสนามบินประจำเมือง

รายได้หลักของเมืองคือ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ มีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกมาเยือนที่นี่เสมอทุกช่วงปี โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากแถบเอเชียด้วยกัน

พระพุทธรูปประจำทิศทั้งสี่ทิศเป็นพระพุทธรูปที่แกะด้วยไม้แล้วลงรักปิดทอง สูง 9.50 เมตร แต่ละองค์วางพระหัตถ์แตกต่างกัน เมื่อก่อนอนุญาตให้จุดธูปบูชาได้ แต่เกิดไฟไหม้องค์พระ ตอนนี้เลยให้กดปุ่มไฟ (ที่เป็นราวๆ )แทน

วิหารอนันดา

“เพชรน้ำเอกของพุทธศิลป์สกุลช่างพุกาม” คือคำกล่าวขวัญถึงมหาวิหารขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในเมืองพุกาม ประเทศพม่า เริ่มสร้างขึ้นในปี พ.ศ.1633 แล้วเสร็จในปีต่อมา ในรัชกาลพระเจ้าจานสิตา

เมื่อก่อนยอดพระเจดีย์ยังเป็นสีขาวเหมือนกับพระเจดีย์องค์อื่นๆ ของพุกาม แต่รัฐบาลพม่าได้มาทาสีทองทับเมื่อปี พ.ศ.2533 เพื่อสมโภชการสร้างอานันทวิหารครบรอบ 900 ปี อานันทวิหารเป็นพระเจดีย์ที่สามารถเดินเข้าไปข้างในได้ แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสมีมุขยื่น 4 ทิศ

ประตูทางเข้าเป็นประตูโค้ง (arch) ที่มักพบเห็นในสถาปัตยกรรมตะวันตกมากกว่าตะวันออก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปประทับยืนไม้ปิดทองสี่ทิศ พระกกุสันโธพุทธเจ้า ประจำทิศเหนือ (องค์เดิม) แท้จริงแล้วประจำทิศตะวันออก พระโกนาคมน์พุทธเจ้า ประจำทิศตะวันออก (สร้างใหม่) พระกัสสปพุทธเจ้า ประจำทิศใต้ (องค์เดิม) พระโคตมพุทธเจ้า ประจำทิศตะวันตก (สร้างใหม่) ผนังภายในแต่ละทิศมีพระพุทธรูปปางต่างๆ รายล้อมกว่า 1,800 องค์

พระเจดีย์มนูหา Manuha Paya

 สร้างโดยพระเจ้ามนูหากษัตริย์มอญ ในครั้งที่พระองค์ถูกพระเจ้าอโนรธาจับมาเป็นเชลยในองค์พระเจดีย์ อันเป็นการรำลึกถึงคราวที่พระองค์ถูกพระเจ้าอโนรธาจับมาเป็นเชลย ซึ่งไม่เพียงกษัตริย์และมเหสีเท่านั้น

ชาวมอญเรือนหมื่นก็ถูกกวาดต้อนมาด้วย พระเจ้ามนูหาจึงทรงสร้างพระเจดีย์แห่งนี้ให้ดูอึดอัด เพื่อต้องการถ่ายทอดความรู้สึกคับข้องใจ ภายในองค์พระเจดีย์เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป 3 องค์แต่มีองค์เดียวที่เป็นของเดิม

 อีก 2 องค์ถูกสร้างขึ้นใหม่ ส่วนด้านหลังมีพระพุทธรูปนอนองค์ใหญ่ประดิษฐาน  แม้จะดูใหญ่โต แต่ก็เป็นการประดิษฐานอยู่ในวิหารแคบๆ อันเป็นผลมาจากพระประสงค์ของพระองค์นั่นเอง

ระหว่างที่ท่องไปในพุกาม เราสามารถสัมผัสวิถีชิวตที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ทุกนาทีที่อยู่ในเมืองล้วนมีเสน่ห์ เรียบง่ายไม่ว่าจะเป็นเด็กน้อย ที่มีทานาคาบนใบหน้า กับ อิวจาโก้ (คล้ายๆ กับปาท่องโก๋บ้านเรา แต่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณด้วยสายตาน่าจะใหญ่กว่าสัก 4-5 เท่า)

พี่ๆ ที่ขับรถม้าไปพร้อมกับการเคี้ยวหมากและยิ้มให้เราพร้อมฟันสีแดงๆ ผู้คนที่นี่ยังคงแต่งกายแบบพื้นเมือง ยังนุ่งผ้าซิ่น นุ่งโสร่ง ภาพการนั่งดื่มชา อันเป็นวัฒนธรรมที่สืบต่อนับแต่ครั้งที่อังกฤษเข้ามาปกครอง

ภาพร้านค้าของที่ระลึกที่รอคอยการแวะเวียนการมาเยี่ยมเยือนของนักท่องเที่ยว และโชคดีเหลือเกินสำหรับทริปนี้ที่เราเผอิญได้พบงานพิธีบวชลูกแก้วของที่นี่ ซึ่งมีขบวนแห่ยาวนับเป็นร้อยๆ เมตร ดูอลังการไม่แพ้สิ่งก่อสร้างเช่นกัน พอตกเย็นย่ำค่ำพลบเลย 3 ทุ่ม ล่วงแล้ว ทั้งเมือง “พุกาม” ต่างหลับใหล เงียบสงบ

ความเงียบสงบ เรื่องน่ารู้ก่อนไป

- ค่าเข้าชมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติคนละ 10 ดอลลาร์ ซึ่งจะมีด่านตรวจตั้งอยู่ตามจุดต่างๆ ก่อนเข้าเมือง ทั้งที่สนามบิน สถานีรถไฟ รถประจำทาง และท่าเรือ Pasted

ธีรภาพ โลหิตกุล : ท่องแดนเจดีย์ไพรพุกามประเทศ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook