ยโส(ธร)... เมื่อเืดือน ๓

ยโส(ธร)... เมื่อเืดือน ๓

ยโส(ธร)... เมื่อเืดือน ๓
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     “เป็นคณะหมอลำกันเหรอ”

     พระภิกษุรูปหนึ่งถาม ขณะที่ชายสองคือผมกับมิสเตอร์จ๊อด และสาวสะคราญต่างวัยอีกห้า กำลังช่วยกันปัดกวาดทำความสะอาด บริเวณพระธาตุอานนท์ ภายในวัดมหาธาุตุ เมืองยโสธร

     “เปล่าครับ พวกผมมาถ่ายรูปกันครับ”

     อุบัติเหตุทางการสื่อสาร เมื่อช่วงบ่ายของวันก่อน กับคุณย่าคุณยายสองสามคนภายในวัด เกี่ยวกับเรื่องการแห่ข้าวพันก้อน ทำให้พวกเราต้องสละเตียงนอนตั้งแต่ตีสามเพื่อให้มาถึงวัดก่อนตีสี่ นั่งรอจนลงความเห็นว่า คงไม่มีสัญญาณใดๆ ตอบรับความประสงค์ที่มาในครั้งนี้เป็นแน่ สาวใหญ่วัยทองจึงพาทุกคนกวาดวัด จนถูกทักถามจากพระภิกษุรูปนั้น เมื่อฟ้าใกล้สว่าง ส่วนคุณยายผู้ส่งสาร คงเป็นนางฟ้านางสวรรค์ จำแลงกาย ออกอุบายให้พวกเราได้มาประกอบกุศลกรรม ในเช้าวันเพ็ญ เืดือน ๓ ปีขาล พุทธศักราช ๒๕๕๓

เจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธร

     เจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธร ตั้งอยู่หน้าพระอุโบสถวัดมหาธาตุ สูง ๒๕ เมตร ๓๐ เซนติเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่ที่ชาวยโสธรให้ความเคารพนับถือ จากหนังสือประวัติพระธาตุอานนท์ ซึ่งเรียบเรียงโดยคณะสายบุญ รวมจิตเป็นหนึ่ง (พ.ศ.๒๕๕๑) กล่าวถึงการขุดพบจารึกใบลานอักษรขอม บรรจุไว้ในขวดเก่าๆ ฝังลึกลงไปประมาณ ๒ เมตร บริเวณกำแพงพระธาตุ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๐ ซึ่งบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างพระธาตุไว้ ซึ่งผมขอเรียบเรียงไว้โดยย่อพอสังเขป ให้ได้อ่านกันดังนี้

     พระธาตุอานนท์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.๑๒๑๘ บริเวณที่สร้างแต่เดิมเป็นป่าทึบตั้งอยู่บนเนินดินขนาดใหญ่เรียกว่า ดงผีสิง โดยมีประวัติว่าสร้างโดย เจตตานุวิน และ จินดาชานุ ชาวเมืองเีวียงจันทน์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกัน หลังจากออกบวชทำความเพียรได้ ๓ ปี ๒๕ วัน เห็นว่าชาวเมืองทั้งหลายต่างนับถือ พากันไปกราบไหว้ ดอนปู่บาว พร้อมจัดงานสมโภชขึ้นเป็นประจำทุกปี จึงคิดนำของศักดิ์สิทธิ์มาไว้ที่ดอนปู่บาว เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งๆ ขึ้น ต่อไปในภายภาคหน้า

     จึงออกธุดงค์โดยใช้เวลาประมาณ ๒ ปี ๑๐ เดือน ๑๑ วัน ถึงเมืองเทวทหะ แคว้นโกลิยะ  ขณะนั้น ชาวเมืองกำลังก่อสร้างเจดีย์องค์หนึ่งอยู่ เพราะเห็นว่าเจดีย์บรรจุพระธาตุองค์เก่า ตั้งอยู่ในสถานที่คับแคบไม่เหมาะสมกับท้าวพระยาที่ไปกราบไหว้ ใช้เวลาก่อสร้าง ๗ เดือน ครั้นก่อสร้างเสร็จ ท้าวพระยาจึงเข้าไปอัญเชิญพระอัฐิธาตุ ซึ่งต้องไขประตูเข้าไป ๓ ชั้น จึงจะพบหีบพระอัฐิธาตุ

     หีบนั้นมีชั้นนอก ๓ ชั้น เป็นหีบเงิน ชั้นถัดเข้าไปเป็นหีบทองคำ ๗ ชั้น ชั้นถัดจากหีบทองคำเข้าไปเป็นหีบแก้วไพฑูรย์ ๒ ชั้น รวมเป็นหีบ ๑๒ ใบ ภายในหีบใบสุดท้าย มีห่อผ้ากะจ๋าคำ (เข้าใจว่าเป็นผ้าดอกดำหรือผ้าลายทอง) ห่อไว้ ๕๐๐ ชั้น ถัดเข้าไปเป็นห่อผ้าสีขาวอ่อนนุ่มดังสำลี เป็นชั้นในสุด สำหรับห่อพระอัฐิธาตุและอังคารไว้ ได้สอบถามชาวเมืองได้ความว่า เป็นอัฐิพระอานนท์เถระ จึงถามอีกว่ามีความเป็นมาอย่างไร

เจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธรเจดีย์พระธาตุอานนท์ หรือ พระธาตุยโสธร

     เขาบอกว่าตั้งแต่รุ่นปู่ย่าเล่าต่อ ๆ กันมา เขาจึงนับถือมาถึงบัดนี้คือ พระอานนท์ นิพพานบนอากาศกลางแม่น้ำโรหิณี (กั้นระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับ กรุงเทวทหะ) ได้อธิษฐานร่างกายให้แตกเป็น ๒ ส่วน ส่วนที่หนึ่งตกลงทางกรุงกบิลพัสดุ์ ส่วนที่สองตกลงทางกรุงเทวทหะ

     เจตตานุวิน ได้ฟังดังนั้น จึงจัดเครื่องสักการะบูชา แล้วอธิษฐานจิตขอเห็นอภินิหาร ก็บังเกิดมีลมพัดห่อผ้าอัฐิธาตุ (ห่อผ้ากะจ๋าคำ) ลอยขึ้นสู่อากาศเป็นอัศจรรย์ จึงอธิษฐานจิตต่ออีก ให้ห่อผ้าอัฐิธาตุลอยลงมา ห่อผ้าก็ลอยลงมาเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก

     จึงอ้อนวอนขอแบ่งอัฐิธาตุจากท้าวพระยาอยู่หลายวัน ได้ผงธุลีประมาณเต็มเปลือกไข่นกกระเรียน กับอัฐิธาตุ ๑ องค์ ประมาณเท่าดอกสังวาลย์ (คล้ายดอกลีลาวดี) จึงเดินทางกลับเมืองเวียงจันทน์

     เมื่อถึงเมืองเวียงจันทน์ ได้จัดเตรียมสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิธาตุที่ดอนปู่ปาว แต่ชาวเมืองไม่ยอม ด้วยหาว่าผิดผีบ้านผีเมือง ทั้งยังขับไล่ทั้งสองออกจากเมือง เจตตานุวินและจินดาชานุได้หนีมาอยู่กับเจ้าเมืองขอม ชื่อว่า เอียงเวธา ครั้นได้ ๓ ปี จึงชักชวนให้เอียงเวธาเป็นผู้นำสร้างเจดีย์ ซึ่งเอียงเวธาได้เลือกสถานที่สร้างเจดีย์ที่ดงผีสิง (จ.ยโสธร ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นป่าทึบขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนเนินดิน ไกลจากบ้านคนประมาณ ๑.๒ กิโลเมตร ใช้เวลาสร้างเจดีย์ ๘ เดือน ๒๕ วัน จึงแล้วเสร็จ

วัดมหาธาตุวัดมหาธาตุวัดมหาธาตุวัดมหาธาตุวัดมหาธาตุวัดมหาธาตุ

     ภายในวัดมหาธาตุยังมีโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ พระพุทธบุษยรัตน์หรือพระแก้วหยดน้ำค้าง หน้าตักกว้าง ๑.๙ นิ้ว สูง ๓.๕ นิ้ว พระคู่บ้านคู่เมืองที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้พระสุนทรราชวงศา เจ้าเมืองยโสธรคนแรก ได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ หอไตร ตั้งอยู่กลางสระ เป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก คัมภีร์โบราณ ฯลฯ ข้าวของบางชิ้นนำมาจากเวียงจันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นประมาณ รัชกาลที่ ๔-๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

     บุญนำพา ให้พวกเราได้มากวาดลานวิหารลานวัด ตอนเช้ามืด อย่างน้อยๆ พวกเราก็ทำให้ภาพพจน์ของพี่น้องหมอลำดีขึ้นนะครับ...

บุญรักษา... คุณพระคุ้มครอง... เจริญสุขทุกๆ ท่านครับ

 ธนิสร หลักชัย...เรื่อง / ภาพ

ขอบขอบคุณ
งานสื่อมวลชนสัมพันธ์ภายในประเทศ กองประชาสัมพันธ์ในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
โทร.1672 เว็บไซต์: www.tourismthailand.org
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุบลราชธานี
โทร. 0 4524 3770, 0 4525 0714  อีเมล์ : tatubon@tat.or.th

ผลงานเขียนของคุณธนิสร หลักชัย

 

 

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ

อัลบั้มภาพ 9 ภาพ ของ ยโส(ธร)... เมื่อเืดือน ๓

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook