หลากหลายความวิจิตรที่ พระราชวังบางปะอิน

หลากหลายความวิจิตรที่ พระราชวังบางปะอิน

หลากหลายความวิจิตรที่ พระราชวังบางปะอิน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

พาเที่ยวหลงเข้าป่า และดำดิ่งสู่ฝืนน้ำกันมาพักใหญ่แล้ว วันนี้เราขอเปลี่ยนบรรยากาศด้วยการพาทุกท่านมาสุขใจไปกับความงามจากฝีมือมนุษย์อย่าง พระราชวังบางปะอิน ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


หากคุณเดินดุ่มๆ เข้าไปถามนักท่องเที่ยวว่า พระราชวังใดที่งดงามจับใจคุณ? เชื่อเถอะว่า ต้องมีไม่น้อยกว่าครึ่งที่จะตอบเสียงดังฟังชัดว่า พระราชวังบางประอิน ก็เพราะพระราชวังแห่งนี้มีความสวยงาม จนแม้แต่กวีเอกของไทยอย่างท่านสุนทรภู่ ก็ยังต้องประพันธ์ไว้ในนิราศพระบาท ซึ่งในปัจจุบัน พระราชวังบางปะอินได้อยู่ในความดูแลของสำนักพระราชวัง และยังใช้เป็นสถานที่แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ รวมถึงประกอบพระราชพิธีสังเวยพระป้าย แต่ก็ยังเปิดให้ประชาชน และนักท่องเที่ยวได้เข้าชม เพื่อกล่าวขานถึงความงาม

การเดินชมพระราชวังบางประอินเราขอแนะนำให้คุณเดินทางมาในช่วงเวลาประมาณบ่ายสามโมงครึ่ง เพราะถ้ามาตอนเช้าแสงแดดอาจจะแรงไปเสียหน่อย โดยที่นี่จะเปิดให้เข้าชมทุกวันในเวลาระหว่าง 08.00 - 17.00 น. ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องแต่งกายในชุดสุภาพ และขณะเข้าชมก็ไม่ควรส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น

เมื่อพร้อมแล้ว เราก็มาเริ่มกันที่ พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ จัดได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเคยได้รับเกียรติให้สร้างจำลองแบบไปแสดงในงานมหกรรมนานาชาติ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อ พ.ศ. 2501 โดยพระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์เป็นปราสาทที่อยู่กลางสระ สร้างในรัชกาลที่ 5 เดิมแล้วเป็นไม้ทั้งองค์ ต่อมารัชกาลที่ 6 โปรดฯให้เปลี่ยนเสาและพื้นเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมด

จากนั้นก็มาต่อกันที่ พระที่นั่งวโรภาษพิมาน ซึ่งเป็นท้องพระโรงอยู่ทางตอนเหนือของ สะพานเสด็จซึ่งเป็นท่าน้ำสำหรับเสด็จพระราชดำเนินขึ้นลง เดิมเป็นเรือนไม้สองชั้น เป็นที่ตั้งประทับและท้องพระโรงร่วมกัน ต่อมารัชกาลที่ 5 โปรดฯให้รื้อสร้างใหม่เป็นอาคารทรงวิหารกรีกแบบคอรินเธียรออร์เดอร์ ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก ขุนนางในงานพระราชพิธี สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2419 เคยเป็นที่รับรองแขกเมืองหลายครั้ง เช่นปี พ.ศ. 2436 รับรองพระเจ้าชาร์นิโคลัส แห่งประเทศรัสเซีย ปี พ.ศ. 2436 รับรองมองซิเออร์ปาวีร์ ฑูตฝรั่งเศส และปี พ.ศ. 2452 รับรองดุ๊กและดัชเชสโยฮันเบรตแห่งเมืองบรันทวีท แห่งประเทศเยอรมัน ถึงในปัจจุบันก็ยังใช้เป็นที่รับรองแขกเมืองสำคัญอยู่เสมอ สิ่งสำคัญในพระที่นั่งเป็นภาพชุดพระราชพงศาวดาร กับภาพเรื่องอิเหนา พระอภัยมณีและรามเกียรติ์

ส่วน พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร ก็นับว่าสวยงามไม่แพ้กัน โดยเป็นพระที่นั่งซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกตรงข้ามกับสระน้ำ เป็นเรือนไม้หมู่ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง มีเฉลียงตามแบบชาเลต์ของสวิส ทาสีเขียวอ่อนแก่สลับกันด้วยงานช่างที่ประณีต สิ่งประดับตกแต่งภายใน ประกอบด้วยเครื่องไม้มะฮอกกานีจัดสลับลายทองทับที่สั่งจากยุโรปทั้งสิ้น นอกนั้นเป็นสิ่งของหายากในประเทศอันเป็นเครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาเขตรอบๆ มีสวนดอกไม้สวยงาม เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรได้เกิดเพลิงไหม้ขณะที่มีการซ่อมรักษาเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2481 ทำให้พระที่นั่งถูกทำลายไปกับกองเพลิงหมดสิ้นทั้งองค์คงเหลือแต่หอน้ำ ปัจจุบันได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ แต่เปลี่ยนวัสดุจากไม้เป็นอาคารคอนกรีต ซึ่งก็สวยงามไม่แพ้ของดั่งเดิม

นอกจากนี้ พระที่นั่งที่คุณไม่ควรพลาดการไปเยือนก็คือ พระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของพระราชวังถัดจากหอวิฑูรทัศนาขึ้นไป พระที่นั่งองค์นี้มีนามเป็นภาษาจีนว่า "เทียน เม่ง เต้ย" (เทียน=เวหา, เม่ง=จำรูญ, เต้ย=พระที่นั่ง) ประชาชนทั่วไปเรียกว่า "เก๋งจีน" พระยาโชฎึกราชเศรษฐี (ฟัก) สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อเป็นพระที่นั่งสำหรับประทับในฤดูหนาว ลักษณะเป็นพระที่นั่งศิลปะแบบจีน มีการลายแกะสลักลวดลายไว้ได้อย่างงดงามวิจิตรยิ่ง โถงด้านหน้าปูด้วยกระเบื้องแบบกังไส เขียนภาพด้วยมือทุกชิ้น แม้ว่าภาพจะเหมือนกันแต่เนื่องจากเป็นงานฝีมือ จึงมีความแตกต่างกันในรายละเอียดที่ทำให้ดูสวยงามไปอีกแบบหนึ่ง

พาเดินเที่ยวกันมาหลายจุดแล้ว แต่พระราชวังบางประอินยังมีอีกหลายสิ่งให้คุณไปสัมผัส ซึ่งพระที่นั่งวโรภาษพิมาน ผู้ชายไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น หรือสวมเสื้อที่ไม่สุภาพเข้าชม ส่วนผูหญิงจะต้องใส่กระโปรงเข้าชมภายในพระที่นั่ง แต่ถ้าไม่ทันได้เตรียมตัวไปจริงๆ ก็ยังมีบริการให้ยืมเครื่องแต่งกายได้บริเวณอาคารการ์ดทหาร

สำหรับพระที่นั่งวโรภาษพิมานและพระที่นั่งเวหาศน์จำรูญ จะมีวิทยากรบรรยายความรู้ประวัติความเป็นมา แต่จะไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพภายในพระที่นั่ง ส่วนพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรไม่อนุญาตให้เข้าชมภายในพระที่นั่งได้ ส่วนอัตราค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 30 บาท เด็ก-นิสิต นักศึกษา (ในเครื่องแบบ) พระภิกษุ สามเณร 20 บาท นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ 50 บาท

ในเรื่องของการเดินทางก็ไม่ยากเย็นถึงขึ้นต้องบุกป่าฝ่าดง หากคุณเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็สามารถใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) ผ่านประตูน้ำพระอินทร์ แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 32 แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 309 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือจะใช้ใช้ทางหลวงหมายเลข 304 (ถนนแจ้งวัฒนะ) หรือทางหลวงหมายเลข 302 (ถนนงามวงศ์วาน) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) ข้ามสะพานนนทบุรี หรือสะพานนวลฉวี ไปยังจังหวัดปทุมธานี ต่อด้วยเส้นทาง ปทุมธานี-สามโคก-เสนา(ทางหลวงหมายเลข 3111) แล้วแยกขวาที่อำเภอเสนาเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3263 เข้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาก็ได้

ส่วนรถโดยสารประจำทางกรุงเทพฯ-อยุธยา มีทั้งรถธรรมดาและปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2(หมอชิต 2) ทุกวันๆละหลายเที่ยว แต่ถ้าอยากไปแบบมันๆ เราขอแนะนำขบวนรถไฟที่มีปลายทางสู่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในเขตอำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภอภาชี ทางรถไฟจะแยกไปสายเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สถานีชุมทางบ้านภาชี

นอกจากนี้ ก็ยังมีบริการเรือนำเที่ยวไปจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของ บริษัทเรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ที่จะจัดรายการนำเที่ยวสู่พระราชวังบางปะอิน ผ่านวัดไผ่ล้อม และแวะเที่ยวชมศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ทุกวันอาทิตย์

ารได้ไปท่องเที่ยวและเยี่ยมชมสร้างที่สวยงาม ด้วยของฝีมือคนไทยอย่าง พระราชวังบางประอิน จะทำให้คุณรู้เลยว่า นอกจากธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็สามารถสร้างแหล่งท่องเที่ยวดีๆ ได้เหมือนกัน


กด Like สนุก! ท่ิองเที่ยว แค่คลิกเดียว...ก็เที่ยวได้ทุกวัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook