เธอไม่อ้วนเลย! จริงเหรอที่ว่าคุยกันเรื่องอ้วนแล้วจะรู้สึกดีขึ้น

เธอไม่อ้วนเลย! จริงเหรอที่ว่าคุยกันเรื่องอ้วนแล้วจะรู้สึกดีขึ้น

เธอไม่อ้วนเลย! จริงเหรอที่ว่าคุยกันเรื่องอ้วนแล้วจะรู้สึกดีขึ้น
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

 

ไม่น่าเชื่อว่านักศึกษามหาวิทยาลัยหญิงจำนวนมากถึง 93 เปอร์เซ็นต์ชอบชวนเพื่อนคุยเรื่องความอ้วน เช่น "โอ๊ย ทำไมฉันใส่ยีนส์ตัวนี้แล้วอ้วนอย่างงี้เนี่ย" ผู้หญิงหลายคนบอกว่าการคุยเรื่องอ้วนกับเพื่อนทำให้พวกเธอรู้สึกดีขึ้นกับ ร่างกายของตน แต่เชื่อหรือไม่ว่าผลวิจัยชิ้นล่าสุดเกี่ยวกับบทสนทนาเรื่องดังกล่าวไม่ได้ เป็นเช่นนั้น

ผลวิจัยชิ้นหนึ่งตีพิมพ์ใน Psychology of Women Quarterly โดยที่นักวิจัยจาก University of Wisconsin-Madison และ Northwestern University ของสหรัฐอเมริกาได้สำรวจนักศึกษาหญิงจำนวน 186 คน เกี่ยวกับสภาพดินฟ้าอากาศและตั้งคำถามว่าพวกเธอคุยเรื่องอ้วนกับเพื่อนบ่อย ครั้งเพียงใด

นักวิจัยวัดระดับความไม่พอใจของผู้ถูกสอบถามเกี่ยวกับร่างกายของพวกเขาและ ถามว่าเขาคิดเห็นด้วยเพียงใดกับรูปร่างอันบอบบางของเหล่านางแบบที่บรรดาสื่อ ต่างๆ ทั่วไปพากันนำเสนอ งานนี้ในหมู่ผู้เข้าร่วมการวิจัยต้องรายงานส่วนสูงและน้ำหนักตัวเพื่อคำนวณ หาค่า BMI ของตัวเอง (Body Mass Index หรือ วิธีการวัดหาค่าน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน)

นักวิจัยพบว่าผู้หญิงเกือบจะทุกคนเคยมีส่วนร่วมในบทสนทนาเรื่องอ้วนกับ เพื่อนๆ และผู้หญิงจำนวนหนึ่งในสามที่ทำเป็นประจำ โดยที่ไม่ได้สนว่าตัวเองนั้นน้ำหนักเกินพิกัดหรือเปล่า คำถามคือทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นเป็นเพราะว่าผู้หญิงส่วนมากมักบ่นกับเพื่อนว่ารู้สึกอ้วนหรือตัวบวม หรือว่ารู้สึกผิดว่าไม่ได้ไปออกกำลังกาย หรือกินมากเกินไป สำหรับผู้หญิงหลายๆ คนแล้ว การคุยเรื่องอ้วนเหมือนเป็นวิธีหนึ่งที่จะปลอบใจตัวเอง (หรือเพื่อนอาจช่วยปลอบใจ) ว่าจริงๆ แล้วพวกคุณๆ น่ะไม่ได้อ้วนเอาเสียเลย

ส่วนหนึ่งของการทดลอง นักวิจัยได้ขอให้คุณผู้หญิงที่เข้าร่วมกิจกรรมเขียนลงไปในกระดาษว่าแต่ละ ครั้งที่สนทนาเรื่องอ้วนกับเพื่อนจะคุยว่าอะไรกันบ้าง

และนี่ก็เป็นตัวอย่างที่ผู้หญิงสองคนที่ไม่ได้มีน้ำหนักเกินกว่ามาตรฐานคุยกัน

เพื่อนคนที่ 1: "โอ๊ย ตายแล้ว ฉันรู้สึกอ้วนมากเลยเนี่ย"
เพื่อนคนที่ 2: "โอ๊ย บ้าเหรอ เธอไม่อ้วนสักหน่อย"
เพื่อนคนที่ 1: "เฮ้ย ฉันอ้วน ดูต้นขาฉันสิ"
เพื่อนคนที่ 2: "อ่ะ งั้นเธอมาดูต้นขาฉันเลย นี่"
เพื่อนคนที่ 1: "หืม นี่ เธอน่ะผอมยังกับกิ่งไม้"
เพื่อนคนที่ 2: "เธอก็เหมือนกันแหละ"

เป็นอย่างไร อ่านประโยคข้างบนนี้แล้วฟังดูคุ้นๆ หูไหม

ผลวิจัยชิ้นนี้บอกว่า ข้อโต้แย้งระหว่างผู้หญิงสองคนที่คุยกลับไปกลับมาว่าแต่ละคนก็ปฏิเสธว่าอีก คนอ้วนนั้น เป็นอะไรที่คาดเดาได้ และถือเป็นเนื้อหาที่เป็นแบบฉบับของการสนทนาเรื่องอ้วน

ผู้หญิงส่วนมากบอกว่ารู้สึกดีขึ้นกับตัวเองเมื่อได้คุยกับเพื่อนเรื่องความ อ้วน และมันก็ทำให้พวกเธอรู้สึกดีที่ว่าไม่ใช่เธอคนเดียวที่รู้สึกไม่ดีกับร่าง กายตัวเอง

อย่างไรก็ดี ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นด้วยว่าผู้หญิงที่บ่นเรื่องน้ำหนักของตัวเอง บ่อยเท่าใด ถึงแม้ว่าจะผอมก็ตาม ดูเหมือนว่าจะไม่มีความพอใจเกี่ยวกับร่างกายของตัวเองมากขึ้นเท่านั้น และดูเหมือนว่าพวกเธอจะยึดติดกับภาพความผอมของพวกบรรดานางแบบเป็นหลักอีก ด้วย

เมื่อเป็นเช่นนี้ แน่นอนว่าอาจไม่ใช่เพราะบทสนทนาเรื่องอ้วนที่ทำให้ผู้หญิงรู้สึกแย่ลง แต่อาจเป็นเพราะว่าคนที่รู้สึกแย่กับร่างกายตัวเองตั้งแต่ต้นนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่ชอบบ่นเกี่ยวกับรูปร่างตัวเองอยู่แล้ว และนิสัยดังกล่าวไม่ได้ช่วยให้ผู้หญิงพัฒนาความเชื่อมั่นในตัวเองหรือว่า เปลี่ยนแปลงทัศนคติเกี่ยวกับน้ำหนักตัวได้เลย

นักวิจัยเขียนว่าถึงแม้ว่าการให้กำลังใจทางสังคมและการมีส่วนร่วมทางอารมณ์ จะมองว่าดีในแง่ของจิตวิทยา แต่การที่คนไม่อ้วนรู้สึกว่าตัวเองก็อ้วนด้วยนั้นไม่ได้ช่วยอะไรในระยะยาว ในทางกลับกัน การคุยเรื่องดังกล่าวเป็นการส่งเสริมและตอกย้ำรูปร่างผอมบางให้กลายเป็นรูป ร่างหญิงในอุดมคติมากยิ่งขึ้น และความคิดที่ว่าไม่ชอบหุ่นของตัวเองก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้หญิง และสุดท้าย ผู้หญิงก็จะคาดหวังการคุยเรื่องประเภทนี้กับเพื่อน และจะรู้สึกกดดันที่จะมีส่วนร่วมในเรื่องดังกล่าว

จริงๆ แล้ว นักวิจัยยังค้นพบอีกด้วยว่า ถึงแม้ว่าผู้หญิงจำนวนมากใช้การคุยเรื่องอ้วนเพื่อหาความมั่นใจและคำปลอบใจ จากเพื่อน แต่ผู้หญิงหลายคนในกลุ่มตัวอย่างบอกว่าเธอไม่เชื่อเวลาที่เพื่อนของเธอ บอกว่าเธอไม่อ้วน

แต่ถ้าคิดว่าหากจะมีด้านดีของการที่บรรดาสาวๆ ขยันบ่นเกี่ยวกับน้ำหนักของตัวเองนั้น คือ มันอาจช่วยให้ผู้หญิงบางคนชักชวนเพื่อนของตัวไปทำให้หุ่นดีขึ้น นักวิจัยเล่าว่า เกือบจะเศษหนึ่งส่วนสี่ของผู้ทดลองระบุว่าการสนทนาเรื่องอ้วนระหว่างเพื่อน สาวสองคนอาจทำให้เธอทั้งคู่วางแผนหากลยุทธ์ลดน้ำหนักตัว เช่น ชวนกันไปออกกำลังกาย หรือ ชวนกันลดอาหาร แต่จะทำสำเร็จหรือเปล่านั้น นั่นก็แล้วแต่ความขยันและความมุ่งมั่นของแต่ละคน


ที่มา: http://healthland.time.com
แปลและเรียบเรียง: ทิพากร ศุภลักษณ์

 

 

 

กด Like เพื่ออัพเดตข่าวสารแบบผู้หญิงๆ ได้มากมายที่นี่!

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook