น่ารัก นุ่มลิ้น! บัวลอยสายแบ๊ว #จำเป็นต้องน่ารักขนาดนี้ไหม
เทศกาลโคมไฟหรือหยวนเซียวเจี๋ย ของจีนกำลังจะมาถึงในวันที่ 2 มีนาคมนี้ ซึ่งอาหารที่ชาวจีนนิยมทานกันในเทศกาลสุดพิเศษนี้ก็คงหนีไม่พ้น "บัวลอย" ที่ชาวจีนเรียกกันว่า “หยวนเซียว” หรือ “ทังหยวน” นั่นเอง
วันนี้เราจึงขอพาทุกท่านมาชมภาพขนมบัวลอยสุดน่ารักรูปการ์ตูนต่างๆ ที่หลายคนบอกว่าแบ๊วจนไม่กล้ากิน!
ว่าด้วยตำนานเกี่ยวกับการกินบัวลอยในเทศกาลโคมไฟ
ประเพณีการกินบัวลอยในเทศกาลโคมไฟ ของจีนนั้นมีที่มาจากไหนและเริ่มขึ้นตั้งแต่สมัยใด? มีตำนานเล่าสู่กันมาหลายแบบดังนี้
ตำนานแรกเล่าขานกันว่า ขณะอ๋องจาวแห่งแคว้นฉู่เดินกำลังทางกลับบ้านได้ผ่านแม่น้ำแยงซี และพบว่ามีสิ่งหนึ่งลอยอยู่บนผิวน้ำ สิ่งนั้นมีสีขาวๆปนเหลืองเล็กน้อยข้างในมีเนื้อสีแดงเข้ม รสชาติอร่อยยิ่งนัก ขงจื่อกล่าวว่า “สิ่งนี้คือผลของพืชน้ำ ผู้ใดที่ได้ครอบครอง จักเป็นผู้กุมชะตาของประเทศ” และช่วงเวลาดังกล่าวตรงกับวันที่ 15 ในเดือนแรกของปฏิทินจันทรคติพอดี ดังนั้นทุกครั้งที่วนมาถึงช่วงเวลานี้อ๋องจาวแห่งแคว้นฉู่จึงมีคำสั่งให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาใช้แป้งทำขนมเลียนแบบผลไม้ดังกล่าวขึ้นมา
อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า "หยวนเซียว" เดิมทีมีชื่อว่า “ทังหยวน” แต่พอมาถึงสมัยฮั่นอู่ตี้ ในวังมีหญิงนางหนึ่งนามว่า “หยวนเซียว” ทำขนม “ทังหยวน”ได้อร่อยล้ำเลิศ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาผู้คนจึงพากันเรียกชื่อขนมดังกล่าวตามชื่อของญิงคนนี้นั่นเอง แน่นอนว่าทั้งสองตำนานนี้เป็นเพียงแค่เรื่องที่เล่าต่อๆกันมา
เกี่ยวกับเทศกาลโคมไฟที่มีจดการจดในบันทึกประวัติศาสตร์ พบครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ซ่ง ตอนนั้นชื่อที่ผู้คนเรียกบัวลอยมีหลากหลายเช่นหยวนจึ “ฝูหยวนจึ” หรือ “หรู่ถังหยวนจึ” หรือยังเรียกกันอีกว่า “ถังหยวน”
และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขนมบัวลอยนี้ได้กลายมาเป็นอาหารในประเพณีโคมไฟเริ่มขึ้นในสมัยราชวงศ์ซ่งและทานสืบเนื่องต่อมาจนปัจจุบัน
ทั้งนี้ถึงแม้จะมีที่มาเดียวกันบัวลอย “หยวนเซียว”และ บัวลอย“ทังหยวน”ในปัจจุบัน จริงๆแล้วแตกต่างกันเพราะมีวิธีการทำไม่เหมือนกัน โดยหยวนเซียวของชาวจีนตอนเหนือนั้นจะใช้วิธีคลุกกับแป้งแต่ทังหยวนของชาวจีนทางตอนใต้นั้นจะใช้วิธีห่อ นอกจากนี้ปัจจุบันก็ยังมีการดัดแปลงรูปลักษณ์หรือเพิ่มรสชาติต่างๆให้กับแป้งบัวลอยเพื่อให้ถูกใจผู้บริโภคมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
อัลบั้มภาพ 16 ภาพ