ประเทศญี่ปุ่น ปลอดภัยที่สุด ในการมีลูก!! (UNICEF)

ประเทศญี่ปุ่น ปลอดภัยที่สุด ในการมีลูก!! (UNICEF)

ประเทศญี่ปุ่น ปลอดภัยที่สุด ในการมีลูก!! (UNICEF)
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วันนี้ทาง anngle.org/th ได้ไปเจอกับข้อมูลผลสำรวจจากทาง ยูนิเซฟ (United Nations Children’s Fund –UNICEF) ซึ่งเป็นผลสำรวจเกี่ยวกับความปลอดภัยสำหรับเด็กแรกเกิดค่ะ เนื้อหาจะเป็นอย่างไรมาติดตามดูกันค่ะ

ที่จริงแล้วประเทศญี่ปุ่นมีหลักการอาบน้ำให้เด็กแรกเกิดที่อนามัยมาก จนมีบันทึกสถิติไว้ว่า “ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยมากที่สุดในการอาบน้ำให้เด็กแรกเกิด” ค่ะ

นอกจากนั้นทางยูนิเซฟก็ได้มีผลสำรวจว่า “ญี่ปุ่นก็ยังเป็นประเทศที่มีความปลอดภัยสูงที่สุดสำหรับเด็กเกิดใหม่ ให้มีชีวิตผ่านเดือนแรกไปได้” เพราะอัตราการ “เสียชีวิต” ของเด็กแรกเกิดในญี่ปุ่นจะอยู่ที่ 1 ใน 1,111 คนเท่านั้นเองค่ะ ในขณะที่อันดับรองลงมา คือ ประเทศไอซ์แลนด์ จะมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1 ต่อ 1,000 คนค่ะ

อัตราการเสียชีวิต ต่ำที่สุด 
1 – ญี่ปุ่น (1 ใน 1,111)
2 – ไอซ์แลนด์ (1 ใน 1,000)
3 – สิงคโปร์ (1 ใน 909)
4 – ฟินแลนด์ (1 ใน 833)
5 – เอสโตเนีย (1 ใน 769)
5 – สโลวีเนีย (1 ใน 769)
7 – ไซปรัส (1 ใน 714)
8 – เบลารุส (1 ใน 667)
8 – ลักเซมเบิร์ก – (1 ใน 667)
8 – นอร์เวย์ – (1 ใน 667)
8 – เกาหลีใต้ – (1 ใน 667)

รายชื่อประเทศด้านบนนั้น เป็นรายชื่อประเทศ Top 10 ประเทศที่อัตราการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดน้อยที่สุดนะคะ แต่ในหลายประเทศเองก็มีสถานการณ์หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยเท่าไร ถ้าอย่างนั้นเราลองไปดูรายชื่อประเทศ Top 10 ที่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดบ้างกันดีกว่าค่ะ

อัตราการเสียชีวิต สูงที่สุด 
1 – ปากีสถาน (1 ใน 22)
2 – แอฟริกากลาง (1 ใน 24)
3 – อัฟกานิสถาน (1 ใน 25)
4 – โซมาเลีย (1 ใน 26)
5 – เลโซโท (1 ใน 26)
6 – กินี-บิสเซา (1 ใน 26)
7 – เซาท์ซูดาน (1 ใน 26)
8 – โกตดิวัวร์ (1 ใน 27)
9 – มาลี (1 ใน 28)
10 – ชาด (1 ใน 28)

อัตราการเสียชีวิตในเด็กแรกเกิดนับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่จริงๆค่ะ เพราะที่จริงแล้วในแต่ละปีจะมีเด็กแรกเกิดที่เสียชีวิตก่อนอายุหนึ่งเดือนถึง 2.6 ล้านคน ทุกๆปีค่ะ

เมื่อข้อมูลเหล่านี้เมื่อถูกส่งต่อๆไป ทำให้ชาวญี่ปุ่นต่างก็ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อข้อมูลเหล่านี้ว่า…..

“ฉันแทบจะร้องไห้เลยเมื่ออ่านผลสำรวจนี้ โลกมันไม่ได้ง่ายเลยนะเนี่ย”

“ว้าว!! สาธารณสุขของญี่ปุ่นดีกว่าที่ฉันคิดไว้อีกนะ”

“แต่ก็ยังมีการตายเกิดขึ้น เราต้องพัฒนาต่อไปนะ”

“การที่เรายอมรับให้สถิตินี้เป็นเรื่องธรรมดา มันก็จะคงอยู่อย่างนั้น แต่สิ่งแรกที่เราควรทำคือการเปลี่ยนแปลงมันด้วยการลงมือทำ”

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับข้อมูลสถิติและแนวคิดของคนญี่ปุ่นที่มีต่อข้อมูลนี้ หาก anngle.org/th เจอข้อมูลที่น่าสนใจอื่นๆ ก็จะคอยมานำเสนอให้แฟนๆได้อ่านกันนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook