“ไวรัสโรต้า” ปัญหาร้ายของลูกเล็กและระบบสาธารณสุขไทย

“ไวรัสโรต้า” ปัญหาร้ายของลูกเล็กและระบบสาธารณสุขไทย

“ไวรัสโรต้า” ปัญหาร้ายของลูกเล็กและระบบสาธารณสุขไทย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ส่งผลให้โรคภัยทุกวันนี้รุนแรงขึ้นและคุกคามความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเฉพาะเด็กๆ มากขึ้น งานหนักของกุมารแพทย์ที่มาร่วมการประชุมใหญ่ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15 ประจำปี 2554 จึงเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์และร่วมกันหาทางป้องกันโรคต่างๆ รวมถึงโรคท้องร่วงรุนแรงจากไวรัสโรต้าที่คร่าชีวิตทารกหลายแสนคนทั่วโลกในแต่ละปี

 


ศาสตราจารย์แพทย์หญิงอุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า "การที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เชื้อโรคมีการกลายพันธุ์ และมีโรคภัยใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ ทำให้วินิจฉัยและรักษาได้ยาก การประชุมในปีนี้จึงเน้นที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลเรื่องการป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวัคซีน

 

เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ ได้มากขึ้น เช่น โรคท้องร่วงรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ซึ่งมักเกิดขึ้นในเด็กเล็กๆ โดยในแต่ละปีมีเด็กเล็กๆ ทั่วโลกหลายแสนคนที่เสียชีวิตจากการติดเชื้อไวรัสนี้ ส่วนประเทศไทยก็มีเด็กเสียชีวิตเป็นจำนวนมากในแต่ละปีจากเชื้อนี้เช่นกัน"

 

 


ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า "เด็กที่ติดเชื้อไวรัสโรต้าจะมีอาการท้องร่วงอย่างหนัก ร่างกายสูญเสียน้ำและสารอาหารไปมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที เด็กอาจช็อค หรือเสียชีวิตได้"


วิธีการสังเกตอาการท้องร่วงรุนแรงจากไวรัสโรต้าคือ เด็กถ่ายเป็นน้ำ อาจมากถึง 7-8 ครั้งต่อวัน และมักจะมีไข้ขึ้นสูงถึง 39 องศาเซลเซียส อีกทั้งอาเจียนร่วมด้วยมากถึง 7-8 ครั้งต่อวัน ในบางรายอาจมีอาการรุนแรงขนาดอาเจียนหรือท้องเสียได้มากกว่า 20 ครั้งใน 24 ชั่วโมง

 

ศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวย้ำว่า "ด้วยความรุนแรงของโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า การป้องกันโรคจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ไม่ควรรีรอ คุณแม่ที่มีลูกอ่อนควรให้นมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานที่ดี นอกจากนี้ผู้ดูแลเด็กควรรักษาอนามัยอย่างเคร่งครัด เช่นหมั่นล้างมือก่อนเตรียมอาหารให้

 

 

 

เด็กทำความสะอาดมือเด็กและของเล่นเด็กบ่อยๆ เพราะเด็กเล็กๆ ชอบหยิบจับของเข้าปาก นอกจากนี้ วิธีหนึ่งที่มีประสิทธิภาพมากคือการให้วัคซีน หากเด็กได้รับวัคซีนเร็วก็จะได้รับการปกป้องเร็วขึ้นเท่านั้น ปัจจุบันมีวัคซีนที่ให้ทารกรับประทานแบบ 2 ครั้ง ที่ให้ทารกรับประทานเมื่ออายุ 2 เดือนและ 4 เดือน ซึ่งจะทำให้เด็กมีภูมิคุ้มกันเร็วตั้งแต่ 4 เดือน"


แม้การประชุมใหญ่ของสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยจะจบลงไปแล้ว แต่งานของกุมารแพทย์และพ่อแม่ยังไม่จบ เพราะต้องเร่งมือช่วยกันดูแลและป้องกันลูกเล็กเด็กในความดูแลให้ห่างไกลจากไวรัสโรต้า ยิ่งเริ่มต้นป้องกันได้เร็วเท่าไร ก็ยิ่งดี คุณแม่ที่มีลูกอ่อนหรือใกล้คลอด ควรรีบปรึกษาแพทย์และวางแผนให้ลูกน้อยได้รับการป้องกันด้วยวัคซีนตั้งแต่อายุ 2 เดือน เพื่อมั่นใจในการป้องกันไวรัสโรต้าตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook