นั่งนาน...ระวังตายเร็ว ภัยเงียบใกล้ตัวที่คนนั่งนานต้องรู้!

นั่งนาน...ระวังตายเร็ว ภัยเงียบใกล้ตัวที่คนนั่งนานต้องรู้!

นั่งนาน...ระวังตายเร็ว ภัยเงียบใกล้ตัวที่คนนั่งนานต้องรู้!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ในหนึ่งวันคนเราจะใช้เวลากับการนั่ง ไม่ว่าจะเป็นหน้าโต๊ะทำงาน, หน้าทีวี หรือหน้าโต๊ะคอม ฯลฯ เป็นเวลาสูงสุดถึง 9.3 ชั่วโมงต่อวัน มากกว่าเวลานอนซึ่งใช้เวลาเพียง 7.7 ชั่วโมง (ข้อมูลจาก medicalbillingandcoding.org) แม้การนั่งจะดูเหมือนไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การนั่งติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป จะส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างรุนแรง และมีงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า การนั่งนานๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ จนอาจกล่าวได้ว่า ยิ่งนั่งนาน อายุก็ยิ่งสั้น ด้วยปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ดังต่อไปนี้

มีโอกาสเสี่ยงอายุสั้น

จากผลการศึกษาของนักวิจัยจากประเทศออสเตรเลีย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสารทางการแพทย์ชื่อ Internal Medicine (อินเทอร์นัล เมดิซีน) ระบุว่า คนจำนวน 222,000 คน ที่ใช้เวลานั่งอยู่กับที่เป็นระยะเวลานานติดต่อกันมากกว่า 11 ชั่วโมงต่อวัน มีโอกาสเสียชีวิตได้่ในอีก 3 ปีข้างหน้าถึง 40% เมื่อเทียบกับคนที่ใช้เวลานั่งน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้นักวิจัยทางการแพทย์สหรัฐอเมริกา ออกมาบอกว่า การนั่งทำงานรวดเดียวเป็นเวลานานหลายชั่วโมง แม้จะออกกำลังกายเป็นประจำ ก็ยังเสี่ยงอายุสั้นอยู่ดี สอดรับกับการศึกษาจากสมาพันธ์มะเร็งอเมริกา ที่ทำการศึกษาถึงเวลานั่งและการออกกำลังกายกับอัตราการเสียชีวิตของอาสาสมัครระหว่างปี 1993-2006 ของอาสาสมัครชายหญิงจำนวน 53,440 และ 69,776 คนตามลำดับ ซึ่งไม่มีใครป่วยเป็นโรคมะเร็ง โรคหัวใจ อัมพาต และโรคปอด โดยระหว่างช่วงทำการศึกษา ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งนั่งพักนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้นเท่านั้น

กล้ามเนื้อเสื่อมสภาพ

ทั้งกล้ามเนื้อช่องท้องอ่อนแอ เนื่องจากการนั่งกล้ามเนื้อหน้าท้องจะไม่ถูกใช้งาน, สะโพกตึง การนั่งนานเกินไปจะทำให้เจ็บสะโพก โดยมีอาการตึงและขยับไม่ค่อยได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อหดและตึงขึ้นเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวสะโพกลำบาก เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุล้มได้ง่าย และกล้ามเนื้อก้นอ่อนแรง ส่งผลให้ทรงตัวได้ไม่ดีเมื่อลุกขึ้นยืน หรือก้าวย่างขณะเดินและกระโดด

สมองทำงานช้าลง

การที่ร่างกายอยู่นิ่งเป็นเวลานานๆ ทำให้เลือดและออกซิเจนไหลเวียนผ่านสมองน้อยลง ส่งผลให้สมองทำงานช้าลง จึงรู้สึกสมองตื้อ เฉื่อยชา และยังเพิ่มความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมอีกด้วย

ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง

บ่อยครั้งคนที่ชอบนั่งนานๆ มักจะมีพฤติกรรมนั่งไปกินไป ซึ่งการนั่งหลังทานอาหารเสร็จ บริเวณช่องท้องจะถูกบีบอัด ทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องผูก ท้องอืด เป็นตะคริว จุกแน่นแสบร้อนหน้าอก และภาวะขาดสมดุลของแบคทีเรียที่ดีในทางเดินอาหาร หรือหากทำจนเป็นนิสัย อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคอ้วน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรค?

เพื่อไม้ให้เรานั่งติดกันเป็นเวลานาน ควรจะขยับก้นบ้าง โดยควรปรับเปลี่ยนท่าทางบ่อยๆ หรือขยับร่างกาย ทุกๆ 10-15 นาที พยายามเดินบ้างเพื่อยืดเส้นสายและกล้ามเนื้อ และควรนั่งให้ถูกท่าคือ หลังตรง ใบหน้าลำคอตั้งตรง ไม่ต้องเกร็งจนเกินไป ให้ทำตัวทำไหล่ให้สบายๆ ธรรมชาติ ตั้งศอกและแขนให้ตรง 90 องศา สะโพกกับขาตั้งฉากกัน มีที่วางพักเท้าเวลานั่งทำงานนาน เพื่อไม่ให้เท้าลอยขึ้นมาเหนือพื้น ซึ่งการนั่งถูกท่า น้ำหนักจะถูกถ่ายเทไปที่เก้าอี้และขา แต่การนั่งผิดท่า โดยต้องโน้มตัวหรือก้มคอลงทำงาน จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยของร่างกาย และอาจมีอาการเหนื่อยล้าหนักกว่าปกติร่วมด้วย ซึ่งระยะเวลาที่พอเหมาะของการนั่งก็คือ ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมง โดยไม่มีการเปลี่ยนอิริยาบถหรือเคลื่อนไหวร่างกายไปกับกิจกรรมอื่นๆ ใดทั้งสิ้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook