10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก

10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก

10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การเปิดตัว "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ในฐานะปาร์ตี้ลิสต์เบอร์ 1 ของพรรคเพื่อไทย ทำให้ "ยิ่งลักษณ์" ถูกจับตามองอย่างมากในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย  "ผู้นำหญิง" ไม่ใช่เรื่องใหม่ในโลกแห่งเสรีประชาธิปไตย เพราะนับตั้งแต่ปี 2503 จนถึงปัจจุบัน หลายประเทศมีประธานาธิบดีหญิง หลายประเทศมีนายกรัฐมนตรีหญิง รวมทั้งสิ้น 67 คน

ช่วงนี้ใกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกทีแล้วและก็มีโอกาสที่จะมีนายกหญิงเป็นครั้งแรกสูงซะด้วย  วันนี้เลยขอนำเรื่องราวของผู้นำหญิงมาให้แฟนๆ ได้ชมกันในหัวข้อ "10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก"

 


1 เฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์

นายก รัฐมนตรีคนที่ 37 ของนิวซีแลนด์ เฮเลน คลาร์ก จากพรรคเลเบอร์ เธอชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1999 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2005 ประเทศนิวซีแลนด์อยู่อย่างสงบสุขและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนานโยบายการศึกษาดังจะเห็นได้ว่าผู้มีอันจะกินในประเทศไทยหลาย คนนิยมส่งลูกหลานของตนไปเรียนที่นิวซีแลนด์ เธอยังสนับสนุนการฟื้นฟู ประเพณีวัฒนธรรมของชาวเมารี และเปิดโอกาสให้ชาวเมารีมีสิทธิ์มีเสียงในการปกครองประเทศ จนเป็น สส. ในพรรคแรงงานได้ มีครั้งหนึ่งที่เธอเอ่ยปากขอโทษที่เหล่าชาวผิวขาวมา บุกรุกและแย่งแผ่นดินชาวเมารีในอดีตจนถูกนักการเมืองฝ่ายค้านยกมาโจมตีในสภา แต่เธอก็ไม่ยี่หระและกล่าวว่ามันคือความจริงที่ชาวนิวซีแลนด์และโลกต้องยอม รับ เธอปฏิเสธการส่งทหารเข้าร่วมสงครามอิรักของสหรัฐฯในปี 2003 ประกาศว่านิวซีแลนด์เป็นเขตปลอดนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงและเป็นดินแดนที่เป็น กลางอย่างสมบูรณ์แม้ว่าจะอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษก็ตาม ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเอ่ยคำชื่นชมเธอว่า เป็นเพื่อนเก่าที่แสนดี อย่างไรก็ดี เธอถูกสอบสวนในข้อกล่าวหาใช้งบประมาณเลือกตั้งเพื่ออุดหนุนพรรคแรงงานอย่าง ผิดปกติในการเลือกตั้งปี 2005 แต่พ้นผิดด้วยเหตุผลว่าหลักฐานไม่เพียงพอ

 


2 กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์

ประธานาธิบดี คนที่ 14 และประธานาธิบดีหญิงคนที่สองของฟิลิปปินส์(ต่อจากคอราซอน อาคิโน) บุตรีของรัฐบุรุษมาคาปากัล ดิออสดาโด จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ หลังศึกษาจบเธอเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะสมรสกับทนายความ หนุ่มโฮเซ่ มิเกล อาร์โรโยและเข้าสู่วงการเมือง โดยสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 1992 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสามัญครั้งแรกหลังการล้มล้างระบอบเผด็จการของเฟอร์ดิ นานด์ มาร์กอส อาร์โรโยลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ปี 1998 แต่ถูกอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส เกลี้ยกล่อมให้ลงสมัครเป็นรองประธานาธิบดีคู่กับโฮเซ่ เด เวเนเซีย แต่สุดท้ายแล้วผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคือ โจเซฟ เอสตราดา(หมายเหตุ : ฟิลิปปินส์แยกการเลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีแยกจากกันครับ) อาร์ โรโยลาออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี 2000 หลังจากประธานาธิบดีเอสตราดาถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริต เธอไม่ได้ร่วมขึ้นเวทีประท้วงเอสตราดาแต่ร่วมลงนามเรียกร้องให้เอสตราดาลา ออกจากตำแหน่งด้วย และหลังจากเกิดจลาจลต่อต้านเอสตราดารุนแรง ศาลฎีกาสูงสุดของฟิลิปปินส์ประกาศให้เอสตราดาหลุดจากตำแหน่ง และคณะผู้พิพากษาลงความเห็นตามข้อกฎหมายให้อาร์โรโยขึ้นเป็นประธานาธิบดีคน ใหม่ของฟิลิปปินส์แทนเอสตราดาในปี 2001 อาร์โรโยบริหารประเทศ ฟิลิปปินส์ตามรูปแบบรัฐการ และสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยว เห็นด้วยและสนับสนุนการทำสงครามอิรักของสหรัฐฯโดยส่งทหารฟิลิปปินส์เข้าสู่ สมรภูมิด้วย เนื่องจากต้องการการสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์เพื่อต่อต้านกลุ่มกบฎแบ่งแยกดิน แดนและผู้ก่อการร้ายตามหมู่เกาะต่างๆ เช่น กลุ่มอาบู ไซยาฟ ที่มินดาเนา เป็นต้น รัฐบาลของอาร์โรโยถูกต่อต้านและกล่าวหาจากทั้งผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี เอสตราดาและกลุ่มทหาร แต่ประชาชนและคริสตจักรคาทอลิกยังให้ความเชื่อมั่นในตัวเธออยู่เนื่องจาก สภาพเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ดีขึ้นจากสมัยของเอสตราดาพอควร อาร์ โรโยนับถือและเชื่อมั่นแนวทางการบริหารเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิกส์ เปิดเสรี FTA ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงนำนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ไทยปรับปรุงจากแนวทางของเมืองโออิ ตะ ประเทศญี่ปุ่น ไปประยุกต์ใช้เรียกว่า Philippines OTOP (One Town One Product) ซึ่งก็ถูกฝ่ายค้านระบุว่าสร้างภาพและล้มเหลวเช่นเดียวกันกับไทย

 

3 ยูเลีย โวโลดึยเมียเรียฟนา ทึยโมเชงโก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐยูเครน

" โจน ออฟ อาร์คแห่งยูเครน" ที่มาพร้อมกับเอกลักษณ์ประจำตัวคือผมถักสีบลอนด์ จบเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยดมิโปรเปตรอฟสก์แห่งโซเวียต ประสบความสำเร็จในธุรกิจเครือข่ายร้านเช่าวิดีโอที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบาย เปเรสทรอยกา ในสมัยประธานาธิบดี มิฮาอิล กอร์บาชอฟ และได้เข้าไปมีส่วนบริหารบริษัทพลังงานในเครือก๊าซพรอมของรัสเซียหลัง โซเวียตล่มสลาย เธอได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาในฐานะสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรครั้งแรกในปี 1996 สร้างกลุ่มการเมืองของตัวเองเข้ามามีบทบาทต่อรองอำนาจในรัฐสภายูเครน ระหว่างนั้นเธอถูกรัฐบาลมอสโคว์ตั้งข้อหาลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนระหว่างพรม แดนรัสเซีย-ยูเครน และถูกประกาศจับห้ามเข้าประเทศรัสเซียระยะหนึ่ง จนปี 2002 ที่เธอเป็นหัวหน้าพรรคปิตุภูมิ(บัตเคียฟสกินา) และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภา 7.6 % ของจำนวน สส. ในปี 2005 เธอตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐยูเครนสมัย แรก แต่ถูกประธานาธิบดีวิกตอร์ ยูซเชงโกปลดออกในเวลา 9 เดือนด้วยเหตุว่า รัฐบาลของเธอบริหารเศรษฐกิจได้ย่ำแย่ และเกิดความแตกแยกในกลุ่มพรรคพันธมิตรที่เคยสนับสนุนเธอมาก่อน อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งสามัญปี 2006 พรรคของเธอได้รับเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก และรวมกลุ่มพรรคพันธมิตรตั้งรัฐบาลได้อีกครั้ง ด้วยความสนับสนุนของประธานาธิบดียูซเชงโก ในปี 2008 เกิดความร้าวฉานระหว่างนายกฯยูเลียและประธานาธิบดียูซเชงโก ในกรณีสงครามจอร์เจีย-เซาธ์ออสเซเทีย-รัสเซีย เนื่องจากประธานาธิบดียูซเชงโกให้การสนับสนุนจอร์เจียแต่นายกฯหญิงยูเลียไม่ เห็นด้วยกับการประณามรัสเซีย และเสนอว่ายูเครนควนดำเนินนโยบายเป็นกลาง จึงเสนอร่างกฎหมายสอบสวนประธานาธิบดีเพื่อปลดออกจากตำแหน่ง และก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองอีกครั้งในยูเครน นักวิจารณ์กล่าวว่า ยูเลียเป็นนักบริหารที่เล่นการเมืองเก่ง แต่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าทรัพย์สินของเธออาจได้มาโดยมิชอบ เธอยังถูกกล่าวหาว่าเล่นพรรคเล่นพวกและพยายามปกครองในรูปแบบคณาธิปไตย รวมถึงมีแนวโน้มเข้าข้างรัสเซีย แต่เมื่อดูจากประวัติของเธอแล้วก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เธอเป็นผู้นำหญิงที่เก่งกาจและงดงามมากที่สุดคนหนึ่งของโลก

 

4 ซีไนดา กราเซียนี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐมอลโดวา

นายก รัฐมนตรี หญิงจากพรรคคอมมิวนิสต์คนแรกและคนเดียวของโลก ณ เวลานี้ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ หมาดๆ ในเดือนมีนาคม 2008 ซีไนดา เปตรอฟนา กราชนายา เกิดในเขต ทอมสก์ สหภาพโซเวียต ในปี 1956 จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การเงินจากมหาวิทยาลัยแห่งมอลโดวา เธอ ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังมอลโดวาในปี 2000 และเป็นรัฐมนตรีว่าการโดยการสนับสนุนของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ โวโรนิน ในปี 2002 และเมื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมลาออก ประธานาธิบดีโวโรนินเสนอชื่อเธอเพื่อรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเธอได้รับเสียงสนับสนุนในสภา 56 จาก 101 เสียง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของสาธารณรัฐมอลโดวาเมื่อเดือนมีนาคม 2008

 

5 ลุยซา ดิแอซ ดิโอโก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐโมซัมบิก

นายก รัฐมนตรีหญิงคนแรกของดินแดนอดีตอาณานิคมโปรตุเกส ลุยซา ดิโอโก จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตจาก LSE (London School of Economics) เธอปฏิบัติงานที่ธนาคารโลกเพื่อการพัฒนาประเทศโมซัมบิกมาก่อน แล้วจึงเข้าสู่วงการเมืองผ่านพรรค FRELIMO ซึ่งปกครองประเทศโมซัมบิกตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1975 เธอรับ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2004 เธอสร้างมิติใหม่ให้แก่ประเทศโมซัมบิกด้วยการรณรงค์ด้านสาธารณสุข ลดอัตราการตายของหญิงมีครรภ์ลงกว่า 75% ลดการแพร่กระจายโรคเอดส์ ตั้งเครือข่ายนักการเมืองและรัฐมนตรีหญิงเพื่อความเท่าเทียมของสิทธิทางการ เมือง รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริการ่วมมือกัน ปัจจุบัน โมซัมบิกมีการพัฒนาดีขึ้นกว่าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ทั้งการสาธารณสุขและเศรษฐกิจ GDP รายปีต่อประชากรเพิ่มขึ้น 80% และไม่มีปัญหาขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ทรัพยกรธรรมชาติ สัตว์ป่า และป่าไม้ ได้รับการฟื้นฟู แต่คุณภาพด้านการศึกษาของประชากรยังเป็นปัญหาเนื่องจากเด็กๆส่วนใหญ่ยังต้อง ใช้แรงงานช่วยเหลือครอบครัวในการเกษตร

 

6 อังเกลา แมร์เคิล สมุหนายกแห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี

"หญิง เหล็กแห่ง เยอรมัน" และ "บิสมาร์คหญิง" คือสมญานามของสมุหนายก(Chancellor)หญิงคนแรกของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีผู้ นี้ สตรี ผู้ทรงอำนาจอันดับ 1 ของโลกปัจจุบันจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ผู้ก้าวมาจากอาชีพนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ในเยอรมันตะวันออกได้พลิกโฉมหน้าของ เยอรมันในยุคศตวรรษที่ 21 ให้ก้าวมามีบทบาทในประชาคมโลกอย่่างเต็มภาคภูมิเยี่ยงเดียวกับที่ออตโต ฟอน บิสมาร์ค ทำให้ปรัสเซียยิ่งใหญ่ แมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบวร์ก เป็นบุตรสาวของบาทหลวงนิกายลูเธอแรนและครูสอนภาษาละติน จบการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยไลป์ซิก และทำงานในห้องวิจัยวิทยาศาสตร์แห่งไลป์ซิกจนได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้วย ผลงานวิชาการด้านเคมีควอนตัม เธอสนใจก้าวสู่วงการการเมืองหลังการ ล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 และเข้าไปเป็นโฆษกพรรคประชาธิปไตยตื่นเถิด(Demokratischer Aufbruch) ในการเลือกตั้งครั้งแรกและครั้งเดียวของเยอรมันตะวันออกก่อนการรวมประเทศใน ปี 1990 ซึ่งเธอได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์(Bundestag)อีกครั้ง ในนามพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU) ซึ่งหลังจากการพ่ายแพ้ของเฮลมุต โคห์ล ในปี 1998 แมร์เคิลได้รับเลือกขึ้นเป็นเลขาธิการพรรค และนำพาพรรคได้ชัยชนะติดต่อกันหกในเจ็ดครั้ง ขึ้นเป็นผู้นำฝ่ายค้านเสียงข้างมากของเยอรมัน แมร์เคิลสนับสนุนแนว คิดพันธมิตรร่วมเยอรมัน-อเมริกันในสงครามอิรักเมื่อปี 2003 และต่อต้านการคัดค้านอเมริกาของอดีตสมุหนายกแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์อย่างรุนแรงจนนักวิจารณ์กล่าวหาเธอว่าเป็นลูกไล่อเมริกา เมื่อถึงการเลือกตั้งในปี 2005 พรรค CDU ได้เสียงข้างมากพร้อมกับพรรคพันธมิตร ตั้งรัฐบาลผสมและขึ้นเป็นสมุหนายกหญิงคนแรก เธอพลิกบทบาทมาเป็นการทยอยถอนทหารเยอรมันออกจากอิรัก และการนำสหภาพยุโรปให้มีบทบาทคานอำนาจในวงการการเงินและเศรษฐกิจโลกในปัญหา จริยธรรมของธนาคารโลกและ IMF ในปี 2007 แมร์เคิลได้รับตำแหน่งประธานสภายุโรปและประธาน G8 ตามวาระ เธอมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินเพื่อการรวมสหภาพ ยุโรป ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส มอบรางวัลพิเศษ "Charlemagne Prize" แก่แมร์เคิลเพื่อเป็นเกียรติในฐานะผู้พยายามปฏิรูปสหภาพยุโรปให้แข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งเดียวกว่าเดิม แมร์เคิลและรัฐบาลของเธอถูกวิพากษ์ วิจารณ์ในกรณีนำภาษีของชาวเยอรมันตะวันตกไปอุดหนุนการพัฒนาเขตตะวันออกที่ เพิ่งเปลี่ยนสู่ระบบทุนนิยม แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำเพื่อความเสมอภาคของชาวเยอรมัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาผู้อพยพชาวตุรกีและโปแลนด์ รวมถึงการพิจารณายกเลิกค่าเสียหายที่รัฐบาลเยอรมันต้องจ่ายให้อิสราเอลเพื่อ ชดเชยโศกนาฏกรรมยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกปีอีกด้วย เป็นที่รู้กัน ดีว่าแมร์เคิลเป็นแฟนฟุตบอลตัวยง และติดตามการแข่งขันนัดสำคัญของทีมฟุตบอลเยอรมันแทบทุกนัด ดังจะเห็นจากนัดชิงชนะเลิศยูโร 2008 ที่แมร์เคิลนั่งชมเกมนัดชิงร่วมกับนายกรัฐมนตรี โฮเซ่ มาเรีย ซาปาเตโร แห่งสเปนคู่แข่งนัดชิงชนะเลิศอย่างเอาจริงเอาจัง เธอได้รับตำแหน่งนักเตะและสมาชิกกิตติมศักดิ์ของทีมเอแนร์กี้ ค็อตบุสในบุนเดสลีกาอีกด้วย

 

7 เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ประธานาธิบดีแห่งไลบีเรีย

"หญิง เหล็กแห่ง แอฟริกา" ประธานาธิบดีหญิงที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของทวีปแอฟริกา ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง เธอจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศและศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะกลับไลบีเรียตามคำขอร้องของรัฐบาล เพื่อเป็นรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลประชาธิปไตยที่ถูกรัฐประหารในปี 1980 เธอถูกจำคุกนานถึง 10 ปี หลัง ได้รับการปล่อยตัว เอลเลนเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา และเข้าทำงานกับซิตี้แบงค์ และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานฝ่ายแอฟริกา ต่อมาเมื่อนายพลชาร์ลส์ เทย์เลอร์ ก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลทหารเดิมของแซมวล โด จนเกิดสงครามกลางเมืองและพยายามจัดการเลือกตั้งในไลบีเรีย เอลเลนร่วมสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง และถูกกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้งจนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจาก นั้นสงครามกลางเมืองได้ปะทุขึ้นอีกครั้งเนื่องจากการแทรกแซงจากประเทศเพื่อน บ้าน และการบุกรุกดินแดนข้างเคียงของนายพลเทย์เลอร์ จนเทย์เลอร์ถูกกดดันให้ลี้ภัยออกจากประเทศ และตั้งคณะกรรมการปฏิรูปรัฐขึ้นโดยมีเอลเลน จอห์นสัน-เซอร์ลีฟ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้วย ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้งสามัญอีกครั้งโดยเอลเลนเข้าเลือกตั้งต่อสู้กับนัก ฟุตบอลชื่อดัง จอร์จ เวอาห์ และชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2005 หลัง ได้รับการเลือกตั้ง เอลเลน จอห์นสัน-เซอร์ลีฟ ปฏิรูปไลบีเรียด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาผ่านการสนับสนุน ของคอนโดลีซซา ไรซ์ ลอรา บุช และมิแชลล์ ฌอง(ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ประจำแคนาดา) เธอประกาศให้ฟรีการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสาธารณูปโภคที่เสียหายจากสงครามกลางเมือง เธอได้รับเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 2007

 

8 มิเชล ปิแอร์-ลูอิส นายกรัฐมนตรีแห่งเฮติ

นายก รัฐมนตรี หญิงคนที่สองของประเทศเฮติ อดีตประธานองค์กร NGO ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจอร์จ โซรอส ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีเรอเนต์ เปรอวาล ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2008 เธอ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเฮอริเคนเข้าถล่มคาบสมุทรแคริบเบียนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เฮอริเคนกุสตาฟ เฮอริเคนฮันนาห์ และเฮอริเคนไอค์

 

9 คริสตินา แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา

"Don't Cry For Me, Argentina" ประโยคเด็ดของเอวิตา เปรอง ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของคริสตินา แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอาร์เจนตินา รวมถึงวิถีขึ้นสู่อำนาจของเธอก็เช่นเดียวกัน จนชาวอาร์เจนติน่าต่างตั้งสมญานามเธอว่า "อีวา(เปรอง) คนที่สอง" คริ สตินาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อจากสามีของเธอ เนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ เช่นเดียวกับเอวิตา เปรองที่ได้รับเลือกต่อจากฮวน เปรอง ด้วยคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งขันกว่า 22% เธอจบการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลา ปลาตา และพบรักกับเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ในมหาวิทยาลัยนั่นเอง รัฐ บาลของเกิร์ชเนอร์เป็นแนวร่วมกับเวเนซุเอลาของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ในการต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐในเขตละตินอเมริกา เธอถูกกล่าวหาว่ารับเงินสนับสนุนจากฮูโก ชาเวซ มาใช้ในการเลือกตั้ง และหลังจากสาบานตนรับตำแหน่ง มีการสอบสวนในคดีเงินปริศนา 790,000$ ที่ทนายความของเธอถือขึ้นเครื่องบินที่เวเนซุเอลา แต่เรื่องก็เงียบไปหลังมีการพาดพิงถึงเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุง บัวโนส ไอเรส ในเดือนมีนาคม-เมษายน เกิดการประท้วงของเกษตรกรกว่า 25,000 คน หลังจากรัฐบาลคริสตินาออกกฎหมายขึ้นภาษีส่งออกถั่วเหลือง และมีการประท้วงรุนแรงถึงขั้นล้อมทำเนียบประธานาธิบดีกลางกรุงบัวโนส ไอเรสไว้ ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาประท้วงทำให้ความนิยมของเธอร่วงลงกว่า 20% ถูกนิตยสารการเมืองและเศรษฐกิจวิจารณ์ว่า สามีของเธอชักใยการบริหารอยู่เบื้องหลังทำให้เธอไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา ได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาเธอได้แก้ไขกฎหมายใหม่และรองประธานาธิบดี จูลิโอ โคบอส ลาออกเพื่อรับผิดชอบนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้ความนิยมของคริสตินากลับมาสูงอีกครั้งหนึ่ง ฮูโก ชาเวซ ตั้งข้อสงสัยกรณีประท้วงดังกล่าวว่า อาจเกิดจากหน่วยสืบราชการลับ CIA ของสหรัฐฯสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง แต่เอกอัครราชทูตสหรัฐปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา

 

10 เวโรนิกา มิเชล บาชแล็ต ประธานาธิบดีแห่งชิลี

ประธานาธิบดี หญิงของประเทศที่ยาวที่สุดในโลกและมีช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน มากที่สุดในโลก ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2006 มิเชล มีเชื้อสายฝรั่งเศส-กรีซ พูดได้ 6 ภาษา และประกาศว่าไม่นับถือศาสนาใดๆทั้งสิ้น ใน วัยเด็ก เธอใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในฐานะลูกสาวเศรษฐีไร่องุ่น แต่เมื่อนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ก่อการปฏิวัติได้จับบิดาของเธอซึ่งเป็นอดีตอธิบดีกรมปันส่วนอาหารไปทรมาน และขังครอบครัวของเธอไว้ในค่ายกักกันหลายแห่ง และสุดท้ายถูกเนรเทศออกจากชิลีไปสู่ออสเตรเลีย เธอจบการศึกษาแพทย ศาสตร์จากเยอรมันที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก ในระหว่างที่ชิลีปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ในกรุงเบอร์ลิน อยู่ 2 ปี จนได้กลับสู่ประเทศชิลีอีกครั้งในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรม ระหว่างนั้นเธอพบรักกับอเล็กซ์ โวจโควิค เทรียร์ หนึ่งในคณะก่อการลอบสังหารนายพลปิโนเชต์ในปี 1986 แต่ล้มเหลวซึ่งความสัมพันธ์ก็หยุดลงแค่นั้น ต่อมาหลังนายพลปิโนเชต์เสียอำนาจ และชิลีกลับมาเป็นประชาธิปไตย เธอเข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลกเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในทวีปอเมริกา ตามด้วยเข้าศึกษาทางยุทธศาสตร์ทหารในวิทยาลัยป้องกันประเทศ และวิทยาลัยสหอเมริกาเพื่อการป้องกันประเทศแห่งกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และกลับสู่ประเทศชิลีในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสประจำรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมชิลี ในปี 1996 มิเชลสมัครลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกในปลายปี 1996 แต่พ่ายแพ้ได้คะแนนเป็นอันดับ 4 ในปี 2000 เธอได้รับเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขโดยรัฐบาลของประธานาธิบดีริคา ร์โด ลากอส และมีผลงานยอดเยี่ยมในการลดเวลารอคิวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐลง 90% และสนับสนุนการใช้ยาคุมกำเนิดหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดอัตราการทำแท้ง ในปี 2002 เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้บริหารนโยบายสมานฉันท์และคืนสภาพให้แก่ผู้ถูกรัฐบาลเผด็จการของปิโนเชต์ ย่ำยีสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2006 มิ เชลสนับสนุนการทำ FTA และการค้ากับประเทศต่างๆในเอเชีย ทั้งจีน บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้นำคนอื่นๆในละติ นเมริกาที่ต่อต้านอิทธิพลสหรัฐฯ ในสมัยของเธอ ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนลดลงมาก มีการกวาดล้างข้ารัฐการที่ทุจริตคอรัปชันซึ่งทำงานมาตั้งแต่สมัยนายพลปิโนเช ต์ อย่างไม่ไว้หน้า ปัจจุบัน ชิลีได้รับการสนับสนุนให้มีที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ถูกคัดค้านโดยเปรูและเวเนซุเอลา

 

ขอบคุณข้อมูล : http://www.toptenthailand.com

 

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ

อัลบั้มภาพ 10 ภาพ ของ 10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook