โรค Social Jet lag ตัวการทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย โรคที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรมองข้าม!

โรค Social Jet lag ตัวการทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย โรคที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรมองข้าม!

โรค Social Jet lag ตัวการทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย โรคที่มนุษย์เงินเดือนไม่ควรมองข้าม!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากคนเรามีพฤติกรรมแปลกๆ ที่ถูกเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยครั้ง จนร่างกายปรับตัวไม่ทัน ก็ย่อมเป็นบ่อเกิดของปัญหาสุขภาพทำให้เจ็บป่วยหรือเป็นโรคต่างๆ ตามมาได้ง่าย และสาเหตุนี้แหละที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย จนไม่อยากทำงานหรือทำอะไรเลย เรียกว่าอาการ Social Jet lag โรคนี้คืออะไร สาเหตุ อาการและการรักษาเป็นอย่างไรบ้าง เราไปติดตามกันเลยค่ะ

รู้จักโรค Social Jet lag

ส่วนใหญ่แล้วโรค Social Jet lag จะเกิดขึ้นกับคนวัยทำงานหรือที่เรียกกันว่ามนุษย์เงินเดือน เป็นอาการที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย อยากหลับในขณะที่กำลังทำงานอยู่ เกิดจากตารางเวลาทำงานที่ไม่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวิตของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น ปกติร่างกายจะต้องการพักผ่อนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน แต่บางคนนอนดึกและต้องตื่นเช้ามาทำธุระส่วนตัวอีก ทำให้เวลาในการทำงานไม่สอดคล้องกับนาฬิกาของร่างกายจึงเกิดเป็นโรค Social Jet lag ขึ้นนั่นเอง

โรค Social Jet lag ได้รับการวิจัยโดยคณะวิจัยของ Dr. Roenneberg ซึ่งได้ทำการทดลองกับพนักงานที่เป็นลูกจ้างในประเทศเยอรมนี วิธีการทดลองของคณะวิจัยคือ ให้พนังงานได้ทำงานตามเวลาปกติที่ตรงตามพฤติกรรมการนอนของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ตื่นเช้าและเช้านอนเร็วจะให้ทำงานตอนเช้า ส่วนคนที่นอนดึกและตื่นสายให้ทำงานตอนดึกแทน ผลการวิจัยปรากฏว่าคนที่ตื่นเช้าและเช้านอนเร็ว สามารถทำงานออกมาได้ดีกว่ากลุ่มที่นอนดึกและตื่นสาย

ภายหลังมีการวิจัยเพิ่มเติมอีกว่าโรค Social Jet lag นอกจากจะทำให้เกิดความอ่อนเพลียต่อร่างกายแล้ว ยังทำให้เกิดผลเสียอื่นๆ ตามมาด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคอ้วน โดยผู้ที่เป็นโรค Social Jet lag มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วนเพิ่มขึ้นถึง 33 เปอร์เซ็นต์ และในคนที่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เมื่อคนเหล่านี้มีอาการของโรค Social Jet lag จะทำให้เกิดความต้องการสิ่งนั้นๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย

แนวทางรักษาป้องกัน ทำได้อย่างไร?

สรุปแล้วโรค Social Jet lag เป็นโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย อ่อนล้าอ่อนแรง และง่วงตลอดเวลา โดยมีสาเหตุมาจากการบริหารเวลาที่ไม่ถูกต้อง เมื่อมองจากสาเหตุของการเกิดอาการนี้แล้ว ทางการแพทย์จึงได้กำหนดแนวทางในการป้องกันขึ้น และเป็นวิธีที่ง่ายมากๆ คือ เข้านอนเร็ว นอนพักผ่อนให้เพียงพอ โดยปกติแล้วควรนอนพักผ่อนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน ดื่มน้ำวันละ 7-8 แก้ว ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และพยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง สุดท้ายคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่วนใหญ่แล้วการออกกำลังกายที่ได้ผลดีที่สุดคือ ประมาณ 3- 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพียงเท่านี้ก็ทำให้ห่างไกลโรค Social Jet lag แล้ว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook