5 โรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง
เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายของคุณแม่จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงการใช้ชีวิตก็ต้องคอยระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เพื่อลูกรักในครรภ์จะได้เกิดมาดูโลกอย่างสดใสและแข็งแรงนั่นเอง และสิ่งที่คุณแม่ทั้งหลายจะต้องระวังมากที่สุด ก็คือภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้นั่นเอง ซึ่งได้แก่
1.ครรภ์เป็นพิษ
เป็นโรคที่คนท้องต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะโรคนี้หากเป็นในขั้นที่สองแล้วอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการคนท้องที่เป็นโรคครรภ์เป็นพิษมีสองระยะ ได้แก่
ระยะแรก มึนงง ตาลาย และปัสสาวะน้อยผิดปกติ แต่จะมีน้ำหนักตัวมากขึ้นจากอาการบวมน้ำ
ระยะสอง ความดันโลหิตสูงกว่า 160/110 มีอาการปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ซึ่งเป็นผลจากความดันสูงกระทบสมอง หนักที่สุดคือมีอาหารชักและหมดสติ หากเป็นในขั้นนี้คนท้อง จะต้องทำการผ่าตัดคลอดทันที เพื่อช่วยชีวิต แต่ทารกในครรภ์ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน
การรักษา วีธีการรักษาที่ได้ผลสุดคือยุติการตั้งครรภ์ลงไม่ว่าจะเป็นการให้คลอดแบบธรรมชาติ หรือผ่าตัดคลอด แต่หากทารกยังมีอายุไม่ถึงเกณฑ์อาจต้องทำแท้งเพื่อรักษาชีวิตของคุณแม่เอาไว้
เป็นโรคที่มักจะแสดงอาการของอารมณ์ที่แปรปรวนผิดไปจากอาการคนท้องปกติ ซึ่งความรุนแรงของโรคนี้อาจส่งผลให้คนท้องนั้นเกิดความเครียดถึงขั้นฆ่าตัวตายได้
อาการ คนท้องจะมีอาการเบื่ออาหาร, คิดหรือตัดสินใจยากขึ้น หรือหากตัดสินใจผิดพลาดก็จะยิ่งมีอาการซึมเศร้ามากขึ้นไปอีก
การรักษา สามีหรือคนในครอบครัวต้องแสดงความใส่ใจและคอยดูแลเอาใจอย่างใกล้ชิด เพียงเท่านี้คนท้องก็จะไม่เกิดความรู้สึกซึมเศร้าแล้ว
3.ตับผิดปกติ
อาการนี้เกิดจากน้ำดีมีปริมาณมากเกินไปและเป็นพิษ หนักที่สุดคือน้ำดีเข้าสู่กระแสเลือดซึ่งมีความอันตรายเป็นอย่างมาก
อาการ คันรุนแรงที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า หรืออาจลามทั่วทั้งร่างกาย, ปัสสาวะมีสีเข้มซึ่งไม่เหมือนกับอาการคนท้องทั่วไป และอาจมีอุจจาระเป็นสีเขียวได้อีกด้วย
วิธีรักษา แพทย์อาจจะทำการกระตุ้นให้คลอดเร็วขึ้นเมื่อตั้งครรภ์ได้ 36-38 สัปดาห์ เพื่อความปลอดภัยของทารกในครรภ์และตัวคุณแม่ หลังจากนั้นคุณแม่ต้องตรวจเลือดและร่างกายหลังคลอดอีกครั้งว่าโรคดังกล่าวได้หายไปแล้วหรือไม่
4.โรคไทรอยด์
โรคนี้เป็นต้นกำเนิดของอีกหลายๆ โรคต เช่น ครรภ์เป็นพิษ, แท้ง, คลอดก่อนกำหนด หรือมีผลกับร่างกายและสมองของทารกได้
อาการ อาการคนท้องที่เป็นโรคไทรอยด์จะมือสั่น ใจสั่น หงุดหงิดหรือเหงื่อออกมากผิดปกติ ทำให้ไม่เป็นตัวของตัวเอง
การรักษา แพทย์จะให้ยารักษาที่ทำงานกับไมรอกซินจนคุณแม่มีอาการปกติ ซึ่งยานี้จะไม่มีผลกับทารกในครรภ์แต่อย่างใด
5.โรคธาลัสซีเมีย
เป็นโรคที่มีความผิดปกติกับเลือดเป็นหลัก ซึ่งสามารถติดต่อทางพันธุกรรมจากแม่ไปสู่ลูกได้ ดังนั้นก่อนตั้งครรภ์ จึงควรตรวจสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมก่อนเสมอ
อาการ ตาเหลือง, ผิวซีดเซียวมีร่องรอยของโรคเลือดจางให้เห็นภายนอก หากรุนแรงมากร่างกายจะซีดเหลือง ตับและม้ามโต
การรักษา แพทย์จะทำการวินิจฉัยก่อนว่าอาการของโรครุนแรงส่งผลถึงทารกมากเพียงใด เพราะถ้าหากมีอาการรุนแรงมากจนส่งผลถึงทารก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์ เพราะโรคนี้หากเป็นแล้วโอกาสที่จะรักษาให้หายขาดได้นั้นค่อนข้างยากและหากทำได้ก็ใช้เวลานานหลายปี
เป็น 5 โรคที่คนท้องต้องคอยระวังเป็นพิเศษและครอบครัวก็ต้องให้ความสนใจและใส่ใจผู้ตั้งครรภ์กันด้วย เพื่อจะได้ป้องกันและพบแพทย์เพื่อรักษาทันทีเมื่อพบความผิดปกตินั่นเอง