โรคธาลัสซีเมียกับการตั้งครรภ์ ภัยร้ายที่หลายคนไม่รู้
การตั้งครรภ์ นั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่ง เพราะหมายถึงการให้กำเนิดอีกชีวิตหนึ่งสู่โลกใบนี้ แต่การตั้งครรภ์นั้นก็นำมาซึ่งอันตรายมากมายกับผู้ที่คุณแม่เพราะคนท้องนั้นจะมีภาวะของภูมิคุ้มกันที่ต่ำกว่าปกติ อีกทั้งอาการคนท้องเองก็เอาแน่เอานอนไม่ได้อีกด้วย และโรคที่มักแฝงตัวมาในคนท้องก็คือ โรคธาลัสซีเมีย
โรคธาลัสซีเมีย เกิดจากอะไร
โรคธาลัสซิเมียนั้นเป็นโรคที่มาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย โดยส่วนมากแล้วผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้จะได้รับความผิดปกติมาจากพ่อหรือแม่ก่อนหน้า โดยปกติแล้วผู้เป็นโรคนี้จะไม่ได้มีอาการใดๆ เพราะเชื้อจะแฝงอยู่ภายในร่างกาย แต่อาจจะมีความรุ่นแรงในรุ่นหลานได้ ซึ่งต้องให้การดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในส่วนของคนท้องนั้น หากมีโรคธาลัสซิเมียแฝงอยู่แล้วก็อาจจะแสดงอาการได้มากขึ้น
อาการของโรค
อาการคนท้องที่มีโรคนี้แฝงอยู่จะมีอาการซีดอย่างเห็นได้ชัด เหลือง เหนื่อยง่ายและอ่อนเพลีย อัวัยวะภายในอย่างตับและม้ามจะโต และมีปัสสาวะสีเข้มอีกด้วย หากไม่สังเกตอาการก็อาจจะไม่ทราบและมองว่าเป็นเรื่องปกติสำหรับการตั้งครรภ์
มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซิเมียหรือไม่ ?
สำหรับโอกาสในการถ่ายทอดยีนที่ผิดปกติไปสู่ลูกนั้นจะมีอัตราเสี่ยงที่อยู่ในเกณฑ์ที่เท่ากัน แต่อาจะแตกต่างกันในเรื่องของกรณีที่พ่อหรือแม่มียีนแฝงเพียงคนเดียว แต่หากมียีนแฝงท้องสองคนโอกาสที่ลูกจะได้รับยีนแฝงไปด้วยก็จะมีมากกว่านั่นเอง ซึ่งเราได้จำแนกรายละเอียดเอาไว้ดังนี้
- หากพ่อและแม่มียีนแฝงทั้งสองคน โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้จะอยู่ที่ 25% และมีโอกาสได้รับยีนแฝงมากถึง 50% แต่ก็ยังมีความเป็นไปได้ที่ลูกจะเป็นปกติ 25%
- สำหรับกรณีที่พ่อหรือแม่คนดคนหนึ่งมียีนแฝงอยู่ โอกาสที่ลูกจะได้รับยีนแฝงไปด้วยก็จะอยู่ที่ 50% แต่จะไม่มีการแสดงอกาการของโรคแต่อย่างใด
- กรณีที่พ่อหรือแม่เป็นโรคและมีอาการของโลก โดยที่อีกฝ่ายก็มียีนแฝงโอกาสที่เด็กจะได้รับยีนแฝงก็จะมีมากถึง 50% และก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคนี้มากถึง 50% เช่นเดียวกัน
การป้องกัน
สำหรับโรคนี้จะมีลักษณะของยีนแฝง ซึ่งไม่สามารถที่จะทำการป้องกันได้ แต่วิธีที่จะช่วยให้คนท้องมีความปลอดภัยมากขึ้นก็คือการปรึกษาแพทย์และให้แพทย์วินิจฉัยว่าจะมีอาการของโรคหรือไม่ ต้องทำการรักษาใดเพิ่มเติมอีกรึเปล่า ซึ่งหากจะให้ดีนั้น เมื่อฝั่งสามีหรือภรรยาทราบว่าตนเองมียีนแฝงซึ่งก็ควรจะให้อีกฝ่ายหนึ่งทำการตรวจวินิจฉัยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ก็เพื่อหาความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ต้องการมีบุตร