ออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะสมและปลอดภัยในแต่ละโรค

ออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะสมและปลอดภัยในแต่ละโรค

ออกกำลังกายอย่างไร ให้เหมาะสมและปลอดภัยในแต่ละโรค
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยนอกจากจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้วยังเป็นการช่วยบำบัดและฟื้นฟูสภาพร่างกายได้อย่างดี ลองมาดูกันนะคะว่าคนป่วยต้องออกกำลังกายอย่างไรเพื่อให้เหมาะและเป็นผลดีต่อข้อจำกัดของร่างกายหรือโรคที่เป็นอยู่

1.โรคหัวใจ

การว่ายน้ำ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรงและมีความยืดหยุ่นซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพหัวใจ การออกกำลังกายในน้ำจะทำให้เหนื่อยน้อยกว่าการออกกำลังกายอย่างอื่นเพราะมีน้ำเป็นตัวช่วยพยุงและรับน้ำหนัก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายเพียงลำพังเพราะอาจเสี่ยงต่อภาวะอาการวูบได้ง่ายๆ

การเดินเร็ว เป็นการออกกำลังกายที่ไม่ทำให้เหนื่อยจนเกินไปซึ่งเหมาะกับผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีอายุมากแล้ว ผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายด้วยการเดินเร็วสัปดาห์ละ 1-2 ชั่วโมงก็สามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้สูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์

การวิ่ง เป็นการออกกำลังที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากและใช้เวลาไม่มากนัก แต่ให้ผลดีต่อหัวใจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจได้ทำงานออกแรงสูบฉีดได้ดีและเร็วยิ่งขึ้น ช่วยคลายเครียดและทำให้กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆ ของร่างกายแข็งแรงดีขึ้นด้วย

การรำกระบี่กระบอง เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจเพราะได้บริหารร่างกายอย่างครบทุกส่วนไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลังหรือกล้ามเนื้อ หากทำเป็นประจำจะช่วยทำให้หัวใจมีการสูบฉีดเลือดได้ดีส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดเป็นไปตามปกติด้วยดี

การเล่นเทนนิส จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้นโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่แขนและขา ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายทำงานได้ดียิ่งขึ้นด้วย

2.โรคภูมแพ้-หอบหืด

การออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำและการปั่นจักรยานจะช่วยทำให้ปอดขยายตัวและมีความแข็งแรงขึ้นซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ป่วยด้วยค่ะ

3.โรคเบาหวาน-ความดันสูง

การออกกำลังกายโดยการรำมวยจีนซึ่งหากทำเป็นประจำสม่ำเสมอจะช่วยลดความดันและระดับน้ำตาลในเลือดได้

4.โรคซึมเศร้า

ช่วยได้ด้วยการออกกำลังกายแบบเบาๆ เป็นประจำโดยสม่ำเสมอเพียงครั้งละ 30 นาที อย่างเช่นการเดิน ไทเก็ก ซี่กงหรือโยคะ เป็นการคลายเครียด ฝึกสมาธิและความอดทนไปในตัว

5.โรคข้อเข่าเสื่อม

ควรเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บข้อเข่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยการออกกำลังกายควรเริ่มบริหารร่างกายด้วยท่าง่ายๆ และไม่เสี่ยงต่อการกระแทกให้ปวดหัวเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน โยคะ ว่ายน้ำหรือออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น

การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีแต่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะถ้าพลาดโดยการละเลยต่อข้อจำกัดของร่างกายก็อาจจะนำมาซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยและเหมาะสมควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษาก่อนทุกครั้งนะคะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook