ลดหน้าท้อง หลังคลอด วิธีที่ปลอดภัยในการกำจัดหน้าท้องหย่อนยานออกไปชีวิต

ลดหน้าท้อง หลังคลอด วิธีที่ปลอดภัยในการกำจัดหน้าท้องหย่อนยานออกไปชีวิต

ลดหน้าท้อง หลังคลอด วิธีที่ปลอดภัยในการกำจัดหน้าท้องหย่อนยานออกไปชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ลดหน้าท้อง หลังคลอด คือภาระกิจที่คุณแม่มือใหม่มักมองไม่เห็นอนาคต ไม่รู้ต้องทนอยู่กับหน้าท้องที่ดูหย่อนยานไปอีกนานแค่ไหน และต้องทำอย่างไร ถึงจะกลับมามีหน้าท้องที่เรียบกระชับตึงได้ โชคดีที่ยังมีวิธีการดีๆ ที่คุณสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้กับหน้าท้อง และเลิกเกลียดหน้าท้องที่ดูหย่อยยานหลังคลอดได้

จะต้องรอนานแค่ไหนกว่าหน้าท้องจะแบนราบตามปกติ

คำตอบในข้อนี้คือ ต้องใช้ความอดทน เพราะกว่าหน้าท้องจะมีความแข็งแรง และกลับมาแน่นกระชับเหมือนเดิมนั้น ก็ต้องใช้เวลาถึง 9 เดือนเลย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกายตามปกติ น้ำหนักขึ้นมามากขนาดไหนในระหว่างตั้งครรภ์ คุณเป็นคนชอบเคลื่อนไหวร่างกายขนาดไหน และพันธุกรรมก็มีส่วนในเรื่องนี้ด้วย ผู้หญิงที่มีน้ำหนักขึ้นมาไม่ถึง 14 กิโลกรัม และออกกำลังกายเป็นประจำในช่วงตั้งครรภ์ ให้ลูกกินนมแม่ และมีลูกคนเดียวนั้น มีแนวโน้มที่จะผอมเพรียวได้เร็วขึ้น

ถ้าคุณให้ลูกกินนมแม่ คุณก็ต้องเรื่องปริมาณอาหารที่กินเข้าไปด้วย เพื่อที่จะช่วยกำจัดน้ำหนักตัวที่ขึ้นจากการตั้งครรภ์ออกไปได้ ตอนนี้คุณไม่ได้ตั้งครรภ์แล้ว จึงไม่ต้องแคลอรี่มากเหมือนเมื่อก่อน

ข้อควรระวังในการกำจัดหน้าท้องที่หย่อนยานออกไป

ถึงแม้การออกกำลังกายและการควบคุมอาหาร จะช่วยทำให้คุณกลับมามีรูปร่างที่ผอมเพรียวตามปกติได้ แต่ก่อนที่คุณจะลงมือทำอะไร ก็ควรศึกษารายละเอียดพวกนี้เอาไว้ก่อน

อย่าเพิ่งรีบซิท-อัพแบบเอาเป็นเอาตาย

คุณแม่หลังคลอดทั้งหลายควรจะต้องจดจำเอาไว้นะว่า กว่าลูกน้อยจะเติบโตและคลอดออกมานั้น ต้องใช้เวลาถึงเก้าเดือนเชียวนะ และร่างกายก็ต้องใช้เวลาพอๆ กันนั่นแหละ ในสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนขึ้นมา ผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่า ก่อนที่คุณจะเริ่มออกกำลังกาย ก็ควรตรวจเช็คสภาพร่างกายให้เรียบร้อยก่อน โดยให้นักกายภาพบำบัดตรวจสอบว่า กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน และกล้ามเนื้อในส่วนอื่นๆ พร้อมจะออกกำลังหรือยัง ซึ่งกล้ามในส่วนนั้น จะต้องฟื้นความกระชับให้ได้พอสมควรซะก่อน ถึงจะทำให้หน้าท้องแบนราบลงได้

ต้องพักฟื้นนานขึ้นถ้าผ่าคลอด

ถ้าคุณแม่หลังคลอดคนไหนใช้วิธีการผ่าคลอด ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้ใช้วิธีนวด หรือแม้แต่การฝังเข็ม (หลังจากแผลผ่าตัดหายดีแล้ว) เพื่อพยายามทำให้เนื้อเยื่อบริเวณแผลเป็นคลายตัวออก ซึ่งคุณแม่บางคนก็ชอบใช้ 'ที่รัดหน้าท้อง' เพื่อพยุงท้องหลังคลอด ในช่วงที่คลอดเสร็จใหม่ๆ เพื่อให้เกิดแรงกระตุ้นบริเวณกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดที่ระบุว่า 'ที่รัดหน้าท้อง' นั้น จะช่วยให้หน้าท้องดูแบนราบได้ในระยะยาว

ปรับท่าทางซะใหม่

การตั้งครรภ์ ตามด้วยการอุ้มท้อง และการอุ้มทารกไปทุกหนทุกแห่ง อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณแอ่นไปข้างหน้า ซึ่งก็หมายความว่าหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานจะยื่นออกไปข้างหน้า ส่วนบั้นท้ายจะดูเรียบแบน เวลาที่คุณยืนแอ่นพุงไปข้างหน้าแบบนั้น และนอกจากนั้น การงอตัวในขณะป้อนนมลูก ก็จะทำให้หน้าท้องฟื้นตัวได้ยาก ฉะนั้น จึงควรปรับท่ายืนและท่านั่งให้ตั้งตรง เพิ่มความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก ด้วยการออกกำลังกายในท่าสควอท (Squat) คือย่อเข่าแล้วกลับไปยืนตรง (ถ้ากล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานพร้อมจะออกกำลังกายแล้ว) และการออกกำลังกายในท่าสะพานโค้ง เพื่อช่วยให้หลังส่วนบนและไหล่ยืดออก

การควบคุมอาหารหลังคลอด

ถ้าคุณมีน้ำหนักตัวขึ้นในช่วงตั้งครรภ์มาก การลดน้ำหนักในจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาก็จะช่วยให้คุณสามารถลดหน้าท้องลงได้ การกินอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำๆ ก็สามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักลงได้ แต่ควรให้เวลาร่างกายได้พักฟื้นและออกกำลังกายก่อน โดยควรรออย่างน้อยหกสัปดาห์ (หรือถ้าจะให้ดีก็ซัก 2-3 เดือน) ก่อนจะเริ่มควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณให้ลูกกินนมแม่

ผู้หญิงต้องการพลังงานวันละ 1,600 – 2,400 แคลอรี่ เพื่อรักษาน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพเอาไว้ ในการลดน้ำหนักให้ได้สัปดาห์ละ 1 กิโลกรัม คุณก็ต้องลดพลังงานลงวันละ 500 แคลอรี่ จะด้วยการกินอาหารให้น้อยลง หรือเคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้นก็ได้ ซึ่งการลดน้ำหนักสัปดาห์ละ 1 กิโลกรัมนั้น อาจทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย และส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของคุณได้

อย่าทำการควบคุมอาหารแบบสุดโต่ง เพราะน้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็วนั้น จะส่งผลต่อการป้อนนมแม่ การควบคุมอาหารแบบสุดโต่งจะทำให้ร่างกายอยู่ในโหมดหิวโหย รวมทั้งความเครียดและความอ่อนเพลีย ก็จะทำให้มีน้ำนมน้อยลงด้วย นอกจากนี้ เวลาที่คุณควบคุมอาการมากเกินไป คุณก็อาจกินอหารที่มีสารอาหารครบถ้วนได้ไม่พอ ซึ่งก็หมายความว่า ลูกน้อยอาจจะไม่ได้รับไขมันและวิตามินที่จำเป็น ผ่านทางน้ำนมของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook