หย่านมแม่ อย่างไรที่จะไม่ทำร้ายความรู้สึกของลูกน้อย

หย่านมแม่ อย่างไรที่จะไม่ทำร้ายความรู้สึกของลูกน้อย

หย่านมแม่ อย่างไรที่จะไม่ทำร้ายความรู้สึกของลูกน้อย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หย่านมแม่ หมายถึงการที่ให้ลูกน้อยเปลี่ยนจากการดูดนมแม่ไปดูดนมขวดหรือกินอาหารอย่างอื่นแทน ซึ่งกระบวนการให้ลูกหย่านมอาจกินเวลา และต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก ซึ่งผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า ควรให้ลูกน้อยกินนมแม่ไปให้นาน ตราบเท่าที่คุณแม่และลูกน้อยสบายใจ ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่จะตัดสินให้ลูกหย่านม หลังอายุครบ 1 ขวบ ซึ่งเด็กในวัยนี้จะเริ่มหัดเดิน หัดพูด และกินอาหารแข็งได้มากขึ้นแล้ว ฉะนั้น ถ้าคุณกำลังคิดจะให้ลูกน้อยหย่านมแม่อยู่ล่ะก็ นี่คือเคล็ดลับดีๆ ที่อาจจะช่วยคุณได้

สัญญานที่บ่งบอกว่าลูกน้อยพร้อมจะหย่านมแล้ว

เด็กบางคนก็ไม่ยอมเลิกดูดนมแม่ง่ายๆ แต่เด็กบางคนก็อาจส่งสัญญานออกมาบอกคุณแม่ว่าพร้อมจะหย่านมแล้ว ซึ่งสัญญานพวกนั้นก็ได้แก่...

  • ทำท่าทางเหมือนไม่สนใจ หรือไม่อยากที่จะดูดนมแม่
  • ช่วงที่ป้อนนมลูกใช้เวลาสั้นลงกว่าเมื่อก่อน
  • ในช่วงที่ดูดนมแม่อยู่นั้น มักจะมีอะไรมาทำให้เกิดอาการวอกแวกได้ง่าย
  • ไม่ได้ดูดนมอย่างจริงๆ ทำอะไรที่ดูเหมือนกำลังเล่นอยู่ อย่างเช่น ดึงหรือกัดหัวนมแม่ (คุณควรดึงตัวเด็กที่กัดหัวนมออกจากเต้าทันที พร้อมทั้งบอกเขาด้วยน้ำเสียงที่หนักแน่นและสงบว่า "อย่ากัดนะ กัดแล้วทำให้แม่เจ็บ")
  • ดูดนมแบบไม่ให้รู้สึกเหงาปาก (คือทำท่าดูดแต่ไม่ได้ตั้งใจให้มีน้ำนมไหลออกมา)

วิธีการหย่านมแม่

การหย่านมแม่นั้นมีอยู่หลายวิธี คุณควรเลือกวิธีที่เหมาะกับคุณและลูกน้อยมากที่สุด ซึ่งเราได้รวบรวมวิธีการต่างๆ มาบอกคุณแล้ว

เปลี่ยนหน้าที่

คุณควรปล่อยให้คุณพ่อ คุณยาย หรือพี่เลี้ยงเด็กทำหน้าที่หย่านมแทนคุณ ถ้าลูกน้อยปฎิเสธการกินจากขวดที่คุณยื่นส่งให้ ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้คุณลองให้คนอื่นทำหน้าที่นี้แทน แล้วดูซิว่าลูกน้อยจะยอมรับขวดนมจากคนอื่นนั้นมั้ย โดยคุณต้องหลบไปอยู่อีกห้องนึง ซึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่าเขาจะมีพฤติกรรมที่ดีขึ้นเวลาที่ไม่เห็นคุณ หรือถ้าคุณทำหน้าที่ป้อนนมขวดเอง ก็ควรเปลี่ยนบรรยากาศใหม่ ซึ่งถ้าคุณเคยป้อนนมในห้องนอน ก็ลองเปลี่ยนไปป้อนนมในห้องนั่งเล่นแทน หรือลองเปลี่ยนท่าการป้อนใหม่ ถ้าใช้วิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล ก็ควรกลับไปป้อนนมแม่เหมือนเดิม ไว้รอหลังจากนั้นสองสามสัปดาห์แล้วค่อยลองดูใหม่

ค่อยเป็นค่อยไป

การหย่านมแบบค่อยเป็นค่อยไปก็คือ การให้ลูกน้อยหยุดกินนมแม่ทีละครั้ง แล้วทดแทนด้วยนมขวด ซึ่งอาจจะเป็นนมแม่ที่ปั๊มใส่ขวดเอาไว้หรือนมผง หรือแม้แต่อาหารแข็งบางอย่าง คุณควรให้เวลาลูกน้อยและเต้านมของคุณได้ปรับตัว ก่อนจะดำเนินการต่อไป จนลูกน้อยสามารถหย่านมได้ ส่วนเด็กในวัยหัดเดินหรือเด็กเล็ก ก็อาจต้องใช้วิธีอย่าไปนำเสนอ...ลูกน้อยจะได้ไม่ปฎิเสธ ให้ลูกน้อยกินนมแม่ในระยะเวลาสั้นๆ หรือเลื่อนเวลาการป้อนนมแม่ออกไปให้นานขึ้น ทดแทนนมแม่ด้วยการให้ลูกน้อยกินอาหารเหลว นม หรือน้ำในถ้วยแทน และหันเหความสนใจของลูกน้อย หรือเปลี่ยนบรรยากาศหรือกิจวัตรในการป้อนนมลูก วิธีนี้แม้จะต้องใช้เวลามากขึ้น แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงเต้านมเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

การหย่านมแบบหักดิบ

การหย่านมแบบหักดิบก็หมายความว่า คุณให้ลูกน้อยหยุดกินนมแม่แบบทันทีทันใด ซึ่งวิธีนี้มักจะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการไม่พอใจ และมีความเสี่ยงที่จะทำให้เต้านมเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ อย่างเช่น นมคัด ท่อน้ำนมอุดตัน และเต้านมอักเสบได้ จึงไม่เป็นที่นิยมกันนัก

ปัจจัยที่ทำให้การหย่านมไม่เป็นผล

  • ถ้าคุณพยายามทำทุกวิธีทางแล้ว แต่การอย่านมยังไม่เป็นผลสำเร็จ บางทีนี่อาจไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมก็ได้
  • คุณเพิ่งกลับเข้าสู่โหมดการทำงานหรือเปล่า? ลูกน้อยอาจยังทำการปรับตัวกับกิจวัตรใหม่ๆ อยู่ก็ได้นะ จึงทำให้การหย่านมไม่ประสบผล
  • ลูกน้อยมีอาการป่วยอยู่หรือเปล่า? ลูกน้อยมักจะอยากให้ป้อนนมบ่อยขึ้นเวลาที่เขาไม่สบาย ซึ่งการป้อนนมแม่ในขณะที่ลูกป่วยนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้ลูกน้อยรู้สึกดีขึ้นเท่านั้นนะ แต่ยังเป็นแหล่งสารอาหารชั้นยอดอีกด้วยล่ะ

คุณควรดูแลเต้านมยังไงเมื่อเริ่มทำการหย่านม

  • ถ้าเต้านมของคุณรู้สึกไม่ปกติในระหว่างการหย่านม ก็ลองปั๊มนมออกมาพอประมาณ เพื่อให้รู้สึกสบายขึ้น ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างเช่น Acetaminophen หรือ Ibuprofen ก็อาจช่วยลดอาการปวดเต้านมให้คุณได้ การใช้อะไรเย็นๆ ประคบบริเวณเต้านม ก็สามารถช่วยให้คุณรู้สึกสบายขึ้นได้ด้วย
  • อย่าใช้ผ้ารัดหน้าอกเอาไว้แน่นๆ หรือไม่ควรดื่มน้ำน้อยในช่วงที่ทำการหย่านม
  • คุณควรตรวจเต้านมเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าท่อน้ำนมไม่เกิดการอุดตัน ซึ่งจะทำให้เกิดอาการตึงๆ บริเวณเต้านม คุณสามารถระบายการอุดตันนั้นได้ในบางครั้ง ด้วยการออกแรงกดลงไปในบริเวณนั้นเล็กน้อย ถ้ามีอาการรุนแรงหรือรู้สึกเจ็บ ก็ควรไปปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook