10 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ในแต่ละปี การขาดไปซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงเวลาหกเดือนแรกของชีวิต ทำให้เกิดการเสียชีวิตในเด็กเป็นจำนวนกว่าหนึ่งล้านชีวิต ทั้งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีที่มีประสิทธิผลมากที่สุดวิธีการหนึ่ง เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจในสุขภาพเด็กและการอยู่รอด การขาดหายไปซึ่งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วงเวลาหกเดือนแรกของชีวิต ทำให้เกิดการเสียชีวิตในเด็กเป็นจำนวนกว่าหนึ่งล้านชีวิตใน แต่ละปีทั้งที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ ในระดับโลกมีเด็กอ่อนอายุต่ำกว่าหกเดือน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 40 ที่ได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นการสนับสนุนให้บรรดาคุณแม่และครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเพียง พอสามารถช่วยชีวิตเจ้าตัวน้อยได้
องค์การอนามัยโลกโปรโมตอย่างแข็งขันว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นเป็น ดั่งต้นธารที่ดีที่สุดของอาหารหล่อเลี้ยงบำรุงร่างกายสำหรับเด็กอ่อนและเด็กเล็ก
1. องค์การอนามัยโลกแนะนำอย่างแข็งขันให้มีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว สำหรับช่วงเวลาหกเดือนแรกของชีวิต ช่วงเดือนที่หกเป็นต้นไป อาหารอย่างอื่นค่อยเข้ามาช่วยเสริมนมแม่ จนกระทั่งอายุสองขวบหรือมากกว่านั้น ยิ่งกว่านั้น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ควรจะเริ่มภายในชั่วโมงแรกของการเกิด นมแม่ควรจะมีรองรับอุปสงค์ตลอด และบ่อยครั้งเท่าที่เด็กต้องการไม่ว่าจะตอนกลางวันหรือกลางคืนและควรจะหลีก เลี่ยงขวดนมหรือจุกนมปลอม
2. ประโยชน์ต่อสุขภาพเพื่อเด็กวัยอ่อน นมแม่คืออาหารชั้นเลิศสำหรับเด็กอ่อนและเด็กแรกเกิด มันให้สารอาหารครบทุกอย่างที่เด็กอ่อนจำเป็นต้องการเพื่อการพัฒนาที่ดีต่อ สุขภาพ นมแม่ปลอดภัยและอุดมไปด้วยสารภูมิต้านทานที่จะช่วยปกป้องเด็กอ่อนจากความ เจ็บป่วยในวัยเด็กที่พบได้โดยทั่วไป เช่น โรคท้องร่วงและปอดบวม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในเด็กทั่วทั้งโลก
3. ประโยชน์สำหรับมารดา การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นประโยชน์ต่อบรรดาคุณแม่ คือช่วยเร่งให้เกิดปฏิกริยาการขาดประจำเดือน ซึ่งเป็นวิธีการอย่างธรรมชาติของการคุมกำเนิด มันช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ในช่วงต่อไปของ ชีวิต นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้หญิงกลับคืนสู่น้ำหนักก่อนการตั้งครรภ์เร็วกว่า และมีอัตราการเป็นโรคอ้วนน้อยกว่าด้วย
4. ประโยชน์ในระยะยาวสำหรับเด็กๆ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีส่วนทำให้เด็กมีสุขภาพดีตลอดช่วงชีวิตของเขา ผู้ใหญ่ที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ตอนที่พวกเขายังอยู่ในวัยทารกบ่อยครั้ง มีความดันโลหิตที่ต่ำกว่าและระดับคอเลสเตอรอลที่ต่ำกว่า รวมไปถึงอัตราการมีน้ำหนักเกินโรคอ้วน และโรคเบาหวานชนิดที่สองที่ต่ำกว่า มีหลักฐานทางวิชาการด้วยว่าผู้คนที่ได้รับการเลี้ยงด้วยนมแม่ทำคะแนนได้ดี กว่าในการทดสอบเชาว์ปัญญา
5. ทำไมไม่เอานมผงล่ะ นมผงไม่ได้มีสารภูมิต้านทานที่พบได้ในน้ำนมแม่ และยังเชื่อมไปสู่ความเสี่ยงบางอย่างด้วย เช่น โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากน้ำ เมื่อมีการผสมน้ำที่ไม่สะอาดปลอดภัยเข้ากับนมผง (ยังมีหลายครอบครัวที่ยังไม่สามรถเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัย) ภาวะขาดสารอาหารมีผลมาจากนมผงที่ถูกละลายน้ำมากเกินไปเพื่อที่จะทำให้มีพอ เลี้ยงในมื้อต่อไปหรือใช้กับเด็กหลาย ๆ คน ยิ่งไปกว่านั้น การเลี้ยงด้วยนมแม่บ่อยครั้งช่วยธำรงรักษาให้มีน้ำนมอยู่เสมอ หากใช้นมผงอยู่แต่หมดไปหรือหาไม่ได้ การกลับไปเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจใช่ทางเลือก เนื่องจากการผลิตน้ำนมแม่ถูกทำให้ลดลงและหมดไปแล้ว
6. เชื้อเอชไอวีกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สำหรับคุณแม่ที่มีเชื้อเอชไอวี องค์การอนามัยโลก แนะนำให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวเป็นเวลาหกเดือน นอกเสียจากว่าการแทนที่การเลี้ยงดูนั้น
- เป็นที่ยอมรับ (ทางสังคม)
- มีความเป็นไปได้ (มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือในการเตรียมนมผง)
- หาซื้อนมผงได้ (สามารถซื้อนมผงได้เป็นเวลาหกเดือน)
- ยั่งยืน (สามารถเลี้ยงลูกได้ในห้วงเวลาหกเดือน)
- ปลอดภัย (นมผงถูกเตรียมโดยใช้น้ำสะอาดและในสภาพที่ถูกหลักอนามัย)
7. การออกกฎเกณฑ์ระดับสากลที่จะวางกฎระเบียบในเรื่องการตลาดการขายนมผสมแทนนมแม่ ถูกใช้มาตั้งแต่ค.ศ. 1981 เรียกร้องให้
• ฉลากและข้อมูลผมผงทุกอย่าง ระบุประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และความเสี่ยงด้านสุขภาพของนมผสมทดแทนน้ำนมแม่
• ไม่มีการโปรโมตนมผสมแทนนมแม่
• ไม่มีตัวอย่างฟรีของนมผสมแทนนมแม่ให้แก่ผู้หญิงที่ตั้งครรรภ์ มารดา หรือครอบครัว และ
• ไม่มีการแจกจ่ายนมผสมแทนนมแม่ที่ได้รับการอุดหนุนหรือประเภทของฟรีแก่คนทำงานด้านสุขภาพและสถานที่ให้บริการ
8. การสนับสนุนบรรดาคุณแม่เป็นเรื่องจำเป็น การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเรียนรู้และผู้หญิงหลาย ๆ คนประสบพบเจอกับความยากลำบากหลาย ๆ อย่าง ในช่วงเริ่มต้น เช่น อาการเจ็บที่หัวนม และการกลัวว่าจะไม่มีน้ำนมเพียงพอ สถานบริการสุขภาพที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีเจ้าหน้าที่ผู้ให้คำ ปรึกษาที่ได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยสนับสนุนให้มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วนนมแม่สูงขึ้น เพื่อจัดหาการสนับสนุนและปรับปรุงการดูแลคุณแม่และเด็กแรกเกิด ปัจจุบันนี้มีสถานบริการที่เป็นมิตรต่อทารกแล้ว 20, 000 แห่งใน 152 ประเทศทั่วโลก
9. การทำงานและการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ องค์การอนามัยโลก แนะนำให้คุณแม่มือใหม่ควรจะลาพักได้อย่างน้อย 16 สัปดาห์หลังคลอด ทั้งนี้เพื่อที่จะได้พักและเลี้ยงลูกด้วยตนเอง คุณแม่หลายคนที่กลับไปทำงาน ละทิ้งการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียวก่อนที่จะครบหกเดือน เพราะว่าพวกเธอไม่มีเวลาเพียงพอหรือสถานที่ที่จะให้นมหรือบีบน้ำนมแล้วเก็บ นมไว้ที่ทำงาน บรรดาคุณแม่จำเป็นต้องการสถานที่ที่ปลอดภัย สะอาด และเป็นส่วนตัว ในที่ทำงานหรือที่ ใกล้ ๆ ที่ทำงานเพื่อจะได้ดำเนินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปได้
10. ขั้นต่อไปก็คือการให้อาหารชนิดอื่น ๆ เพื่อให้สอดรับกับความจำเป็นต้องการที่เพิ่มขึ้นของทารกในช่วงอายุหกเดือน อาหารที่เข้ามาช่วยเสริมควรจะถูกให้ ขณะเดียวกันก็ให้นมแม่ควบคู่ไปด้วย อาหารสำหรับทารกควรได้รับการเตรียมเป็นพิเศษหรือดัดแปลงจากมื้ออาหารที่ทาน กันในครอบครัว องค์การอนามัยโลกให้ข้อสังเกตว่า
• การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ควรจะลดลงเมื่อเริ่มให้อาหาร
• อาหารที่เข้ามาช่วยเสริมควรจะถูกป้อนด้วยช้อนหรือถ้วย ไม่ใช่จากขวดนม
• อาหารควรจะสะอาด ปลอดภัย และหาได้ในท้องถิ่น และ
• ช่วงระยะเวลายาวนานพอสมควรเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเด็กๆ ที่จะเรียนรู้ในการทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง หรือมีรูปร่างเป็นก้อนๆ คำๆ
ขอบคุณข้อมูล : www.who.int