บัญญัติ 10 ประการ ซ่อมบ้านหลังนํ้าท่วม
หลายๆ พื้นที่ระดับนํ้าอาจจะยังอยู่ในภาวะวิกฤติ แต่หลายพื้นที่ระดับนํ้าก็เริ่มลดลงแล้วและแน่นอนว่าจะต้องทิ้งร่องรอยความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือนเป็นอย่างมาก อาจารย์ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ อดีตนายกสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสถาปนิกผู้จัดรายการคุยกับหมอบ้านทาง FM 96.5 MHz. ซึ่งเมื่อปี 2538 อย่างที่ทราบกันดีว่าเกิดวิกฤตินํ้าท่วมใหญ่ ในช่วงเวลาดังกล่าวอาจารย์ได้เขียนและจัดพิมพ์หนังสือเรื่อง "บ้านหลังนํ้าท่วม" แต่ในครั้งนี้อุทกภัย ปี 2554 อาจารย์ได้ปรับเนื้อหาให้กระชับมากขึ้นนำเสนอเป็นบทความ เรื่อง "บัญญัติ 10 ประการ ซ่อมบ้านหลังนํ้าท่วม"
สังคมไทยจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน การใช้เทคโนโลยีไปฝืนพลังแห่งธรรมชาติมากเกินไป การทำร้ายธรรมชาติ จะเกิดผลเช่นนี้เรื่อยไป
1. . รั้วคอนกรีตที่แข็งแรง ต้องตรวจดูอะไรหลังน้ำลดไหม
1. ใช้สายตาของท่านเล็งดูว่ารั้วของท่านยังตั้งฉากอยู่ดีหรือไม่ หากมีการเอียงเล็กน้อยก็เอาไม้คํ้ายันด้านที่เอียงออก เอาไว้ก่อน มีสตางค์เมื่อไรก็รีบซ่อมทันที
2. หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่ารั้วของท่านเอียงมาก เอียงจนแนวออกหรือจะออกนอกแนวศูนย์ถ่วง (C.G.) ต้องรีบซ่อมแซมทันที (โดยช่างก่อสร้าง ที่พอจะมีความรอบรู้) หากยังไม่มีงบประมาณ ก็ต้องคํ้ายันไว้ อย่างแน่นหนามาก ๆ เพราะนํ้าหนักรั้วที่แข็งแรงของท่านนั้นหนักมาก (ไม่เชื่อลองไปนอนให้รั้วพังทับดูก็ได้ไม่ว่ากัน)
3. หากรั้วของท่านมีคานคอดิน (คานตัวล่างสุดที่อยู่ใกล้ระดับดิน) รับน้ำหนักรั้วอยู่ พอนํ้าลดลง นํ้าอาจพาดิน ใต้คานคอดินของท่าน ออกไปด้วย ก็จะเกิดรูโพรงใต้คานรั้วของท่าน อันอาจเป็นเหตุให้สัตว์ต่าง ๆ เดิน - วิ่ง - มุด - เลื้อย เข้าไปในบ้าน ของท่านได้ หรือไม่ก็ทำให้ดินของท่านไหลออกจากบ้านสู่ทางสาธารณะไปเรื่อย ๆ ภายหลัง (อันทำให้ดินของท่าน หมดสนาม และถนนสาธารณะต้องสกปรก) ก็ขอให้เติมดินอัดกลับเข้าไป ให้คงเดิม
4. นอกจากจะตรวจดูที่รั้วบ้านแล้ว ท่านน่าจะต้องตรวจดูที่ประตูรั้วท่านด้วย เพราะประตูส่วนใหญ่ จะทำด้วยเหล็ก หรือไม้ (พวกอัลลอยด์ไม่ค่อยเป็นอะไร ยกเว้นบริเวณบานพับหรือกลอนที่อาจจะทำด้วยเหล็ก) อาจมีอาการผุกร่อนได้ ทำให้บานประตูไม่สามารถปิดได้เหมือนเดิม หรืออาจจะหลุดออกมาทั้งบาน !!! ทำการผูกรัดให้แข็งแรงเสีย มีเงินเมื่อไร อย่าลืมควักออกมาซ่อมแซมก็แล้วกัน
2. ช่วยด้วย ต้นไม้ กำลังจะตายกันหมด
ต้นไม้บางต้นที่ยังไม่ถึงที่แต่ก็กำลังจะถึงที่ตาย มีแนวทางที่ เราจะช่วยเหลือเยียวยาเขาได้ ลองทำดังนี้ดูนะครับ
1. อย่าให้ปุ๋ยเด็ดขาด เพราะนํ้าท่วมทำให้รากต้นไม้ อ่อนแอ เขาต้องการ เวลาพักฟื้นตัว ไม่ใช่ต้องการปุ๋ย
2. ขุดหลุมเล็กขนาดลึกสัก 50 ซม. ถึง 1 เมตร ไว้ข้าง ๆ ต้นไม้นั้น เพื่อให้นํ้าที่ขังอยู่บริเวณรากไม้ไหลลงสู่หลุมที่เราขุด เป็นการช่วยอาการรากสำลักนํ้าได้ แล้วก็คอยเอาเครื่องดูดนํ้าเล็ก ๆ คอยสูบนํ้าออก แต่หากไม่มีกะตัง จะซื้อเครื่องสูบนํ้านี้ ก็ต้องออกแรงขุดหลุม กว้างหน่อย (อย่ากว้างมาก จนต้นไม้เขาล้ม) แล้วใช้ขันหรือถังค่อย ๆ เอื้อมมือตักนํ้าออก
3. หากเห็นว่า รากต้นไม้ไม่แข็งแรงเพียงพอที่จะยึดลำต้นเอาไว้ กรุณาอย่าอัดดินลงไปให้แน่นเป็นอันขาด ต้นไม้เขาจะรีบ ๆ ตาย ทันที ให้ใช้วิธีดามหรือคํ้ายันลำต้นเอาไว้แทน รอจนรากเขาแข็งแรงเหมือนเดิม แล้วจึงเอาไม้ดามไม้คํ้ายันออก
3. ปาร์เกต์บ้านกลายเป็นปลาลอยน้ำ น่าปาทิ้งมั๊ยคะ ?
ก่อนอื่นต้องขอภาวนาว่าพื้นปาร์เกต์ที่บ้านคุณนั้น เป็นปาร์เกต์พื้นชั้นล่าง ไม่ใช่ปาร์เกต์พื้นชั้นบน แต่ที่ว่าน่าจะปาทิ้งหรือไม่นั้น ผมขออนุญาต เล่าและอธิบายดังนี้
1. ปาร์เกต์เป็นไม้ซึ่งอยู่ได้ด้วยกาว ดังนั้น พื้นปาร์เกต์จึงเป็น พื้นที่อ่อนแอ กับอาการ นํ้าท่วม อย่างยิ่ง เพราะทั้งไม้ ก็จะบวมขึ้นมา กาวก็จะหลุดล่อน ดังนั้นเมื่อ นํ้าท่วมพื้นปาร์เกต์ก็ต้องมีปัญหาแน่นอน อย่าไปโทษช่างทำปาร์เกต์ หรือ อย่าไป คิดอะไรมาก
2. หากน้ำท่วมสัก 5-7 วัน นอกจากปาร์เกต์จะหลุดล่อนลอยนํ้า ปูดโปนขึ้นมาแล้ว ยังจะมี อาการ "บูดเน่า" ให้เกิดกลิ่นเหม็น และอาจ เป็นอันตราย น้อย ๆ หากต้อง สูดดมอยู่ตลอด ทั้งวันทั้งคืน
3. หากปาร์เกต์เปียกน้ำสักเล็กน้อย ไม่ถึงกับหลุดล่อนปูดโปนไม่ต้องทำอะไรมาก เช็ดทำความสะอาด แล้วปล่อยทิ้งไว้ เปิดหน้าต่าง ประตู ให้อากาศถ่ายเท ความชื้นออกไป ไม่กี่วันปาร์เกต์ก็อาจเข้ารูปเดิมปกติได้ แต่มีข้อที่น่าคิดก็คือ อย่าเอานํ้ามัน หรือแลคเกอร์ หรือแว็กซ์ ไปทาทับตอนที่ปาร์เกต์ยังชื้นอยู่ เพราะ สารเหล่านั้น จะไปเคลือบ ผิวไม้ ทำให้ความชื้น ในเนื้อไม้ (และเนื้อพื้นคอนกรีต ใต้ปาร์เกต์) ไม่ระเหยออกมา
4. หากปาร์เกต์มีอาการหนัก บิดงอ ปูดโปน เบี้ยวบูด ผุกร่อน เหม็นเน่า...กรุณาอย่าเสียดาย กรุณาเลาะออกมา หากเลาะออกมาแล้ว ยังอยู่ในสภาพดี ก็ผึ่งลมเอาไว้ให้แห้ง เผื่ออาจมีประโยชน์ในวันหลัง
4. ปลั๊กไฟ น้ำท่วมไม่เป็นไร น้ำลดจะเป็นไรมั๊ย ?
แม้คำถามของคุณออกจะกวนกวนอยู่บ้าง แต่เราก็พยายามเข้าใจและเห็นใจ ว่าในขณะที่ นํ้าท่วม นั้นท่านปิดวงจรไฟฟ้าทั้งบ้าน (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ปิดคัทเอ๊าท์) นํ้าท่วมก็คงไม่เป็นไรอยู่แล้ว เพราะไม่มีกระแส ไฟฟ้าเดิน แต่พอ นํ้าลด อยากจะเปิดไฟใช้ คงหวั่นเกรงเหมือนกัน ว่าจะเป็นอย่างไร เอาละ ครับ ผมขอสรุป แนวทาง ดังนี้ดีกว่า
1. ลองเปิดคัทเอ๊าท์ให้มีกระแสไฟฟ้าเข้ามา (อย่าลืมต้องมีฟิวส์ที่คัทเอ๊าท์เสมอ) หากปลั๊กหรือจุดใดจุดหนึ่งยังชื้น หรือเปียกอยู่ คัทเอ๊าท์จะตัดไฟและฟิวส์จะขาด ลองเปลี่ยนฟิวส์แล้วทิ้งไว้สัก 1 วัน ให้ความชื้นระเหย ออกไปบ้าง แล้วดำเนินการใหม่ หากคัทเอ๊าท์ยังตัดไฟเหมือนเดิม กรุณาตาม ช่างไฟฟ้า ผู้รู้เรื่องมาแก้ไข (เสียเงินบ้างก็เป็นเรื่องจำเป็น) ดีกว่าเอาชีวิตเสี่ยงต่อไป
2. หากผ่านข้อที่ 1 ลองทดสอบเปิดไฟฟ้าทีละจุด และทดสอบกระแสไฟฟ้า ในปลั๊ก แต่ละอันว่ามี ไฟฟ้ามาปกติ หรือไม่ (อาจหาซื้อ อุปกรณ์ตรวจ กระแสไฟฟ้า ขนาดเล็ก จาก ห้างไฟฟ้าทั่วไป รูปร่างหน้าตาคล้ายไขควง มาเสียบทดสอบดูก็จะสะดวกดี) หาก ทุกจุดทำงาน ปกติก็ถือว่า สบายใจได้ไปอีกระดับหนึ่ง หากมีปัญหา บางจุด ก็อาจรอสักนิดให้ความชื้นระเหยออกเช่นข้อแรก (แต่หากพอมีเงิน กรุณาอย่าเสี่ยงเลยครับ)
3. ดับไฟทุกจุดในบ้าน ปลดเครื่องใช้ไฟฟ้าออกทั้งหมด แต่ยังคงเปิดคัทเอ๊าท์เอาไว้ แล้ววิ่งไปดู มิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านว่าเคลื่อนไหวหรือไม่ (อาจต้องรอสักพักโดยการจดตัวเลข หรือใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปไว้) หากไม่เคลื่อนไหวแสดงว่า ไฟฟ้าในบ้านเราไม่น่าจะรั่ว แต่หากมิเตอร์หมุนแสดงว่า ท่านยังปิดการใช้ไฟฟ้าในบ้านท่านไม่หมด หรือไฟฟ้า ตามสาย ตามท่อ ตามจุด บางจุดในบ้านท่าน อาจจะรั่วได้รีบตามช่างไฟมาดูแล
4. เรื่องไฟฟ้านี้เป็น เรื่องของผู้ใหญ่ ไม่ใช่เรื่องของเด็กเป็นเรื่องของคนขี้ขลาด ไม่ใช่เรื่องของผู้กล้าหาญ ดังนั้นกรุณาอย่าประมาท นํ้าท่วมก็เสียหายมากพอแล้ว อย่าต้องมาจัดงานอัปมงคลตามหลังกันอีกเลย ...ซีเรียสนะครับ !
5. งูเงี้ยวเขี้ยวขอตะกวดแย้มังกรกิ้งกือ หนีน้ำมาอยู่เต็มบ้านเลย
กรณีมีสัตว์ที่เราไม่พึงประสงค์เข้ามาอยู่ในบ้านของเรา คงจะต้องค่อยๆแยกประเภทสัตว์ต่างๆออกเป็นประเภทเสียก่อน เพราะสัตว์เหล่านั้นไม่มีสูตรสำเร็จที่จะจัดการให้หมดไปได้ด้วยวิธีเดียวกัน ซึ่งอาจจะแยกเป็นประเภทและการดำเนินการได้ดังนี้
1. สัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่พอควร ทั้งที่มีพิษและไม่มีพิษ เช่น งู ตะกวด จระเข้ ฯลฯ อะไรทำนองนี้ อย่าพยายามไปจับหรือจัดการเอง ทำการป้องกันบ้านและป้องกันตัวไม่ให้พวกเขามาทำอันตรายเรา (เราในที่นี้หมายถึงสัตว์เลี้ยงแสนรักของเราด้วยนะครับ) ให้ติดต่อหน่วยราชการอาสา มาจัดการสัตว์ร้ายเหล่านี้
2. สัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็ก ที่ไม่มีพิษ เช่น กิ้งกือ ไส้เดือนกิ้งก่า จิ้งเหลน ฯลฯ ก็ปล่อยเขาไว้ได้ บางท่านอาจจะรังเกียจ แต่ก็ทนนิดๆไว้ก่อน เอาเขาไปปล่อยในที่ที่สมควรปล่อย (ไม่รบกวนใคร)ก็ได้ หรืออาจจะปล่อยเขาเอาไว้เฉยๆก็ได้ ไม่นานเมื่อทุกอย่างเรียบร้อย เขาก็จะหายไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเขาเข้ามาในตัวบ้านเราโดยผ่านทาง "รู" ต่างๆในบ้านเรา ก็ต้องจัดการเอาเขาออกไปนะครับ
3. แมลงต่างๆ ตั้งแต่ยุง แมงมุม ฯลฯ หรือแม้แต่มด ต้องไม่ให้เข้ามาในบ้านเรา ต้องพยายามปิดประตูหน้าต่าง ปิดรู ให้ดีเท่าที่จะทำได้ และคงต้องจัดการให้หมดไปตามปกติธุระ
4. แมลงพิเศษ "ปลวก" ตอนนี้เขาคงยังไม่มา แต่อาจจะมาในอนาคตได้ ตอนนี้ยังไม่ต้องจัดการอะไร แต่พึงระวังไว้ว่า เมื่อนํ้าลดไปไม่นาน จะต้องมีการป้องกันปลวกให้ดี เพราะโอกาสที่เขาจะมามีมากพอควรเลย
6. ส้วมเหม็น ส้วมเต็ม ส้วมราดไม่ลง
หลังนํ้าท่วม นอกจากปัญหาใกล้ตัวเรื่องระบบไฟฟ้า และวัสดุปูพื้นที่ถูกนํ้าท่วมจะเป็นปัญหาที่พบเห็นเสมอ แล้ว เรื่องส้วม ๆ ดูจะเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าและหนักหนากว่ามาก เพราะเราไม่มีที่ จะถ่ายทุกข์ ทุกข์เลยบรรจุ อยู่เต็มตัวเรา พอเราถ่ายทุกข์ออกมาหน่อยทุกข์นั้นดันไม่ย่อยสลาย บ้านเรา ก็เลยมีทุกข์ ลอยตุ๊บป่องตุ๊บป่อง เต็มไปหมด เมื่อนํ้าลดแล้ว ส้วมของบางท่านอาจจะยังคงมีปัญหาอยู่ ขอสรุปรวมความปัญหาแห่งส้วม ออกเป็นข้อดังต่อไปนี้
1. หากส้วมของท่านเป็นระบบบ่อเกรอะ-บ่อซึมแล้ว บ่อซึม ของท่าน วางอยู่ ใน บริเวณที่พื้นดินชุ่มฉํ่า (อาจจะเพราะนํ้าท่วมก็ได้) สิ่งที่เกิด ก็คือบ่อซึม ไม่ยอมซึมนํ้าออก (แถมยามนํ้าท่วม นอกจากนํ้า จะไม่ไหลออก จากบ่อซึม นํ้าที่ท่วม จะไหลย้อนเข้ามาในบ่อ และระบบย่อยสลายอีกด้วย) ปัญหาที่ตามมา ก็คืออาการ "ตุ๊บป่อง" ราดส้วมไม่ลง ใช้ส้วมไม่ได้ ส้วมจะเต็มบ่อยนั่นเอง แก้ไขได้ 2 ประการคือ หากพื้นดินชุ่มฉํ่า เพราะนํ้าท่วม ก็ขอให้รอสักนิด ให้พื้นดินแห้งสักหน่อย แต่หากพื้นดินชุ่มฉํ่าชื้น ตามธรรมชาติของพื้นที่ ก็กรุณาเปลี่ยนระบบ มาใช้เป็นระบบเครื่องกล สำหรับ ย่อยสลาย (ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถังส้วมสำเร็จ) ซึ่งจะทำหน้าที่ ย่อยสลายปฏิกูล ต่าง ๆจนเป็น นํ้าสะอาด แล้วก็ปล่อยลง ท่อระบายนํ้าสาธารณะ ได้โดย ไม่ผิด กฎหมาย
2. หากโถส้วมอยู่ระดับต่ากว่าหรือใกล้เคียงกับระดับบ่อเกรอะ หรือถังส้วมสาเร็จรูป ทำให้ระนาบ ของท่อส้วม ไหลไม่สะดวก หรือบางครั้ง อาจจะมีอาการ ไหลย้อนกลับ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยามนํ้าท่วม ทำให้ระดับนํ้า ณ ถังส้วม อาจสูงกว่า ระดับโถส้วม) ทำให้เกิดอาการ ราดไม่ลง หรือตอนกดนํ้า ราดนํ้าที่โถส้วม ทำให้ในโถส้วม มีแรงดัน สูงมากขึ้น หากนํ้าไม่สามารถ ไหลลงไปได้ ก็จะเกิดอาการ แรงดันย้อนกลับ ทุกข์ทั้งหลายของเราจะกระฉอกขึ้นเปรอะเปื้อนได้
3. อาจเกิดเพราะท่อส้วมแตกและอาจไปฝัง (หรือเกือบจะฝังในพื้นดิน) ทำให้เกิดกลิ่นเหม็น และราดส้วมไม่ลง หรือบางครั้ง เกิดอาการ ที่ตัดสินใจยาก เพราะบางครั้งราดลง บางครั้งราดไม่ลง เพราะไปเกี่ยวข้อง กับสภาพแวดล้อม อย่างมาก หากกรณีนี้เกิดขึ้นในขณะนํ้าท่วม ยิ่งตัดสินใจยาก เพราะวันไหน ทุกข์ของเรา มีนํ้าหนักมาก วันนั้นก็อาจจะราดไล่ลงไปได้ วันไหนทุกข์ของเรา มีมวลน้อย มีนํ้าหนักน้อย ทั้งเสือกไสไล่ ราดเท่าไรก็ดื้อ ไม่ยอมลงสักที
4. บางท่านอาจจะลืมใส่ท่ออากาศให้ส้วมหายใจ เวลาราดนํ้าจะราดไม่ลง (เหมือนกับพยายาม กรอกนํ้าใส่ขวด โดยไม่มีช่องอากาศ เหลือเลยที่ปากขวด จะกรอกนํ้าไม่ลง) บางบ้าน อาจจะมีท่ออากาศ แต่ท่ออากาศอาจอุดตันได้ ไม่ว่าจะเกิดจากความสกปรก หรือเกิดจาก เศษผง เล็กลอยมาอุด ตอนที่นํ้าท่วมก็ได้
5. ขนาดของบ่อเกรอะบ่อซึม หรือถังบาบัดสาเร็จขนาดเล็กเกินไป หลายครั้งพบปัญหา เพราะใช้อาคาร ผิดประเภท เช่นออกแบบไว้ ให้มีคนในบ้าน 5 คน แต่พอใช้จริง ใช้เข้าไปตั้ง 8-9 คน ปริมาณทุกข์ต่าง ๆ จึงมากกว่า ที่เคยคำนวณเอาไว้แต่แรก ถังส้วมจะเต็มบ่อยเต็มเร็ว เพราะมีช่องว่างน้อย ถ้าเป็นระบบบ่อซึม ก็มีพื้นผิวการซึมนํ้าออกน้อย นํ้าจึงซึมออกไม่ทัน
7.เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น เครื่องซักผ้า จมน้ำหมดเลย ทำไงดี
หากโดนนํ้าท่วมแล้ว นํ้าเจ้ากรรม ไหลเข้าไป ในเครื่องเรียบร้อยแล้ว (แถมยังแช่ไว้ด้วย) ถอดออกไปให้ช่างผู้รู้ เขาตรวจสอบดูก่อน ดีกว่า กรุณาอย่าประมาท เอาไปตากแดด แล้วคิดว่าแห้งแล้ว เลยนำไปใช้ต่อ เพราะความชื้นบางส่วน อาจจะฝังอยู่ข้างใน พอเครื่องกลนั้น ทำงาน โดยใช้กระแสไฟฟ้า อาจทำให้เกิดปัญหา กับตัวบ้าน หรือเป็นอันตราย ถึงชีวิตได้
นอกจากความชื้นที่ฝังอยู่ในตัวเครื่องแล้ว บรรดาฝุ่นผง เศษขยะ หรือแม้แต่สิ่งมีชีวิตบางประเภท ก็อาจจะฝังตัวหรือแอบซ่อนตัว (หรือเสียชีวิต) ค้างอยู่ภายในเครื่องด้วย หากเดินเครื่องจักรกลหมุน อาจจะเกิดการติดขัดและมีการฝืนกำลังกัน เครื่องอาจจะเสียหรือไฟไหม้ได้ (อาจจะไม่ได้เกิดโดยทันที แต่จะเกิดขึ้นภายหลังได้)
8. ประตูบ้านถูกน้ำท่วมบวมอลึ่งฉึ่ง ประตูเหล็กขึ้นสนิมหมดแล้ว
ขอให้คิดว่าประตูหน้าต่างเวลาถูกนํ้าท่วม จะเหมือนกับผนังที่ถูกนํ้าท่วมเหมือนกัน การที่ประตูไม้บวมเป่งขึ้นมา ก็เหมือนกับ ผนังไม้ หรือผนังยิปซั่ม ที่ปูดโปนขึ้น ส่วนประตูเหล็กที่ขึ้นสนิมนั้น ก็เป็นเรื่องของโลหะที่แช่นํ้า เมื่อแห้งแล้วก็ต้องเป็นสนิมไปเป็นปกติธรรมดา แนวทางแก้ไขมีดังต่อไปนี้
1. ประตูไม้ หรือวัสดุที่เหมือนกับไม้ที่บวมขึ้นมาหรือผุพัง ก็เหมือนกับประตูห้องนํ้าเรา ที่หลายๆบ้านเป็น อันเกิดจากความชื้นในห้องนํ้า แก้ไขโดยการทิ้งไว้ให้แห้ง ซ่อมแซมพื้นผิว เท่าที่ตนเองจะทำได้ หรือหากหมดสภาพจริง ๆ และพอมีงบประมาณบ้าง ก็ซื้อใหม่ เปลี่ยนแปลงเสียเลย ก็ยังพอไหว
2. ประตูเหล็กที่ขึ้นสนิม อาจจะไม่ถึงผุพัง (ยกเว้นแต่ผุมาก่อน) ก็จัดการ ขัดสนิมออก เช็ดให้ สะอาด แห้ง แล้วทาสีใหม่ทับลงไป ก็ถือได้ว่าเป็นอันเสร็จพิธี แต่ความน่าสนใจ ก็คือ ขอให้มั่นใจว่านํ้าหรือความชื้น ได้ออกไปหมดแล้ว ทั้งในท่อโครงเหล็กหรือบริเวณรอยต่อต่างๆ
9.เฟอร์นิเจอร์ โต๊ะ เตียง เก้าอี้ หลังน้าท่วม
ขอให้คิดเสมือนว่าเฟอร์นิเจอร์นั้นเป็นเครื่องใช้ เป็นพื้นบ้านและเป็นผนังบ้านอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้น การแก้ไข เฟอร์นิเจอร์หลังนํ้าท่วม ก็คงจะคล้ายกับการแก้ปัญหา เรื่องประตูหน้าต่าง เครื่องไม้ เครื่องมือ พื้นบ้าน ฝ้าเพดานบ้าน และผนังบ้านปน ๆ กันไป สรุปข้อคิดและแนวทางการแก้ไขไว้ดังต่อไปนี้
1. พยายามเอาความชื้นออกจากเฟอร์นิเจอร์ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว
2. เฟอร์นิเจอร์ที่อมน้ำมากๆ เช่น โซฟานวมหรือนุ่น ที่นอนหากไม่จาเป็นอย่าเอากลับมาใช้อีกเลย เพราะตอนนํ้าท่วม จะพาเชื้อโรค และสิ่งไม่พึงประสงค์เข้าไปอยู่ภายในไม่น้อย แม้ตากแดดแห้งแล้ว เชื้อโรคร้าย ก็อาจยังคงอยู่ เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ในระยะยาวได้
3. เฟอร์นิเจอร์ประเภทติดกับที่ (Built In Furniture) ขอให้แก้ปัญหาเหมือนผนังและประตู คือต้อง ตรวจสอบ ความแข็งแรง ของโครงสร้าง สายไฟที่อาจจะฝังอยู่ในตู้ รูกุญแจและลูกบิด ทำการบำรุงรักษา ให้อยู่ ในสภาพ เรียบร้อย เหมือนเดิม หรือใกล้เคียงของเดิม
4. คือเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยไม้ ไม่ควรเอาไปตากแดดโดยตรง เพราะจะทำให้แตก เสียหายได้ อีกทั้งยาม จะทาสีทับลงไป ก็ขอให้มั่นใจว่า เขาแห้งแล้วจริง ๆ ไม่เช่นนั้นสีจะลอกหมด ความชื้นจะฝังใน
10. "ฝ่าวิกฤติด้วยความคิดบวก"
ความคิดบวกหรือ Positive Thinking ฟังเสมือนกับเป็นลัทธิแก้อย่างหนึ่ง แต่ความจริงแล้วการมองภายในตนให้ครบถ้วนทุกด้าน แล้วเอาด้านที่เป็นบวกมาพิจารณาเป็นประเด็นในการจัดการปัญหา ชีวิตเราก็จะมีความสุขขึ้นไปพร้อมๆกับผู้รอบข้าง และ สังคมที่เราอยู่ร่วมนั้น การแก้ปัญหาทั้งหลายย่อมไม่มี "สูตรสาเร็จ" เป็นธรรมดา.... บางทีเมื่อแก้ปัญหาด้วยการ "คิด" ไม่ได้.... ลองใช้การแก้ปัญหาด้วยการ "ยั้งคิด" บ้าง บางทีการแก้ปัญหาด้วย "ความรู้" ไม่ได้.... ลองใช้ "ความรู้สึก" ในการแก้ปัญหาบ้าง บางทีเราต้องไม่มองเฉพาะผล "ด้านนอก" แต่เราต้องเข้าใจปัญหาจาก "ภายใน" บ้าง พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้ หากเราฝึกตนให้เป็น "คนกล้า" ที่มิใช่ลืมตัวกลายเป็นคน "บ้าบิ่น" แก้ปัญหาตามอารมณ์ โดยเราแยกความแตกต่างของ "ความรัก" และ "ความหลง" ได้ชัดเจนเพียงพอ โดยเรารอบรู้และเข้าใจทั้ง "วิชาการ" และ "มนุษย์" ได้อย่างสมดุล เราจะหา "ข้อมูล" เพื่อการ "วิเคราะห์" อันนำมาซึ่ง "บทสรุป" เพื่อการปฏิบัติทั้งหลายได้ พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้ เราต้องไม่เป็นผู้ที่ "รู้มาก แล้ว คิดน้อย" หรือเป็นผู้ที่ "รู้น้อย แล้ว คิดมาก" เราน่าจะเป็นผู้ที่ "รู้น้อย ก็รู้ให้มากขึ้น เมื่อรู้มากพอแล้ว ก็อย่าลืมคิดให้มากขึ้น" ตามไปด้วย หากคิดมากขึ้นแล้ว ยังแก้ปัญหาไม่ได้..... ลอง "ยั้งคิด" ดูสักหน่อย พลังแห่งการฝ่าวิกฤติทั้งหลายอาจจะอยู่ตรงนั้นก็ได้
ขอบคุณข้อมูล : ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ ตุลาคม ๒๕๕๔
สังคมไทยจะต้องอยู่ร่วมกับธรรมชาติให้ได้ เพราะธรรมชาตินั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน การใช้เทคโนโลยีไปฝืนพลังแห่งธรรมชาติมากเกินไป การทาร้ายธรรมชาติ จะเกิดผลเช่นนี้เรื่อยไป
ขอบคุณภาพประกอบ : Photos.com