การวินิจฉัยและรักษาการแพ้เครื่องสำอาง

การวินิจฉัยและรักษาการแพ้เครื่องสำอาง

การวินิจฉัยและรักษาการแพ้เครื่องสำอาง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปกติแล้วการแพ้เครื่องสำอางสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกผลิตภัณฑ์แต่ไม่ได้เป็นอันตรายมากเนื่องจากเป็นการใช้ภายนอก หากเรารู้สึกว่ามีอาการแพ้เครื่องสำอางตัวนั้นก็ให้หยุดจนหายและลองใช้ในบริเวณน้อยๆดูอีกว่าเป็นอีกหรือเปล่า เพื่อหาต้นตอว่าเกิดจากสารอะไรและครั้งต่อไปจะได้หลีกเลี่ยงสารนั้นๆ


อะไรเป็นสาเหตุของการเกิดปฏิกิริยากับเครื่องสำอาง

การเกิดผิวอักเสบจากการระคายเคือง ผิวจะมีอาการแพ้เมื่อสัมผัสกับสิ่งที่มีความหยาบกระด้างหรือเคมีรุนแรง บ่อยครั้งที่พบว่าสารเคมีทำอันตรายโดยตรงกับผิวหนังชั้นนอก จึงเป็นเหตุให้เกิดอาการแพ้  ผื่นแพ้สัมผัสเกิดขึ้นจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกิดปฏิกิริยาต่อต้านสารเฉพาะอย่าง (สารที่เป็นตัวทำให้เกิดอาการแพ้) ซึ่งเป็นสารแปลกปลอมและเป็นอันตรายต่อผิวหรือร่างกาย

ปกติแล้วอาการแพ้เครื่องสำอางเกิดได้บ่อยแค่ไหน

ปกติแล้วอาการแพ้อย่างรุนแรงนั้นพบได้ไม่บ่อย อย่างไรก็ตามการแพ้จากการระคายเคืองเล็กน้อยต่อส่วนผสมในเครื่องสำอางนั้นไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติ การศึกษาพบว่าประชากรประมาณ 10% อาจมีบางประเภทของการแพ้เครื่องสำอางในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ปฏิกิริยาการแพ้เครื่องสำอางจะเกิดได้ในผู้หญิงมากกว่า เนื่องจากผู้หญิงมีแนวโน้มว่าใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางมากกว่าผู้ชาย

จะทำอย่างไรหากพบว่ามีอาการแพ้

หากเกิดอาการแพ้ ให้หยุดใช้เครื่องสำอางทุกตัว และเมื่อหายจากการแพ้แล้ว ให้เริ่มใช้ผลิตภัณฑ์เดิมทีละตัว ซึ่งจะช่วยให้วิเคราะห์ได้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวใดที่ทำให้เกิดอาการแพ้ หากไม่สามารถหาตัวต้นเหตุของการแพ้ได้ อาการแพ้ก็จะไม่หายไปได้

วินิจฉัยอาการแพ้ได้อย่างไร

อาการต่าง ๆ นั้นจะวินิจฉัยได้โดยการสังเกตดูอาการที่เกิดขึ้นและประวัติการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลาย ๆ ตัวที่ใช้อยู่ เนื่องจากผู้ใหญ่ส่วนมากจะใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายตัว ดังนั้นจึงเป็นการยากในการจะชี้ตัวผลิตภัณฑ์ที่ทำให้แพ้ หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นผื่นแพ้สัมผัส แพทย์อาจจะใช้วิธีการทดลองแต้มสารต่าง ๆ บนผิวเพื่อหาว่าอะไรที่เป็นตัวทำให้แพ้

อาการแพ้ต่าง ๆ จะรักษาได้อย่างไร

โดยทั่วไปแล้ววิธีหนึ่งในการรักษาก็คือการหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ครีมหรือขี้ผึ้งที่มีส่วนผสมของ cortisone เช่น hydrocortisone (cortisone 10) และ hydrocortisone acetate (cort-aid) อาจใช้เพื่อช่วยควบคุมอาการคัน, บวม และผิวแดงได้ ในกรณีที่เป็นรุนแรง อาจต้องมีใบสั่งยาที่แรงขึ้นเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ หากแผลที่พุพองเกิดติดเชื้อ การต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

 

เรียบเรียงและแปลโดย Acnethai.com

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook