สำนึกผิดคิดให้เป็น
หลังจากการทะเลาะ ก่อนที่จะมีการให้อภัย คงต้องมีขั้นตอนของการเอ่ย "ขอโทษก่อนเสมอ" แต่ ว่าการเอ่ยคำขอโทษนั้นสำหรับบางคนมันช่างเป็นเรื่องยากเย็นเสียเหลือเกิน จากการศึกษาด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคลิกภาพของมนุษย์ได้เสนอประเด็นความรู้ เกี่ยวกับความรู้สึกผิดเอาไว้ใน an acknowledgment of guilt โดยนักจิตวิทยา Andrew Howell และเพื่อนร่วมงาน Grant MacEwan มหาวิทยาลัยใน Edmonton ได้สร้างแบบสอบถาม เพื่อวัดความเต็มใจของบุคคลในการขอโทษผู้อื่น
ในแบบสอบถามจะถามผู้เข้าร่วมว่า เห็นด้วยหรือไม่ ในระดับไหนกับข้อความ เช่น "ฉันจะยังคงโกรธไปอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะกล่าวขอโทษไปแล้ว.." หรือ "ฉันคิดว่า ถ้าไม่มีใครรู้สิ่งที่ฉันได้กระทำลงไป ฉันก็ไม่จำเป็นต้องขอโทษ.." เป็นต้น นักวิจัยใช้คำตอบ ของการสำรวจทั้งหมด ระบุถึงผลลัพธ์ "แนวโน้มการขออภัย" โดยประเมินจากหลายๆบุคคลและหลากหลายบุคลิกภาพ
แล้วผลลัพธ์ก็ออกมาเป็นอย่างที่ Howell มั่นใจ...คนที่ มีบุคลิกที่มักสงสารและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น มักจะมีความ "เต็มใจขอโทษ" ผลการศึกษายืนยันสมมติฐานของเขาได้ถูกต้อง แต่การทดสอบยังแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะที่น่าประหลาดใจ นั่นคือลักษณะนิสัยเฉพาะของ ผู้ที่ "ไม่สำนึกผิด" กลุ่มคนที่ "ไม่สำนึกผิด" หรือ "ไม่คิดจะขอโทษ" มักเป็นบุคคลที่ไม่มีความมั่นใจในตนเองอย่างมาก ถึง แม้ว่าพวกเขาจะรู้สึกแย่ เมื่อเกิดข้อขัดแย้งหรือต้องทะเลาะกับใครก็ตาม กลุ่มที่กระทำผิดเฉพาะเรื่องหรือเฉพาะกระทำหนึ่งๆ มักมีรู้สึกผิดต่อผู้ถูกกระทำ ส่วนในกลุ่มบุคคลธรรมดาทั่วๆไป ที่อาจทำผิดไม่ร้ายแรง มักจะมีแค่ความละอายใจ ถึงแม้จะมีความรู้สึกผิดก็มักกล่าวขอโทษ (ในใจ) กับตนเอง
ตรงกันข้ามคนที่ได้ "รู้สึกผิดต่อการกระทำหนึ่งๆแล้วยังรู้สึกผิดต่อบุคคลที่ถูกกระทำ" คนเหล่านี้มักมีความมั่นใจ พร้อมจะเผชิญความผิดที่ได้ทำลงไป สามารถยอมรับได้ว่าผิดและมีความละอายแก่ใจตัวเองมากกว่า นอกจากเรื่องของ "ความมั่นใจ" ที่เป็นตัวสำคัญแล้ว "ความหลงตนเอง" ก็มีส่วนอย่างยิ่ง เพราะคนที่เห็นตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลก มักมีมุมมองต่อตนเองที่ยิ่งใหญ่มากเกินกว่าที่จะเอ่ยคำขอโทษใครได้ง่ายๆ
นักวิจัยยังพบเรื่องน่าประหลาดใจว่า "ความรู้สึกที่เข้มข้น" เช่น ความโกรธขั้นรุนแรง มีผลต่อการตัดสินความถูกต้องของสถานการณ์นั้นๆ และมักมีผลในด้านลบ กับ "การขอโทษด้วยความเต็มใจ" ในหลายครั้งความรู้สึกผิด มักจะถูกแทนที่ด้วย "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" หรือ "ทีใครทีมัน"
อย่าลืมว่านี่เป็นเพียงผลสำรวจ ซึ่งไม่ได้ยืนยันว่า "แค่เอ่ยคำขอโทษแล้วมันจะจบปัญหา" แต่อย่างใด...
ที่มา : Scientific American Mind November/December 2011