รู้จริงเรื่อง การนอน
เป็นเรื่องใกล้ตัวมากที่สุด อย่างที่รู้ๆ กันว่าวิธีพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะหลับสบายยามหัวถึงหมอน หรือ หลับได้ทุกที่ทุกสถานการณ์ การนอนสำคัญและเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่นๆ มากกว่าที่คิด หากอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือง่วงหลับประจำตอนกลางวัน อะไรเป็นสาเหตุที่แท้จริง และ ปัญหาใดเป็นความเชื่อผิดๆ กันแน่?
ความเชื่อ : ขณะนอนหลับพักผ่อน ร่างกายกับสมองจะหยุดพัก ไปด้วย
ข้อเท็จจริง : ขณะหลับ ร่างกายจะหยุดพักผ่อน แต่สมองยังคงทำงาน การนอนหลับเป็นการลดภาระให้สมองทำงานเบาลง เสมือนว่าได้ชาร์จแบต- เตอรี่เพื่อเตรียมพร้อมทำงานในวันต่อไป แต่ก็ยังคงต้องควบคุมการทำงาน อวัยวะต่างๆ ของร่างกายอยู่ ไม่ว่าจะเป็นระบบหายใจ ระบบประสาท ฯลฯ
ความเชื่อ : ผู้สูงอายุไม่จำเป็นต้องนอนมาก
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง ผู้สูงอายุต้องการนอนหลับพักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เช่นเดียวกับคนหนุ่มสาว แต่อายุที่มากขึ้นประกอบกับการทำงาน ของอวัยวะในร่างกายเริ่มเสื่อมไปตามเวลา ทำให้กิจวัตรประจำวันเปลี่ยน แปลงไป ส่งผลให้พฤติกรรมการนอนไม่เหมือนเดิม นอนหลับได้น้อยชั่วโมงลง หรือหลับๆ ตื่นๆ ตลอดคืน แต่ไม่ว่านอนหลับได้ไม่เต็มอิ่มอย่างไร ร่างกายก็ยังคงต้องการเวลาพักผ่อนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงอยู่ดี
ความเชื่อ : นอนหลับพักผ่อนน้อยเป็นประจำ ร่างกายจะชินและ ไม่ต้องการนอนมากอย่างที่เคย
ข้อเท็จจริง : ไม่จริง เคยมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการนอนว่า ในวัยผู้ใหญ่ หากนอนให้ได้ประมาณ 7-9 ชั่วโมงทุกวัน จะส่งผลให้สุขภาพ ร่างกายโดยรวมดีอย่างน่าทึ่ง หากวันไหนนอนหลับได้ไม่เพียงพอ ร่างกายก็จะชดเชยชั่วโมงนอนที่ขาดรวมกับชั่วโมงนอนในอีก 2-3 คืนถัดไป ไม่ว่าเรา จะนอนน้อยเป็นประจำหรืออดนอนนานแค่ไหน ร่างกายไม่มีวันชินหรือยอมรับ ให้นอนน้อยได้ เพราะฝืนธรรมชาติการพักผ่อนที่ร่างกายต้องการ
ความเชื่อ : ง่วงหาวตอนกลางวันแสดงว่านอนไม่พอ
ข้อเท็จจริง : จริง สาเหตุของอาการง่วงหาวตอนกลางวัน อาจมีส่วนหนึ่งมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ แต่ก็อาจเกิดกับคนที่นอนหลับเต็มอิ่มได้ด้วย และถ้าง่วงผิดสังเกต อาจเป็นสัญญาณเตือนว่ามีเรื่องสุขภาพอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ร่างกายขาด การพักผ่อนอย่างเต็มที่ ควรปรึกษาแพทย์
ความเชื่อ : นอนน้อยมีผลต่อน้ำหนัก
ข้อเท็จจริง : จริง หากนอนหลับไม่เพียงพอก็จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะเลปตินและเกรลิน ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ ฮอร์โมนทั้ง 2 มีหน้าที่ควบคุมและสร้างสมดุลความต้องการอาหาร ฮอร์โมนเกรลินถูก ผลิตขึ้นในระบบทางเดินอาหาร มีหน้าที่กระตุ้นความอยากอาหาร ในขณะที่ เลปตินถูกผลิตในเซลล์ไขมัน ทำหน้าที่ส่งสัญญาณรับรู้ว่าอิ่มไปยังสมอง เมื่อได้รับอาหารพอดีกับความต้องการ ดังนั้นหากนอนหลับไม่เพียงพอ จะส่ง ผลให้ระดับเลปตินต่ำลง ร่างกายไม่รู้สึกอิ่มอย่างที่ควรจะเป็น ตรงกันข้าม ฮอร์โมนเกรลินจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้อยากอาหารเพิ่มมากขึ้น จนกินเกินพอดี
วันนี้การนอนของคุณอยู่ในระดับ A+ แล้วหรือยัง?
ขอบคุณภาพประกอบ : http://www.photos.com