ระวัง โรคตาขี้เกียจ ปัญหาสายตาที่อาจทำให้ลูกคุณตาบอดได้

ระวัง โรคตาขี้เกียจ ปัญหาสายตาที่อาจทำให้ลูกคุณตาบอดได้

ระวัง โรคตาขี้เกียจ ปัญหาสายตาที่อาจทำให้ลูกคุณตาบอดได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคตาขี้เกียจ ฟังดูเหมือนเป็นเพียงคำพูดหยอกเย้าเปรียบเปรยว่าขี้เกียจทำงานจนตาแทบปิด จริงๆ แล้วโรคตาขี้เกียจเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาชนิดหนึ่ง ซึ่งมักเกิดขึ้นกับเด็กและไม่ค่อยพบในวัยผู้ใหญ่ เราจึงอาจไม่ค่อยคุ้นเคยกับโรคเกี่ยวกับดวงตาชนิดนี้มากนัก ดังนั้น วันนี้เรามาทำความรู้จักโรคความผิดปกติของดวงตาชนิดนี้ให้มากขึ้นกัน

โรคตาขี้เกียจคืออะไร

โรคตาขี้เกียจ เกิดจากความผิดปกติของการมองเห็น ซึ่งมักเกิดกับเด็ก สามารถตรวจพบได้จากการวัดสายตาของคุณครูที่โรงเรียน หรือจากการตรวจของแพทย์ และในเด็กบางคนสามารถบอกได้ว่า มีอาการตามัว มองเห็นไม่ชัดเจน หรือมีพฤติกรรมชอบเอียงหน้าเพ่งมอง มองใกล้ ๆ และจากการที่เด็กมองเห็นไม่ชัดเจนอาจทำให้เด็กไม่สนใจเรียนได้  ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมที่ผิดปกติของบุตรหลาน  ถ้าไม่แน่ใจให้รีบพาไปพบจักษุแพทย์ เพื่อให้การรักษาภาวะตาขี้เกียจได้ทันท่วงที

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

อันที่จริงโรคนี้มีสาเหตุมาจากอาการความผิดปกติทางสายตาเช่น ตาเหล่ ตาเข กล่าวคือ อาการตาเหล่ หรือ ตาเข เป็นอาการที่ทำให้การมองเห็นไม่เท่ากันกล่าวคือ ตาข้างหนึ่งปกติ ส่วนอีกข้างไม่ปกติ จึงทำให้เด็กใช้ตามองสิ่งต่างๆ เพียงข้างเดียว เมื่อตาข้างที่เหล่ไม่ถูกใช้การนานๆ เข้าจึงมัวลงจนเกิดภาวะโรคตาขี้เกียจ ส่วนอีกกรณีหนึ่งเกิดจากภาวะสายตาผิดปกติธรรมดาๆ เช่น สายตาสั้น สายตายาว โดยมีสาเหตุคล้ายกับอาการตาเหล่ คือสายตาสองข้างไม่เท่ากัน และต่างกันมาก จึงทำให้เด็กมองเห็นไม่ชัด อาจทำให้เกิดภาวะตาขี้เกียจทั้งสองตา หรือเด็กใช้ตาข้างเดียวในการมอง ก็จะทำให้เกิดตาขี้เกียจในตาข้างที่ไม่ได้ใช้มอง และเกิดจากโรคตาอื่นๆ ที่ขัดขวางการมองเห็นตั้งแต่เด็ก เช่น หนังตาตก กระจกตาขุ่น ต้อกระจกตั้งแต่กำเนิด และต้อหิน

เด็กควรได้รับการตรวจโรคตาขี้เกียจ เมื่ออายุเท่าไหร่

เด็กทุกคนจะได้รับการตรวจตั้งแต่แรกเกิด เพื่อดูว่ามีภาวะผิดปกติของดวงตา หรือต้อกระจกหรือไม่ ถ้ามีต้อกระจกตั้งแต่แรกเกิด ก็จำเป็นต้องรีบผ่าตัดภายในหนึ่งถึงสองเดือน  ถ้าเด็กทั่วไปควรได้รับการตรวจตาที่อายุ 3 - 6 ปี เพื่อหาภาวะตาขี้เกียจ ซึ่งถ้าพบควรรีบให้การรักษา เพราะการรักษาจะได้ผลดีในช่วงอายุ 3 - 6 ปี ถ้าอายุมากกว่า 9 - 10 ปีไปแล้ว การรักษามักใช้ระยะเวลานาน

ภาวะแทรกซ้อนของตาขี้เกียจ

เมื่อผู้ป่วยที่เป็นโรคตาขี้เกียจ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจส่งผลให้ความสามารถในการมองเห็นลดลง จนถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร โดยพบอาการตาบอดถาวรในผู้ใหญ่ ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการตาขี้เกียจได้ประมาณ 2.9 เปอร์เซ็นต์

วิธีรักษาโรคตาขี้เกียจ

อย่างที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นว่า โรคตาขี้เกียจเป็นภาวะหนึ่งที่เกิดจากการมองไม่ชัด จากความผิดปกติของสายตาต่างๆ จนเกิดการมองเห็นที่ไม่เท่ากัน และไม่ค่อยได้ใช้ตาข้างนั้นๆ นานเข้า จึงเกิดโรคตาขี้เกียจ ถึงแม้ว่าจะเป็นเพียงการมองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ถนัด แต่ไม่สมควรละเลย เพราะหากปล่อยไว้ไม่รับการรักษา ก็อาจเกิดอาการแทรกซ้อนรุนแรง จนถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ ดังนั้น การรักษาจึงต้องใช้วิธีการปิดตาข้างที่เห็นชัด เพื่อให้ตาข้างที่เห็นไม่ชัดได้ใช้งานบ้างดังนี้

  • เด็กที่มีตาเขเข้าข้างเดียว แพทย์จะทำการปิดตาข้างที่ดี เพื่อให้ดวงตาข้างที่แย่มีการใช้งาน และเกิดการพัฒนา จนสามารถเห็นได้ดีทั้งสองข้างเท่ากัน แล้วจึงทำการผ่าตัดแก้ไข
  • เด็กที่มีสายตาสั้น ยาว เอียง สองข้างไม่เท่ากัน แพทย์จะให้เด็กใส่แว่นเป็นเวลา 6 เดือน หากสายตาดีขึ้นก็ไม่ต้องปิดตา แล้วให้เด็กใส่แว่นไปเรื่อยๆ
  • เด็กมีสายตาสั้นกับเอียงทั้งสองข้างมากๆ แพทย์จะให้เด็กใส่แว่นเช่นกัน
  • เด็กที่มีอะไรบางอย่างมาบดบังการมองเห็น ต้องจัดการกับสิ่งที่มาบดบัง เช่น การมีหนังตาตกตั้งแต่แรกเกิด แพทย์จะทำการผ่าตัดยกหนังตาขึ้น หรือในเด็กที่เป็นต้อกระจก แพทย์จะทำการผ่าตัดรักษาต้อกระจก

การป้องกัน โรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปี และเด็กทุกคนมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคตาขี้เกียจ โดยเฉพาะเด็กที่มีความผิดปกติทางสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว และ ตาเหล่ ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น หากเป็นทารกแรกเกิดไปจนถึงวัย 6-12 เดือน พ่อแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของทารก และตรวจสุขภาพของเด็กอย่างสม่ำเสมอ ส่วนเด็กที่อยู่ในช่วงวัยก่อนเข้าเรียน หรืออายุประมาณ 3-4 ปี ควรเข้ารับการตรวจวัดสายตาเป็นประจำ เพื่อการตรวจพบโรคได้ตั้งแต่ในระยะเนิ่นๆ และรักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้ ผู้ที่สายตาหรือดวงตาเกิดความผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์ Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook