สัญญาณภาวะซึมเศร้าในเด็ก และวิธีช่วยให้เด็กๆ เอาชนะมันได้

สัญญาณภาวะซึมเศร้าในเด็ก และวิธีช่วยให้เด็กๆ เอาชนะมันได้

สัญญาณภาวะซึมเศร้าในเด็ก และวิธีช่วยให้เด็กๆ เอาชนะมันได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เด็กก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ที่มีอาการหดหู่ใจ บางครั้งเด็กปกติก็อาจจะรู้สึกหดหู่ได้ซึ่งเป็นผลมากจากการไม่สมดุลของสารเคมีในสมองทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ มีอาการบางอย่างที่คุณควรจดจำและสังเกตหากลูกหลานของคุณมีอาการซึมเศร้า การได้รับความช่วยเหลือและรักษาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดต่อสุขภาพจิตของเด็กๆ  ในบทความนี้จะบ่งบอกถึงการสังเกตสัญญาณของภาวะซึมเศร้าในเด็ก และวิธีที่พ่อแม่ควรจะช่วยเหลือเด็กๆให้เอาชนะกับอารมณ์เหล่านั้นได้

สัญญาณของภาวะซึมเศร้าในเด็ก

คู่มือการวินิจฉัยและสถิติของความผิดปกติทางจิตได้แสดงลักษณะอาการซึมเศร้าที่เกิดในเด็กที่ต้องมีพฤติกรรมอย่างน้อย 5 อย่างยาวนานติดต่อกันเป็นเวลา 2 สัปดาห์เป็นสัญญาณอันตรายและควรได้รับการแก้ไขและลักษณะอาการเหล่านั้นได้แก่

1.มีความเศร้าหมองอยู่ตลอดเวลา ตลอดวัน ไม่ร่าเริงแจ่มใสสมวัย

2.มีความสนใจในกิจกรรมต่างๆลดลง

3.น้ำหนักตัวลดลง มีความอยากอาหารน้อยลง

4.มีอาการนอนไม่หลับ

5.มีความกระวนกระวายใจ

6.มีความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย

7.มีความรู้สึกไร้ค่าหรือความรู้สึกผิดที่มากเกินไป

8.หมกมุ่นอยู่กับความตาย การคิดฆ่าตัวตาย

ถ้าหากบุตรหลานของคุณกำลังทุกข์ทรมานจากการสูญเสียคนที่รักไป และกำลังจะผ่านขั้นตอนของความโศกเศร้าถือว่าเป็นเรื่องปกติที่จะมีอาการเหล่านี้ได้ แต่ถ้าพวกเขาดูเหมือนว่าจะติดอยู่ในช่วงเวลาแห่งความเศร้าก็คงจะถึงเวลาที่จะให้คำปรึกษาเพื่อคลายความโศกเศร้าให้พวกเขาพร้อมในกระบวนการการปรับจิตใจ แต่ถ้าหากว่าเด็กๆไม่ได้มีความทุกข์ทรมานจากการสูญเสียคนที่ตนรักแต่มีอาการดังกล่าวมาข้างต้นควรได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

วิธีที่จะช่วยให้บุตรหลานของคุณหลุดพ้นจากภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องล้อเล่น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีความคิดฆ่าตัวตาย ความรู้สึกและอารมณ์ของเด็กมีความเป็นจริงและต้องได้รับการปฏิบัติอย่างจริงจัง ตามที่สถาบันสุขภาพจิตแห่งชาติได้ระบุไว้ว่า การฆ่าตัวตายเป็นหนึ่งในสองสาเหตุของการตายของบุคคลที่มีอายุระหว่าง 10 และ 34 ดังนั้นหากพบว่าบุตรหลานของคุณมีภาวะซึมเศร้าอย่าลืมขอความช่วยเหลือจากผู้แพทย์หรือผู้เชียวชาญโดยเร็ว เพื่อให้ผู้เชียวชาญประเมินพฤติกรรมและทำการรักษา

สิ่งที่พ่อแม่ควรทำเพื่อช่วยเหลือบุตรหลานให้เอาชนะกับภาวะซึมเศร้า

นอกจากจะต้องใช้การช่วยเหลือจากแพทย์ผู้เชียวชาญแล้วพ่อกับแม่ยังเป็นอีกคนหนึ่งที่จะสามารถช่วยเหลือลุกน้อยให้พ้นจากภาวะซึมเศร้าได้ โดย

1.พูดคุยกับบุตรหลานของคุณเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขาในลักษณะเห็นอกเห็นใจ อ่อนโยน และเอาใจใส่ เด็กๆอาจจะรู้สึกกดดันที่ต้องกมาถูกถามตรงๆเกี่ยวกับว่าพวกเขารู้สึกยังไง การชวนเล่นเกมเล็กๆน้อยๆจะทำให้พวกเขาผ่อนคลายและเปิดใจกว้างที่จะแสดงความรู้สึกกับคุณ การถามคำถามที่เปิดกว้างจะดีกว่าการถามแบบหาคำตอบว่าใช่หรือไม่ใช่ และไม่ควรตัดสินในขณะที่พวกเขากำลังเปิดใจกับคุณเพราะการตัดสินจะทำให้พวกเขาปิดตัวและไม่ยอมบอกอะไรคุณอีก

2.จัดกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายและลดความตึงเครียด สำหรับเด็กๆมีวิธีง่ายๆที่ช่วยให้พวกเขาผ่อนคลาย เช่น การระบายสีภาพวาด  การเล่น การดู หรือการเล่นต่างๆ

3.จำกัดเวลาการดูหน้าจอโทรศัพท์หรือโทรทัศน์ เทคโนโลยีไม่เป็นประโยชน์ที่จะช่วยให้เด็กๆหดหู่ใจน้อยลง แต่มันเป็นตัวกระตุ้นให้พวกเขามีอาการที่แย่ลง ดังนั้นคุณควรจำกัดเวลาในการดูทีวีแล็ปท็อปโทรศัพท์สมาร์ทเกมวิดีโอและแท็บเล็ต ฯลฯ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ที่ดูเหมือนจะช่วยป้องกันบุตรหลานของคุณจากการเผชิญหน้ากับปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง การศึกษาพบว่าเด็กที่มีเวลาการดูหน้าจอมากเกินไปมีความเสี่ยงต่อความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้ามากขึ้น

4.ชวนออกกำลังกายหรือวิ่งเล่นกลางแจ้งมากยิ่งขึ้นเพื่อช่วยให้พวกเขาได้ผ่อนคลายและทำกิจกรรมร่วมกัน

5.สร้างบรรยากาศที่ดีภายในบ้าน จำกัดทัศนคติเชิงลบ ภาษาหรือการสนทนาที่กระทบกับจิตใจ หลีกเลี่ยงการพูดตะคอก ตะโกนหรือการกระทำใดๆที่รุนแรงภายในบ้าน สร้างบ้านของคุณให้เป็นที่หลบภัยสำหรับพวกเขา

ภาวะซึมเศร้าในเด็กอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ อย่าละเลยปัญหาและคิดว่ามันจะหายไปเอง เพราะมันจะยิ่งส่งผลตรงกันข้าม และทางที่ดีที่สุดควรพูดคุยและให้กำลังใจ ช่วยในการแก้ไขปัญหาต่างๆ รับฟังและเข้าใจก็จะช่วยพวกเขาให้รอดพ้นจากภาวะซึมเศร้าได้

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook