#HEARMETOO “มีอะไรจะบอก” แคมเปญยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จาก UN Women

#HEARMETOO “มีอะไรจะบอก” แคมเปญยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จาก UN Women

#HEARMETOO “มีอะไรจะบอก” แคมเปญยุติความรุนแรงต่อผู้หญิง จาก UN Women
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เนื่องในช่วง 16 วันแห่งการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (16 Days of Activism against Gender-Based Violence) ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคม พ.ศ. 2561 องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) ได้จัดแคมเปญ #HEARMETOO รณรงค์การยุติความรุนแรงต่อผู้หญิงในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้ทุกคนเป็นกระบอกเสียงในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง ผ่านกิจกรรมทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย

จากสถิติของ UN Women ที่ระบุว่า 1 ใน 3 ของจำนวนผู้หญิงทั่วโลก มีประสบการณ์ถูกกระทำความรุนแรง โดยใน พ.ศ. 2556 สถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิง อยู่ที่เฉลี่ยวันละ 87 รายต่อวัน และร้อยละ 83 ของการทำร้ายมาจากบุคคลใกล้ตัว นอกจากนี้ ข้อมูลจากมูลนิธิเพื่อนหญิงยังระบุว่า จนกระทั่งปัจจุบันนี้ ความรุนแรงนั้นไม่ได้ลดจำนวนลงเลยตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งกระแสของแคมเปญ #MeToo ที่ส่งผลให้ผู้หญิงทั่วโลกลุกขึ้นมาบอกเล่าประสบการณ์อันเลวร้ายจากความรุนแรงทางเพศ ทำให้ UN Women ต่อยอดแคมเปญนี้ โดยการเปิดตัวแคมเปญ #HEARMETOO หรือ #มีอะไรจะบอก เพื่อผลักดันให้ผู้หญิงไทยกล้าลุกขึ้นมาบอกเล่าประสบการณ์จากความรุนแรงทางเพศในอดีต หรือการถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ ซึ่งจะนำไปสู่การรณรงค์ต่อต้านความรุนแรง รวมทั้งสร้างความเสมอภาคทางเพศในสังคมไทย

ตัวแทนแคมเปญ #HEARMETOO (จากซ้าย) คุณนุ่น - ธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์, คุณมณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่จากUN Women, คุณอ้วน - อารีวรรณ จตุทอง ผู้ผ่านประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศ และคุณฝน - นันทิยา ภูมิสุวรรณ เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกลตัวแทนแคมเปญ #HEARMETOO (จากซ้าย) คุณนุ่น - ธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์, คุณมณฑิรา นาควิเชียร เจ้าหน้าที่จากUN Women, คุณอ้วน - อารีวรรณ จตุทอง ผู้ผ่านประสบการณ์ความรุนแรงทางเพศ และคุณฝน - นันทิยา ภูมิสุวรรณ เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล

นอกจาก UN Women แล้ว แคมเปญนี้ยังได้รับความร่วมมือจากกลุ่มบริษัทด้านสื่อโฆษณาในประเทศไทย เช่น เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน กรุงเทพฯ (J. Walter Thompson Bangkok), มายรัม ประเทศไทย (Mirum), เวิร์ฟ พับลิค รีเลชั่นส์ คอนซัลแตนท์ซี (Verve), กรุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย (GroupM Thailand) และบริษัทอินฟลูออส (Influos) โดยจะรณรงค์ในช่วง 16 วันแห่งการรณรงค์เพื่อยุติความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ (16 Days of Activism against Gender-Based Violence) ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคมนี้ ผ่านกิจกรรมออนไลน์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง 4 ประเภท ได้แก่ ความรุนแรงทางเพศ (Sexual Violence) ความรุนแรงทางร่างกาย (Physical Violence) ความรุนแรงที่ส่งผลกระทบทางอารมณ์ (Emotional Violence) และความรุนแรงในบริบททางเศรษฐกิจ (Economic Violence)

กิจกรรมออนไลน์ของแคมเปญ #HEARMETOO ทั้งทางเว็บไซต์และโซเชียลมีเดีย ประกอบด้วย

การรณรงค์ทาลิปสติกสีส้ม และโพสต์ลงในโซเชียลมีเดีย พร้อมติดแฮชแท็ก #HEARMETOO #มีอะไรจะบอก ทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม และทวิตเตอร์ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าที่จะเปิดเผยประสบการณ์อันเลวร้ายในอดีต

“พาดหัวข่าวใหม่” (Disruptive News Headlines) เปลี่ยนหัวข้อข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงที่ถูกกระทำความรุนแรงในเชิงลบให้กลายเป็นหัวข้อข่าวใหม่ในเชิงบวก เพื่อปรับทัศนคติของสังคม ที่มองผู้หญิงว่าเป็น “เหยื่อ” ให้กลายเป็น “ฮีโร่” ที่กล้าหาญ พร้อมที่จะลุกขึ้นมาเรียกร้องความเป็นธรรมและความเสมอภาคระหว่างเพศในสังคม

Immersive 360-Degree Experience หรือการสร้างสถานการณ์จำลองความรุนแรงขึ้นในรูปแบบออนไลน์ 360 องศา ผ่านเว็บไซต์ของแคมเปญ www.hearmetoo.or.th เพื่อให้ผู้ชมได้ทดลองสัมผัสประสบการณ์จริง ที่ 1 ใน 3 ของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลกเคยเจอ

ภาพยนตร์สั้นออนไลน์ #HEARMETOO ที่ถ่ายทอดเรื่องราวของ คุณอ้วน - อารีวรรณ จตุทอง อดีตรองนางสาวไทย ผู้ที่ผ่านพ้นปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และผันตัวเองเป็นนักกฎหมาย และผู้ร่วมรณรงค์เพื่อปกป้องสิทธิสตรี

ภาพยนตร์เสียง 3 ชุด ที่บอกเล่าเรื่องราวความรุนแรงจากเหตุการณ์จริงของตัวแทนผู้ร่วมรณรงค์ ได้แก่ คุณนุ่น - ธารารัตน์ ปัญญา นักศึกษาจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณฝน - นันทิยา ภูมิสุวรรณ ตัวแทนเจ้าหน้าที่มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และคุณวรรณโชค ยิ้มย่อง ผู้จัดการฝ่ายดูแลลูกค้า บริษัท เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน กรุงเทพฯ

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการรณรงค์ยุติความรุนแรงทางเพศ และร่วมกิจกรรมในแคมเปญ #HEARMETOO ได้ทาง www.hearmetoo.or.th

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook